กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดอัตราตาบอดในเด็กไทย ตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มิถุนายน 2560 - 28 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงกานต์เด่นดารา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 มิ.ย. 2560 28 มิ.ย. 2560 26,250.00
รวมงบประมาณ 26,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาวะตาบอดและสายตาเลือนรางรวมทั้งโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขเป็นข้อมูลที่จำเป็นและมีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพตาเพื่อนำไปกำหนดนโยบายและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในการที่จะแก้ปัญหาตาบอดและสายตาพิการให้ตรงกับข้อเท็จจริงตามสภาวะสาธารณสุขในปัจจุบันตลอดจนการจัดบริการทางตาให้ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลและส่งเสริมสุขภาพประชาชนให้มีสุขภาพดีถ้วนหน้าและมีคุณภาพชีวิตที่ดีคณะทำงานโครงการส่งเสริมสุขภาพตากระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดทำโครงการสำรวจศึกษาวิเคราะห์วิจัยระบาดวิทยาของโรคตาโดยเฉพาะในเรื่องของตาบอดสายตาเลือนรางและโรคตาที่เป็นสาเหตุสำคัญและเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับชาติมาแล้ว4ครั้ง ข้อมูลจากการรายงานวิจัยเรื่องการสำรวจสภาวะตาบอดตาเลือนรางและโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในเด็กอายุ1 – 14ปีพ.ศ.2549 – 2550ของประเทศไทยพบว่าอัตราความชุกของสภาวะตาบอดในเด็กไทยเท่ากับร้อยละ 0.11 เป็นอัตราที่สูงกว่าการประมาณการขององค์การอนามัยโลกในปี2545ซึ่งเท่ากับร้อยละ0.07ซึ่งองค์การอนามัยโลกตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปีพ.ศ.2563อัตราตาบอดของเด็กในทุกประเทศไม่ควรเกินร้อยละ0.04(ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกVISION 2020 action plan 2006 - 2010) ภาวะสายตาผิดปกติที่นำไปสู่ภาวะตาบอดในเด็กไทยเป็นกลุ่มโรคที่หลีกเลี่ยงได้ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลกถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างเหมาะสมและทันเวลาจะสามารถลดจำนวนเด็กตาบอดและตาเลือนรางได้ประกอบกับโครงการ VISION 2020 the right to sight 2 -4 ขององค์การอนามัยโลกตั้งเป้าหมายเพื่อควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของสภาวะตาบอดในเด็กเพื่อลดอัตราความชุกของตาบอดในเด็กจากร้อยละ 0.075เป็นร้อยละ0.04ในปีพ.ศ.2563โดยกำหนดแนวทางที่สำคัญประการหนึ่งคือเด็กนักเรียนทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองสายตาและแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ โดยพบว่าสาเหตุของสภาวะตาบอดในเด็กไทยเกิดจากโรคที่จอตาในทารกคลอดก่อนกำหนดถึงร้อยละ66.66และเกิดจากภาวะตามัวที่เกิดจากภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไขร้อยละ33.33ดังนั้นการที่จะลดอัตราความชุกของสภาวะตาบอดในเด็กไทยได้ต้องมุ่งเน้นการควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญคือโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนดและสภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่รับการแก้ไข ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาประเทศด้วยความมุ่งหวังให้ประเทศชาติมั่นคง สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยความเสมอภาคเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดจนประชาชนมีความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนซึ่งมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1เรื่องการสร้างความเป็นธรรมในสังคมที่มีตัวชี้วัดเรื่องการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขของประชาชนและประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2เรื่องการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนที่กำหนดกลยุทธ์เกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนาสุขภาพของประชาชนเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการตระหนักดีว่าประเทศชาติจะมั่นคงเมื่อประชาชนในชาติมีความมั่นคงประชาชนจะมั่นคงได้ต้องมีสุขภาพแข็งแรงสามารถดำรงชีวิตและประกอบสัมมาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอจึงได้ตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวข้างต้นซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้ชุมชนมีระบบสาธารณสุขที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนมีการผสมผสานการดำเนินงานจักษุสาธารณสุขเข้าไปในงานสาธารณสุขมูลฐานโดยกำหนดให้งานจักษุสาธารณสุขเบื้องต้น(Primary eye care) เป็นบทบาทหนึ่งของอาสาสมัครสาธารณสุขในการตรวจคัดกรองและส่งต่อผู้ที่มีภาวะโรคและสายตาผิดปกติเพื่อแก้ไขด้วยการสนับสนุนด้านความรู้และฝึกทักษะจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและแพทย์ทั่วไปในโรงพยาบาลชุมชนประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดประเด็นสุขภาพเน้นหนักเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพตาและการป้องกันภาวะผิดปกติของการมองเห็นเพื่อลดปัญหาตาบอดจากภาวะสายตาผิดปกติในเด็กไทยโดยการกำจัดหรือจำกัดสาเหตุที่ทำให้เกิดตาบอดด้วยการจัดการทางด้านสาธารณสุขได้แก่การตรวจคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติโดยครูประจำชั้นการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเรื่องอนามัยดวงตาการดูแลรักษาเบื้องต้นและการส่งต่อเพื่อแก้ไขเพราะฉะนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอจึงได้จัดทำโครงการลดอัตราตาบอดในเด็กไทย ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2560ขึ้นเพื่อคัดกรองสภาวะสายตาผิดปกติในเด็กเพื่อเพิ่มโอกาสเรียนรู้ตามนโยบายของรัฐบาลที่ว่า“ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาเรียนรู้”ดังกล่าวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อตรวจสุขภาพสายตาแก่เด็กและตรวจคัดกรองโรคทางสายตา
  1. เด็กชั้นประถมศึกษาในตำบลดุซงญอได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะสายตาผิดปกติและตรวจคัดกรองโรคทางสายตา
2 2. เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาด้านสายตาได้รับการแก้ไข

2.เด็กที่มีปัญหาด้านสายตาได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที

3 3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

3.เด็กไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเพิ่มโอกาสเรียนรู้

4 4. เพื่อลดอัตราตาบอดหรือสายตาเรือนรางในเด็ก

4.ลดอัตราตาบอดหรือสายตาเลือนรางในเด็ก

5 5. เพื่อคัดกรองสายตาผิดปกติในเด็กและส่งต่อแพทย์เฉพาะทางต่อไป

5.เด็กที่มีสายตาผิดปกติได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ดุซงญอและกำหนดแผนการปฏิบัติงาน
  2. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการอนุเคราะห์บุคลากรในการตรวจคัดกรองสายตา
  3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคัดกรองสายตา
  4. ออกหน่วยบริการเคลื่อนที่ในการตรวจตามแผนดำเนินงานโดยมีกิจกรรมดังนี้ -ตรวจคัดกรองสายตาเด็กประถมศึกษา -ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพสายตา
  5. นำผลการประเมินของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่มาดำเนินการแก้ไขปัญหาสายตาให้แก่เด็กประถมศึกษาโดยการส่งต่อแพทย์เฉพาะทางต่อไปหรือตัดแว่นตาต่อไป
  6. สรุปผลการตรวจประเมินคัดกรองสายตา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กชั้นประถมศึกษาในตำบลดุซงญอได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะสายตาผิดปกติและตรวจคัดกรองโรคทางสายตา
  2. เด็กที่มีปัญหาด้านสายตาได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที
  3. เด็กไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเพิ่มโอกาสเรียนรู้
  4. ลดอัตราตาบอดหรือสายตาเลือนรางในเด็ก
  5. เด็กที่มีสายตาผิดปกติได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง
  6. เด็กในตำบลดุซงญอมีความรู้ในเรื่องโรคทางสายตาและรู้จักวิธีถนอมสายตาอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2560 16:36 น.