กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกด้วยเทคนิค A-I-C
รหัสโครงการ 61-L8405-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางญาณิศา น้อยสร้าง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.03,100.537place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5433 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูยเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งทางภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ในปี พ.ศ.2560อำเภอหาดใหญ่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 944ราย คิดเป็นอัตราป่วย238.36 ต่อประชากรแสนคน ยังพบรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.21 (รายงาน 506 สำนักระบาดวิทยา/สสจ.สงขลา) ส่วนตำบลทุ่งใหญ่ในปี 2560 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกอัตรา171.10 ต่อแสนประชากรซึ่งการะบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชากรเห็นความสำคัญและถือเผป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลทุ่งใหญ่ พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 10 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ภาคีเครือข่าย ร่วมทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันยุงลายและกำจัดลุกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศพด. ชุมชน และวัด อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

อัตราความชุกลูกน้ำยุงลาย HI น้อยกว่าร้อยละ 10 CI เท่ากับ 0 HI คือความชุกลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน CI คือความชุกลูกน้ำยุงลายในภาชนะใน 5 แห่งคือ วัด มัสยิด โรงเรียน  รพสต. ศพด.

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,500.00 0 0.00
18 - 19 เม.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกและวิเคราะห์ ร่วมวางแผนการแก้ปัญหา 0 16,900.00 -
26 - 27 เม.ย. 61 กิจกรรมสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย 0 3,600.00 -

กิจกรรมที่ 1 อบรมความรู้โรคไข้เลือดออกและวิเคราะห์หาแนวทางร่วมกัน ด้วยเทคนิค Top Model กลุ่มเป้าหมายจำนวน120 คนประกอบด้วย - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน8 คน - ภาคีสุขภาพ/ตัวแทนชุมชน จำนวน18คน - อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน94คน กิจกรรมที่ 2 สุ่มประเมินลูกน้ำยุงลายกลุ่มเป้าหมายบ้านเรือนจำนวน70หลังประกอบด้วย หมู่ที่ 1จำนวน10หลังคาเรือน หมู่ที่ 2 จำนวน12หลังคาเรือน หมู่ที่ 3จำนวน 13 หลังคาเรือน หมู่ที่ 4 จำนวน 14 หลังคาเรือน หมู่ที่ 5จำนวน12หลังคาเรือน หมู่ที่ 6จำนวน10หลังคาเรือน โรงเรียน วัด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ลดลงร้อยละ 10 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี อัตราความชุกลูกน้ำยุงลายในชุมชนมีค่าน้อยกว่า ร้อยละ 10 และในโรงเรียน วัด ศพด. รพสต. เท่ากับ 0

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2561 14:38 น.