กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 61-L2520-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านยะหอ
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจ๊ะรอหม๊ะมูซอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมาซือลันอาเดะมะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ดง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.892,101.82place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญคือปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคเรื้อรังดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากร พบว่าภาพรวมของประเทศ พบประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นใน 13 ปี ขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบว่าเมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป็นต้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยะหอ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงสร้างกระบวนการเรียนรู้ (Knowledge Management) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

 

0.00
2 2.เพื่อให้ความรัูด้านการบริโภคอาหารแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ 1.1ประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 1.2ปรึกษาหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 1.3เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1ประสานกับหน่วยงานและบุคลากรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง 2.2ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.3ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 2.3.1คัดกรองตรวจสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในตำบลแม่ดง 2.3.2จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 3.สรุป ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพด้านร่างกาย เบื้องต้น 2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ได้รับความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับโรคของตนเอง 3.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ประชาชนและเจ้าหน้าที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้การบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับตนเองและสมาชิกในครอบครัวเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2561 13:23 น.