กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านหัวถนนร่วมใจผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพช่องปาก ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-50105-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สถานีอนามัยบ้านหัวถนน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.765,99.956place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 557 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุเป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่องปากด้วย เป้าหมายทันตสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๓ (กองทันตสาธารณสุข,๒๕๔๙) ในกลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป คือ ร้อยละ ๘๐ ของผู้สูงอายุมีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ อย่างน้อย ๒๐ ซี่ จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ ๖ ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๐ ในกลุ่มอายุ๖๐ ปี ขึ้นไป พบว่าร้อยละ ๕๔.๘๐ ของผู้สูงอายุ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้๒๐ ซี่ และจากแบบสรุปผลการตรวจสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จากจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน502 คน โดยได้สนับสนุนชุดแปรงสีฟันยาสีฟันคนละ 1 ชุด จำนวน 462 ชุดมีผู้สูงอายุเข้าคิวฟันเทียมพระราชทาน จำนวน 145 คน ผลการตรวจสุขภาพช่องปาก พบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีฟันผุร้อยละ44.22 เหงือกอักเสบร้อยละ 69.92 ต้องได้รับการรักษาตามความจำเป็นแบ่งเป็น ถอนฟันร้อยละ 49 อุดฟันร้อยละ 69.92 ขูดหินปูนร้อยละ 69.92ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ อสม. รวมทั้งคนในชุมชน ให้ความสำคัญของทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น และเป็นการส่งเสริม ป้องกัน ไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนมาประยุกต์ใช้ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้งอายุ มีความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น

ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก

3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้สูงอายุ

สร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้สูงอายุ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ เตรียมชุมชน จัดประชุมชี้แจงต่อชุมชน ๑.๒ ศึกษาชุมชน สำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
๑.๓ ระบุปัญหาทันตสุขภาพ - สืบค้นข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล(จัดทำแบบสัมภาษณ์) - วิเคราะห์ข้อมูล - นำเสนอข้อมูลและระบุปัญหาร่วมกับชุมชน ๑.๔ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา -จัดลำดับความสำคัญของปัญหาร่วมกับชุมชน -เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา -การเชื่อมโยงปัญหา -การกำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหา -การวางแผนโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา -ประชาสัมพันธ์โครงการ ๒. ขั้นดำเนินงาน
กิจกรรมที่ ๑ “เรียนรู้สุขภาพช่องปากผู้สูงวัย”
๑.๑ ให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้สูงอายุ เรื่องที่ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ - ปริทันต์ -ฟันผุ -ฟันสึก -ฟันปลอม - พฤติกรรมการเคี้ยวหมาก-การดูแลสุขภาพช่องปาก

กิจกรรมที่ ๒ “ผู้สูงอายุ ฟันดี” - ตรวจสุขภาพช่องปาก และตรวจสุขภาพทั่วไป คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น - ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง(การแปรงฟัน,การใช้ผ้าก็อซสะอาดเช็ดฟัน)
กิจกรรมที่ ๓ “มอบหมาย การจัดกิจกรรมในชุมชน ให้ อสม.” -เฝ้าระวังสภาวะทันตสุขภาพ -รายงานผลต่อเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ๓. ขั้นหลังดำเนินงาน - ประเมินผลโครงการ
- สรุปผลโครงการ - นำเสนอผลการการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น
  2. ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก
  3. เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2560 16:09 น.