กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กเยาวชนไทย ต้ายภัยยาเสพติด
รหัสโครงการ 301
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านวังพร้าว
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 14,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีระชัย จันทร์กระจ่าง
พี่เลี้ยงโครงการ นางลักขณา จีนหลักร้อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด 16.162,100.111place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี(คน)
25.00
2 กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(คน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน เด็กและเยาวชนโรงเรียนบ้านวังพร้าว เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพสิ่งเสพติดมาก เพราะเด็กอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ ซึ่งอาจไม่ใช่พ่อแม่ผู้ให้กำเนิดซึ่งต้องไปประกอบอาชีพอยู่ต่างอำเภอหรือต่างจังหวัด ทำให้เด็กอยู่ในความดูแลของคนอื่นซึ่งไม่สามารถติดตามดูแลพฤติกรรมเด็กได้อย่างใกล้ชิด เด็กก็จะอยู่กับเพื่อน อยู่ร้านเกม และโทรศัพท์ เด็กและเยาวชนเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง จึงถูกชักชวนให้ใช้สิ่งเสพติดได้ง่าย จากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทำให้คนเกิดอารมณ์เครียด มีปัญหาทางด้านจิตใจ อยากรู้ อยากลอง จึงหันไปใช้สิ่งเสพติด เพื่อลดความเครียดของจิตใจลง การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด จะต้องดำเนินการในเรื่องของการปรับเปลี่ยนทัศนะคติและความรู้ความเข้าใจในโทษของสิ่งเสพติด โรงเรียนบ้านวังพร้าวได้ร่วมกันกับชุมชนสอดส่องดูแล ส่วนการลดผู้เสพ ก็คือ การสอนหรือฝึก ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจและสามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหมายถึงการฝึกทักษะต่าง ๆ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้ใช้สารเสพติดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อย

จำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อยลดลงเหลือ(ครั้ง)

10.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(คน)

25.00 75.00
3 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น (มาตราการ)

25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,525.00 0 0.00
??/??/???? วางแผนก่อนดำเนินกิจกรรม 0 0.00 -
??/??/???? ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 0 14,525.00 -
??/??/???? สรุปติดตามผลดำเนินงานโครงการ 0 0.00 -
  1. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องสารเสพติดให้โทษ เรื่อง บุหรี่ เหล้า ยาบ้า
  2. อบรมให้ความรู้เรื่อง ทักษะการเอาตัวรอด การป้องกันตนเองกับสารเสพติด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ด้านการป้องกัน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่นำมาซึ่งปัญหาของตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างเหมาะสมและยั่งยืน 2.เด็กนักเรียนมีความรู้ในการดูแลและป้องกันตนเอง และดูแลชุมชน เืพ่อให้สังคมน่าอยู่ 3.นักเรียนโรงเรียนบ้านวังพร้าวมีวินัยในการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้เวลาอย่างคุ้มค่า 4.ลดปัญหาที่เกี่ยวกัยสิ่งเสพติดในโรงเรียนและชุมชน 5.เพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน ในเรื่องสิ่งเสพติด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2561 00:00 น.