กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาสถานประกอบการผ่านมาตรฐานกรมอนามัย ผู้บริโภคปลอดภัย ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2531-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกรติฯไอปาโจ
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกรรณิการ์ร่มทับทิม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.796,101.7place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความทันสมัย ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยได้ง่าย ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยมักอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง พบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา เครื่องสำอาง ขายผ่านทางโซเชียลมีเดีย (Social media) เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง หลอกขายให้ผู้บริโภคสั่งซื้อมาใช้ อาทิ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาว่า ช่วยบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคต่างๆ หรืออ้างว่าสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย เช่น ทำให้หน้าเล็ก เรียว แหลม เพิ่มส่วนสูง ขยายหน้าอก ลดริ้วรอย ลดฝ้า กระ จุดด่างดำ ผลิตภัณฑ์ที่ทําให้ผิวขาว เนียนอมชมพู มีออร่าช่วยปรับสภาพผิวเนียนนุ่มใสวิ้ง บางครั้งพบว่าอวดอ้างเป็นยาเสริมสมรรถภาพทางเพศยาเพิ่มหรือขยายขนาดอวัยวะ เพศ บางครั้งพบว่าเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่กลับอ้างว่าสามารถรักษาสิว ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการขออนุญาตจาก อย. อีกทั้งยังมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง บางผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นเพียงการจดแจ้งกับ อย. แต่มักจะนำไปโฆษณาว่าผ่าน อย. แล้ว ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่า อย. รับรองสรรพคุณผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะมักพบว่าผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงนั้นมักลักลอบใส่ยาหรือสารอันตรายลงไปในผลิตภัณฑ์ และไม่ได้รับคุณภาพมาตรฐาน อาจได้รับอันตรายจากการใช้ ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ อาหารยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน
จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในปี ๒๕๖๐ พบว่าตำบลภูเขาทองร้านค้าทุกร้านในตำบลภูเขาทองไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน อาหารที่นำมาจำหน่ายบางชนิดพบสารต้องห้ามปนเปื้อนมาในอาหาร ร้านค้ามีการจำหน่ายยาที่มีสารเสตียรอยด์และจำหน่ายยาต้องห้าม เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาอันตรา เป็นต้น และประชาชนตำบลภูเขาทองใช้เครื่องสำอางที่มีสารต้องห้ามปนเปื้อน ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ยาและเครื่องสำอาง ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงบริการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าประชาชนที่มารับบริการที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ไอปาโจ ที่สำคัญอันดับต้นๆ คือโรคอุจจาระร่วง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่สะอาดและปลอดภัยของอาหารและน้ำที่บริโภค ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการพัฒนาสถานประกอบการต่างๆให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ไอปาโจ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสถานประกอบการผ่านมาตรฐานกรมอนามัย ผู้บริโภคปลอดภัย ปี ๒๕๖๑ ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร พัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร เครื่องสำอาง และยาที่ไม่ปลอดภัย

ร้อยละของโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหาร เครื่องสำอางและยาไม่ปลอดภัยลดลง

80.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการร้านค้าได้รับการอบรม ร้อยละ ๘๐ สถานประกอบการผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๖๐

80.00
3 สร้างภาคีเครือข่ายเฝ้าระวัง เตือนภัยจากผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถใช้หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

มีทีมเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ร้อยละ ๘๐

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,725.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ 0 5,725.00 -

ร ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ อบต.ภูเขาทอง อสม. และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ๒. จัดทำโครงการเพื่อของบสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง - ขั้นดำเนินงาน ๑. จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมู่ละ ๑ แห่ง ๒. ออกสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ตามตลาดนัด ร้านค้า ร้านอาหารในชุมชนเพื่อเก็บตัวอย่างวิเคราะห์ อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง ๓. เจ้าหน้าที่ ออกตรวจประเมินร้านค้าตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง ๔. คอยตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในรถเร่ ๕. พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านค้า - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านชำ ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร - ตรวจประเมิน พัฒนาสถานประกอบการตามเกณฑ์มาตรฐาน ร่วมกับ - มอบป้ายรับรองให้แก่ร้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ๖.ติดตามประเมินผล - ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนซ้ำทุกเดือน - ดำเนินการตรวจตามมาตรฐาน ทุกๆ ๓ เดือน - ขั้นสรุปผล สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน ๒. ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องอันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 19:58 น.