กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
รหัสโครงการ 60-l2490-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 77,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแอมะ มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.342,101.874place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 ก.พ. 2560 8 ก.พ. 2560 77,000.00
รวมงบประมาณ 77,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 192 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 585 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยก้าลังก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจากค้าจ้ากัดความของสหประชาชาติระบุว่าสังคม ที่เข้าสู่ภาวะประชากรสูงอายุ (Population aging) หมายถึง สังคมที่มีประชากรผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ใน สัดส่วนมากกว่าร้อยละ 7 หรือ อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ซึ่งระดับการสูงอายุของ ประชากร สามารถวัดด้วย “ดัชนีการสูงวัย” (Index of Ageing) โดยเป็นอัตราส่วนระหว่างประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป ต่อประชากรอายุต่้ากว่า 15 ปี คูณด้วย 100 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีผู้สูงอายุกี่คนต่อเด็ก 100 คนโดยตาม โครงสร้างอายุของประชากรมีแนวโน้มที่จะสูงอายุขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ส้าคัญที่มีผลต่อ สังคมไทยเป็นอย่างมาก คือการมีจ้านวนผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากกว่าจ้านวนเด็ก (อายุต่้ากว่า 15 ปี) เป็น ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย จากข้อมูลประชากรตั้งแต่ปี 2513-2583 ดัชนีการสูงวัยมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในปี 2513 มีผู้สูงอายุเพียง 11 คน ต่อเด็ก 100 คน หลังจากนั้นปี 2553 ดัชนีการสูงวัย เพิ่มสูงเป็น 67 คน และในปี พ.ศ.2556 ดัชนีการสูงวัยเพิ่มขึ้น สูงถึง 79 คน คาดการณ์ว่าในปี 2561 หรืออีก ๔ ปีข้างหน้า ดัชนีการสูงวัยจะมีค่าสูงกว่า 100 อัตราการเพิ่มขึ้นของจ้านวนผู้สูงอายุสูงกว่าประชากรโดยรวม และหลังจากนั้นประเทศไทยจะมีจ้านวนผู้สูงอายุมากขึ้นไปเรื่อยๆ ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่าง สมบูรณ์” (complete aged society) เมื่อประชากรสูงอายุ สูงถึงร้อยละ 20 และจะเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุด ยอด” (super aged society) เมื่อประชากรสูงอายุเพิ่มสูงถึง ร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ประมาณ พ.ศ. 2578 เนื่องจากภาวการณ์ถดถอยของสมรรถนะทางร่างกายจึงมีโอกาสอย่างยิ่งที่จะก่อให้เกิดปัญหาด้าน สุขภาพต่อตัวผู้สูงอายุเอง และส่งผลกระทบต่อการจัดบริการสาธารณสุขในอนาคต ข้อมูลจากการส้ารวจประชากร สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ผู้สูงอายุร้อยละ 53 ตอบว่าตนเองเป็นโรคใดโรคหนึ่ง หรือ เป็นมากกว่าหนึ่ง โรค กลุ่มอาการของโรคที่ผู้สูงอายุตอบว่าเป็นมากที่สุด คือ ความดันโลหิตสูง/ไขมันในเลือดสูง/ คลอเลสเตอรอลสูง (ร้อยละ 17) รองลงมาคือ โรคเบาหวาน (ร้อยละ 8) โรคเก๊าท์ รูมาตอยด์ ปวดเข่า/หลัง/คอ เรื้อรัง (ร้อยละ 5) โรคหัวใจ (ร้อยละ 2) และ อัมพฤกษ์ อัมพาต (ร้อยละ 1) ผู้สูงอายุหญิงจะมีอาการของกลุ่มโรคส้าคัญ 5 อันดับ แรกมากกว่าผู้สูงอายุชาย นอกจาก โรคเรื้อรังแล้ว สิ่งที่มีผลต่อคุณ ภาพ ชีวิต ผู้สูงอายุ คือความสามารถในการ ปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจ้าวัน ทั้งนี้ ถ้าแบ่งประชากรสูงอายุออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ประชากรสูงอายุวัยต้น ผู้มี อายุ 60 ถึง 69 ปี 2) ประชากรสูงอายุวัยกลาง ผู้มีอายุ 70 ถึง 79 ปี 3) ประชากรสูงอายุวัยปลาย ผู้มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง กลุ่มผู้สูงวัยตอนต้นและตอนกลางจะมีความสามารถในการท้าหน้าที่อยู่ ในระดับปกติร้อยละ 90 และพบว่า ลดลงเป็นร้อยละ 80 ในกลุ่มผู้สูงอายุตอนปลาย 80 ปี ขึ้นไป การส้ารวจของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ พ.ศ.๒๕๔๙ พบว่า ผู้สูงอายุมากกว่าร้อย ละ 90 มีความสามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจ้าวันได้ดี มีเพียงร้อยละ 0.7 - 2.8 ที่ผู้สูงอายุท้าเองไม่ได้ เลย ส่วนภาวะทันตะสุขภาพในผู้สูงอายุ จากการมีจ้านวนฟันที่เหลืออยู่ในช่องปากซึ่งจ้าเป็นต่อการบดเคี้ยวไม่ ควรน้อยกว่า 20 ซี่ ผลการส้ารวจของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 45 – ๔๖ มี ฟันน้อย กว่า 20 ซี่ ส่วนภาวะสุขภาพจิต พบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะอารมณ์ซึมเศร้ามากที่สุด (ร้อยละ 87) โดยผู้สูงอายุนอกชุมชนเมืองมีภาวะสุขภาพจิตสูงกว่าผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ในขณะที่ภาวะสมองเสื่อมเป็นอีกปัญหาหนึ่งในผู้สูงอายุ ที่มีแนวโน้มว่าจะพบมากขึ้น จากการส้ารวจโดยใช้แบบคัดกรองสมองเสื่อม TMSE ส้าหรับคนไทย พบว่า มีภาวะ ผิดปกติในกลุ่มอายุ 60 - 69 ปี ร้อยละ 20 และเพิ่มขึ้นตามอายุเป็นร้อยละ 60 ในเพศชายและร้อยละ 77 ใน เพศหญิง จากสถานการณ์สุขภาพดังกล่าวจ้าเป็นต้องมีการเตรียมระบบการดูแลสุขภาพของประชากรสูงวัย ประชากรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต้าบลกะลุวอทั้งหมด5,629 คน มี ผู้สูงอายุ 594 คน เพศชาย ๒50 คน เพศหญิง 344 คน ผู้สูงอายุตอนต้น อายุ 60 - 69 ปีจ้านวน 328 คน ผู้สูงอายุตอนกลาง อายุ 70 - 79 ปีจ้านวน ๑69 คน ผู้สูงอายุตอนปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป จ้านวน 97 คน โดย สามารถแยกกลุ่มผู้สูงอายุ ได้ ๓ กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ติดสังคม กลุ่มที่ 2 ติดบ้าน และกลุ่มที่ 3 ติดเตียง ผู้สูงอายุมี ปัญหาอื่นๆ เช่น เป็นโรคฟันผุ โรคปริทันต์ มีภาวะซึมเศร้า ตลอดจนโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่ง รพ.สต.กะลุวอมีบทบาท หน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพ ประชากรสูงวัย ผู้พิการ ครอบครัวและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม สุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยกลวิธีต่างๆ ตลอดจน การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การด้ารงชีพ ซึ่ง จ้าเป็นต้องด้าเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุจวบจนกระทั่งเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิตบนหลักการ ส้าคัญคือ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีสุขภาพ กายจิตและสังคมที่ดี ช่วยเหลือตนเองใน กิจวัตรประจ้าวันและช่วยเหลือคนอื่นและสังคมให้ได้นานที่สุด ลดการเป็นผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพหรือเจ็บปุวยติด เตียง จากเหตุผลดังกล่าว จึงได้จัดท้าโครงการ พัฒนาเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ขึ้น ใน ปีงบประมาณ 2560

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินงานตำบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างต่อเนื่องเป็น รูปธรรม โดยการจัดบริการสุขภาพ การป้องกันการบาดเจ็บในผู้สูงอายุ รวมทั้งด้านการส่งเสริมทันตะสาธารณสุข ของผู้สูงอาย

มีเเละใช้รูปแบบการดำเนินงานการดูเเลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม โดยการจัดบริการสุขภาพ การป้องการบาดเจ็บในผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมทั้งด้นการส่งเสริมทันตะสาธารณสุขผู้สูงอายุ

2 2. เพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาศักยภาพทีม Care giver เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน อสม. อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) และอาสาสมัครหรือหน่วยงานที่จัดระบบสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุอื่น ทั้งภาค รัฐ และเอกชน ที่ต้องดูแลพยาบาลผู้ปุวยที่บ้าน (Home Health Care) ให้มีความรู้ ทักษะความมั่นใจ ในการดูแลและมีการวางแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือเข้าสู่สังคมได้

มีภาคีเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาศักยภาพทีม Care giver เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน อสม. อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) และอาสาสมัครหรือหน่วยงานที่จัดระบบสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุอื่น ทั้งภาค รัฐ และเอกชน ที่ต้องดูแลพยาบาลผู้ปุวยที่บ้าน (Home Health Care) มีความรู้ ทักษะความมั่นใจ ในการดูแลและมีการวางแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือเข้าสู่สังคมได้

3 3. เพื่อพัฒนาชมรมผู้สูงอายุให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของศูนย์อนามัย กระทรวงสาธารณสุข และปรับสภาพหรือพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ( เช่น ส้วม HAS ระบบความปลอดภัยในบ้านระบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประจำวัน Active daily life) ให้ได้มาตรฐาน

พัฒนาชมรมผู้สูงอายุให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของศูนย์อนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้กับ อสม.แกนนำชุมชน และแกนนำผู้สูงอายุ 2. ประสานกับองค์กรเครือข่ายในชุมชน 3. เตรียมข้อมูลผู้สูงอายุ ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง ขั้นดำเนินการ 1. ประสานผู้นำชุมชน คณะกรรมการวัด/มัสยิด ชมรมผู้สูงอายุ ชมรม อสม. อผส.ช่าง อบต.ทีมงานช่างในหมู่บ้าน หรือองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านผู้สูงอายุ เพื่อชี้แจงโครงการ 2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สมาชิก คัดเลือกกรรมการ ตัวแทนชมรมผู้สูงอายุ อบรมคณะกรรมการ 3.กำหนดรูปแบบการดูแลสุขภาพผุ้สูงอายุระยะยาวของเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ โดยยึดตามมาตราฐานการดูแลผู้สุงอายุ 3 กลุ่ม คือ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม โดยการร่วมวิเคราะห์ศักยภาพและความเป็นไปได้ในการ ในการออกแบบที่เหมาะสมกับบริบท 4. ส่งเสริมกิจกรรมการดำเนินงานในชมรมผู้สูงอายุ 5. จัดดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ตามมาตรฐานการฝึกอบรมเป็นผู้ดูแลของกรมอนามัยหรือสภาการพยาบาล 6. ตรวจคัดกรองตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุและจัดล้าดับความเสี่ยงระดับต่างๆ ของผู้สูงอายุ 7. ประชุมเชิงปฏิบัติการ สหสาขาวิชาชีพ ผู้เกี่ยวข้องในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือสถานบริบาลที่บ้าน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ที่ บ้านผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ให้เอื้อ ต่อการให้บริการบริบาลเวลากลางวันกรณีที่ลูกหลานหรือผู้ดูแลไม่ว่างดูแล 8. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เป็นระยะๆ 9. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 9.1 ประเมินความครอบคลุมการได้รับการดูแลตามความจำเป็นในกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
9.2 ประเมินผลการดำเนินงาน สภาพปัญหา และแนวทางแก้ไข 9.3 ประเมินชมรมผู้สูงอายุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีและใช้รูปแบบการด้าเนินงานต้าบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม โดยการจัดบริการสุขภาพ การปูองกันการบาดเจ็บในผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมทั้งด้านการส่งเสริมทันตะสาธารณสุขของผู้สูงอายุ
  2. มีภาคีเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาศักยภาพทีม Care giver เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้น้าชุมชน อสม. อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) และอาสาสมัครหรือหน่วยงานที่จัดระบบสวัสดิการแก่ ผู้สูงอายุอื่น ทั้งภาค รัฐ และเอกชน ที่ต้องดูแลพยาบาลผู้ปุวยที่บ้าน
  3. มีการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของศูนย์อนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  4. พัฒนาระบบเครือข่ายบริการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ระดับหมู่บ้านและมีการควบคุม ก้ากับเป็นระยะๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2560 10:08 น.