ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ตามหลักปลอดเชื้อ ปี 2560
ชื่อโครงการ | ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ตามหลักปลอดเชื้อ ปี 2560 |
รหัสโครงการ | 60-L3065-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง |
วันที่อนุมัติ | 30 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 มิถุนายน 2560 |
งบประมาณ | 33,750.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมะรอกี เวาะเล็ง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.832,101.178place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นแนวปฏิบัติที่ต้องกระทำเพื่อการรักษาความสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegmaหรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้(นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร)นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย จากบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล(ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต”(ภาษามลายู)มักทำกับหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง”จากความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง”“การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน” เป็นต้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ดังนั้นกองสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ได้เล็งเห็นความสำคัญชองการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | บริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชน ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตุยง เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก(bleeding) ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก(bleeding)ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย |
||
2 | เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก(bleeding)ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย |
||
3 | เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตุยง สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก(bleeding)ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 60 | จัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ | 30 | 0.00 | - | ||
2 - 17 มี.ค. 60 | ประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่สำรวจและรับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ | 40 | 0.00 | - | ||
4 เม.ย. 60 | จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อออกบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแก่เยาวชน | 0 | 0.00 | - | ||
4 เม.ย. 60 | กิจกรรม ให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค | 40 | 1,000.00 | - | ||
4 เม.ย. 60 | ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย(Cirucumcision) | 40 | 32,750.00 | - | ||
5 - 11 เม.ย. 60 | การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศและความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก | 40 | 0.00 | - | ||
12 - 30 เม.ย. 60 | สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม จัดทำรายงานโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 190 | 33,750.00 | 0 | 0.00 |
๑.กิจกรรมเตรียมความพร้อม
1.๑ จัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
1.2 ประชาสัมพันธ์ลงพื้นที่สำรวจและรับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ
๑.กิจกรรมเตรียมความพร้อม
1.๑ จัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
1.2 ประชาสัมพันธ์ลงพื้นที่สำรวจและรับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ
1.3 จัดตารางเวลากำหนดการเพื่อออกบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแก่เยาวชน
๒.กิจกรรมออกบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแก่เด็กและเยาวชน
2.1 กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ(การป้องกันโรคติดต่อ)แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมายรวมทั้งผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค
๒.2 กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย(Cirucumcision)
๓.การติดตามและประเมินเพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศและความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก
๔.สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม
๑. เด็กและเยาวชนได้รับการทำสุนัติ สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด((bleeding) 2. เยาวชนและครอบครัว ได้ทราบถึงปัญหาและพิษภัยของโรคติดต่อโดยเฉพาะติดเชื้อทางเลือด ๓. สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็งในการป้องกันโรคติดเชื้อและสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริม และป้องกันโรค
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2560 10:00 น.