กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L2531-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญเรือง ร่มทับทิม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.796,101.7place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า สถานการณ์ผู้ป่วยเบาหวานในไทยเพิ่มจำนวนผู้ป่วยขึ้นเป็น ๓.๕ ล้านคนในปี ๒๕๕๖ ส่งผลให้มีมูลค่าการรักษาโรคเบาหวานสูงถึง ๔๗,๕๙๖ ล้านบาทต่อปี โดยที่ปัจจุบันพบว่า คนไทยอ้วน และมีน้ำหนักเกินมาตรฐานเป็นอันดับ ๕ ของเอเชีย-แปซิฟิก การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุขทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน จากสถิติการเจ็บป่วยของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ ในปี ๒๕๖๐ พบว่าประชากรอายุมากกว่า ๓๕ ปี มีอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น และมีอัตราผู้ป่วยเป็นอัมพาตจากหลอดเลือดสมองแตกเพิ่มขึ้น จากจำนวนประชากรอายุ ๓๕ ปี ทั้งหมด ๕๘๙ คน มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน ๗๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๘๘ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน๑๗๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๒๒ ซึ่งมีผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะแทรกซ้อน เกิดความพิการทางกายและการเคลื่อไหวเป็นภาระให้แก่ครอบครัวและชุมชน การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นในชุมชนเป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดในชุมชนด้วยตนเอง โดยรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เช่น ลดอาหารหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ไอปาโจ ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสุขภาวะของประชาชนโดยการส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกันสร้างสุขภาพที่ดี มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ประชากรในเขตรับผิดชอบตระหนักถึงภัยร้ายแรงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยางและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค สร้างบุคคลต้นแบบ ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,800.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก ๓อ ๒ส ๔ ครั้ง 0 0.00 -
10 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ประกวดบุคคลต้นแบบ 0 4,800.00 -

๕.๑ นำเสนอแนวคิดและวิธีการต่อหัวหน้าและบุคลากรในสถานีอนามัย ๕.๒ เรียกประชุม ระดมความคิดเห็นในทีม อสม. และผู้เกี่ยวข้อง ๕.๓ วางแผนการดำเนินงาน คัดเลือกประชากรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าร่วมโครงการ ๕.๔ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก ๓อ ๒ส
๕.๕ ประกวดบุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ๕.๖ เริ่มดำเนินการตามแผนและปรับปรุงแก้ไข ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ๕.๗ สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๔.๑ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทำให้อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง ๔.๒ ชุมชนมีการส่งเสริมการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม มีบุคลากรต้นแบบด้านสุขภาพ ๔.๓ มีเครือข่ายดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 19:20 น.