กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ ผู้สูงวัย ผู้พิการ ด้อยโอกาส เพื่อสุขภาพที่ก้าวหน้า
รหัสโครงการ 61-L3027-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 52,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาตีเมาะ กาลม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.314place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่ "สังคมสูงอายุ" มาแล้ว ตั้งแต่ปี 2548 โดยเกณฑ์ ที่สหประชาชาติกำหนด คือมีสัดส่วนของผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 หรือมีผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 7 ถึงปี 2561สัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทยเกินกว่าร้อยละ 17 แล้ว กล่าวคือมีผู้สูงอายุมากกว่า 10 ล้านคน จากประชากรของประเทศ ราว 65 ล้านคนผู้สูงอายุกว่า 10 ล้านคนนี้มีส่วนหนึ่งที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง (Depen dent) จากความเสื่อมสภาพของร่างกายและจากโรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้เกิดความพิการ เช่น จากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาต หรือจากอุบัติเหตุต่างๆ จากการสำรวจเป็นระยะๆ พบผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงราวร้อยละ 10 หรือราว 1 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ต้องพึ่งพิงบางส่วน หรือเป็นประเภท"ติดบ้าน" ออกไปไหนไม่ได้ราวร้อยละ 85 หรือราว 8.5 แสนคน และต้องพึ่งพิงทั้งหมด หรือเป็นประเภท "ติดเตียง" ราวร้อยละ 15 หรือราว 1.5 แสนคน จำนวนผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งจากสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจากสัดส่วนผู้สูงอายุ "วัยปลาย" ที่มากขึ้น เพราะอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็นลำดับ ประเทศไทยกำหนดนิยามผู้สูงอายุไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ว่าหมายถึงผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป (ขณะที่ประเทศเจริญแล้วส่วนมากกำหนดที่อายุเกินกว่า 65 ปีขึ้นไปหรือมากกว่านั้น) ทั้งนี้มีการแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ วัยต้นอายุ 60-69 ปี วัยกลางอายุ 70-79 ปี และวัยปลายอายุ 80 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุวัยปลายย่อมมีโอกาส "ติดบ้านติดเตียง" สูงกว่าวัยต้นและวัยกลาง เมื่อประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับโดยเมื่อมีคนแก่หรือคนชรามากขึ้นสัดส่วนคนทำงานลดลงผลผลิตโดยรวมก็จะลดลงส่งผลให้รายได้ของประเทศลดลง เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศได้ผู้สูงอายุต้องเกษียณจากการงานไม่มีรายได้ต้องอาศัยรายได้จากเงินที่เก็บออมไว้ถ้าหากไม่มีเงินออมไว้มากพอก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาในการดำรงชีพเป็นภาระแก่สังคมที่ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลจัดสวัสดิการต่างๆให้เหมาะสมและเพียงพอเมื่อถึงวัยสูงอายุสภาพร่างกายและจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงต้องมีการปรับตัวและที่สำคัญเมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลงปัญหาด้านสุขภาพก็จะตามมาซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนสมควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การดูแลติดตาม เยี่ยมบ้าน จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยลดปัญหาสุขภาพและลดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยอย่างยั่งยืน ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาตูม และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านจาเราะบองอ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลติดตาม เยี่ยมบ้าน เพื่อลดปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาสในชุมชน จึงได้มีการจัดทำโครงการเยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ ผู้สูงวัย ผู้พิการ ด้อยโอกาส เพื่อสุขภาพที่ก้าวหน้า ขึ้น เพื่อให้เกิดการดูแลปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาสในพื้นที่แบบองค์รวม อย่างยั่งยืน จะส่งผลทำให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาสในพื้นที่ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี ไม่เป็นภาระของครอบครัวและสังคม ใช้ชีวิตอย่างปกติสุขและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส มีความรู้ ความสามารถ ในการดูแลและลดการพึ่งพิงของผู้ดูแลได้

ผู้ดูแลสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติกับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาสได้ ร้อยละ 80

50.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยทีมสุขภาพ

ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาสได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 90


50.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ทั้งด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ และความช่วยเหลือ ที่ควรจะได้รับจากทุกภาคส่วน

ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาสได้รับการดูแลช่วยเหลือตามสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ ร้อยละ 90

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการให้กับ อสม. ในพื้นที่รับผิดชอบ

1.1 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการให้กับ อสม.ในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของ อสม.ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป (อสม. 138 คน)

1.2 ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ให้กับผู้ดูแล


2. ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ให้กับผู้ดูแล

2.1 ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการกับผู้ดูแล ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส จำนวน 1 รุ่น


3. ออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ตามกลุ่มเป้าหมายที่คัดเลือก ร่วมกับ อสม. หรือ หน่วยงานอื่นๆ

3.1ออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ตามกลุ่มเป้าหมายที่คัดเลือก ร่วมกับ อสม. หรือ หน่วยงานอื่นๆ


4.ประชุมสรุปผลการดูแลและเยี่ยมบ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส รวมถึงผู้ดูแล เห็นความสำคัญของการดูแล ส่งเสริม สุขภาพ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  2. ผู้ดูแล ได้รับความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านและดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากทีมสุขภาพ
  4. ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ด้อยโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2561 10:15 น.