กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาตามศาสตร์พระราชา
รหัสโครงการ 61-L2531-1-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกรรณิการ์ร่มทับทิม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.796,101.7place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 174 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในยุคปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก มีการกระจายโครงสร้างพื้นฐานของระบบบริการสาธารณสุขทั้งในภาครัฐและเอกชน ได้แก่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชมโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลเอกชนและคลินิกเอกชนมีการกระจายและมีความครอบคลุมมากขึ้น แต่พบว่าพฤติกรรมอนามัยของประชาชนที่ไม่เหมาะสมยังปรากฏอยู่ เช่น พฤติกรรมการกินอาหาร ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการเสพสารเสพติดหรือพฤติกรรมที่เป็นผลจากความเครียด สาเหตุเนื่องมาจากความคิด ความเชื่อ ค่านิยม แบบแผนการดำเนินชีวิตและปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งผลจากวัฒนธรรมข้ามชาติ นอกจากนั้นแนวโน้มปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนในอนาคตจะมีลักษณะของโรคไม่ติดต่อทั้งกายและจิตใจ โรคที่เกิดจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและมลภาวะ ซึ่งการลงทุนด้านการรักษาพยาบาลจะให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการสร้างเสริมสุขภาพ
จากผลการดำเนินงานในปี ๒๕๖๐ ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินีไอปาโจ พบว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ โรคเรื้อรัง(เบาหวาน,ความดัน) โรคติดต่อโดยแมลง(ไข้เลือดออก/มาลาเรีย) โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบกล้ามเนื้อ และปัญหาด้านสุขภาพจิต ซึ่งปัญหาสุขภาพเหล่านี้สามารถควบคุม ป้องกันโรค หรือฟื้นฟูสุขภาพได้ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ตามศาสตร์พระราชา โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ดังนั้น สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินีไอปาโจ จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดีด้วยภูมิปัญญาตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องโดยใช้กระบวนการชุมชนเป็นฐาน การผลักดันให้ชุมชนดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ในชุมชน ด้านการบริหารจัดการ การระดมทรัพยากร การประสานงานในเครือข่ายพื้นที่ ผ่านกระบวนการร่วมคิดร่วมทำอย่างเป็นระบบ เหมาะสมกับสภาพปัญหาและวิถีชีวิตชุมชนมุ่งหวังให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนัก สามารถดูแลสุขภาพและจัดการตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัญหา วิถีชีวิต และบริบทของชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยบูรณาการด้านการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันควบคุมโรค

๑.อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
ไม่เกินร้อยละไม่เกิน ๒.๔๐
๒.อัตราประชากรกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน≥ร้อยละ ๑๐

0.00
2 เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรื่องการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนให้ครอบคลุมทุกวัย

มีสถานีส่งเสริมสุขภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ประจำแต่ละหมู่บ้านอย่างน้อย ๑ เรื่อง

1.00
3 .เพื่อสร้างตำบลจัดการสุขภาพดี วิถีชีวิตไทย อย่างยั่งยืนโดยชุมชน ตามทิศทางยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี “ปฏิรูประบบ สร้างความเข้มแข็ง สู่ความยั่งยืน”

เป็นหมู่บ้านและตำบลนำร่อง เรื่องการจัดการสุขภาพที่ดี วิถีไทยอย่างยั่งยืนโดยชุมชน

0.00
4 สร้างรายได้ ให้กับประชาชนในพื้นและสนับสนุนภูมิปัญญาเพื่อตอบสนองนโยบายเมืองการท่องเที่ยว

ประชาชน มีรายได้เสริมจากการจัดกิจกรรม ต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้อย่างยั่งยืน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,150.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดประชุมแกนนำหมู่บ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือกิจกรรมและความต้องการของแต่ละหมู่บ้าน 0 11,150.00 -

๕.๑ ประชุมปรึกษาหารือแนวคิดและวิธีการพัฒนานวตกรรมสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ตามศาสตร์พระราชา ตามบริบทพื้นที่ ในเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯไอปาโจ และอาสาสมัครสาธารณสุข ๕.๒ เรียกประชุม ระดมความคิดเห็นผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง ๕.๓ ทำการประชาคม วางแผนการดำเนินงาน โดยแบ่งออกเป็นแต่ละหมู่บ้านที่สนใจ และนำเรื่องเด่นด้านสุขภาพเพื่อสร้างและต่อยอด ๕.๔ เริ่มดำเนินการตามแผนและปรับปรุงแก้ไข
๕.๕ ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ๕.๖ สรุปผลการดำเนินงานเพื่อต่อยอดเป็นแหล่งศึกษาเชิงสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๔.๑ อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง ๔.๒ ชุมชมมีการส่งเสริมการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
๔.๓ มีเครือข่ายดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน ๔.๔ ประชาชนมีรายได้ เพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 20:04 น.