กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เกษตรปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข
รหัสโครงการ 61-L2531-1-00
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกรรณิการ์ร่มทับทิม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.796,101.7place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น การบริโภคสินค้าเกษตรที่มีสารเคมี สร้างปัญหาสุขภาพทั้งโรคเฉียบพลัน เช่น อาหารคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่ามัว และโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์อัมพาต โรคผิวหนัง การพิการของเด็กแรกเกิดและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น สถิติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งในและนอกระบบโรงพยาบาล ตลอดจนความเชื่อมโยงของการป่วยและสารเคมีอาจไม่ชัดเจนในบางกรณี โดยเฉพาะในโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าจำนวนผู้ป่วยที่แท้จริงอาจอยู่ที่ ๒๐๐,๐๐๐ – ๔๐๐,๐๐๐ คนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าและใช้สารเคมีในประเทศ จากการดำเนินงานในปี ๒๕๖๐ ทางสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ไอปาโจ ได้จัดกิจกรรมคัดกรองประเมินความเสี่ยง (แบบ นบก.๑)ในเกษตรกรพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ๗๔.๔๗ มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงจนถึงเสี่ยงสูงมาก และจากกิจกรรมการเจาะเลือดหาเอนไซด์โคลีนเอสเตอเรส พบว่า ร้อยละ ๙๗.๘๗ มีสารเคมีในเลือดในระดับไม่ปลอดภัย ดังนั้น ทางสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ไอปาโจจึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ขึ้นเพื่อจะดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชให้ปลอดภัยจากโรคภัยที่เกิดจากการสะสมสารเคมีในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคเรื้อรัง ฯลฯ ไปพร้อมๆกับการส่งเสริมวิธีธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีให้มากขึ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เกิดความตระหนัก และการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้วิธีธรรมชาติ เช่นการใช้สมุนไพรในการถอนพิษสารเคมี ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีพึ่งตนเองได้ และเพื่อผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
3 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้าง 0 0.00 -
  • ขั้นเตรียมการ
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณ

- ขั้นดำเนินงาน 1. ถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลตนเอง 2. จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายใจเป็นสุข”

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  2. เกษตรกรมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 19:52 น.