กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 5 มิติกับการดูแลสุขภาพทุกกลุ่มวัยแบบองค์รวม ในศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา
รหัสโครงการ 61-L7250-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 41,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรัญญาพรหมวิจิตรหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ของประเทศไทยพบการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคต่าง ๆทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดเบาหวานความดันโลหิตสูงมะเร็งอุบัติเหตุและโรคอุบัติต่าง ๆซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขทั้งในระดับประเทศและระดับชุมชน จากการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลารพ.สงขลาพบปัญหาที่สำคัญใน6กลุ่มโรคคือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ(เบาหวานความดันโลหิตสูงไตวาย หัวใจและหลอดเลือดสมองมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก)กลุ่มแม่และเด็ก (หญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่พร้อมฝากครรภ์ไม่ได้มาตรฐานภาวะซีด ลูกน้ำหนักน้อย)กลุ่มเด็ก 0 – 5 ปี(งานภูมิคุ้มกันโรคพัฒนาการเด็กน้ำหนักน้อย)กลุ่มผู้สูงอายุ(การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต่อเนื่อง)กลุ่มโรคติดต่อไข้เลือดออกอุจจาระร่วง ไทฟอยด์วัณโรคกลุ่มพิการ-จิตเวชและกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและครบทุกมิติตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์จนถึงระยะท้ายของชีวิตซึ่งต้องดูแลทุกระยะตลอดชีวิตตั้งแต่กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย โดยทีมสุขภาพ ที่มีความเข้าใจ ตั้งใจมั่นใจในการให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน จนเกิดความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ความศรัทธาและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วม ของเทศบาลนครสงขลา ภาคประชาชนต่างๆ รวมทั้งการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเป็นแนวคิดด้านสุขภาพที่มองบุคคลทั้งชีวิตครอบคลุมทั้งร่างกายจิตใจวิญญาณและสังคมที่มีความเชื่อมโยงเป็นเป็นหนึ่งเดียวกันศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา รพ.สงขลาร่วมกันดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง7ชุมชนให้ได้รับบริการขั้นพื้นฐานของชีวิตมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและเหมาะสมตามกลุ่มวัยอายุครบทั้ง5มิติ มิติด้านส่งเสริมสุขภาพ มิติด้านป้องกันควบคุมโรค มิติด้านรักษาพยาบาล มิติด้านฟื้นฟูสุขภาพ และมิติด้านคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา รพ.สงขลามีประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบประมาณ5,650คน2,238ครัวเรือนซึ่งประชาชนเหล่านี้ต้องได้รับบริการด้านสาธารณสุขทั้งเชิงรุกในชุมชนและเชิงรับในศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลาโดยมีผลงานการให้บริการย้อนหลัง3ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มประชากรทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมครอบคลุมทั้ง5มิติตามเกณฑ์มาตรฐาน

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
2.ร้อยละ90 ของเด็กอายุ0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ 3.ร้อยละ93 ของเด็กอายุ0-5 ปีพัฒนาการสมวัย 4.ร้อยละ90 ของประชาชน 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพ 5.ร้อยละ80 ของกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรังใหม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

0.00
2 2. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงป้องกันเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่

6.ร้อยละ5 ของการเกิดผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ 7.ร้อยละ90 ผู้ป่วยเรื้อรังที่รับบริการที่PCUได้รับการดูแลและตรวจตามมาตรฐานเฉพาะโรค 8.ร้อยละ5ผู้ป่วยเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรัง ได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะโรค และลดภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดี

9.ร้อยละ80หญิงอายุ30 – 70 ปี สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง 10.ร้อยละ20หญิงอายุ30 – 60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก 11.ร้อยละ80 ของร้านอาหารที่ต้องผ่านเกณฑ์ GFGT

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงติดตาม – ประเมินผลงานภาคประชาชนการประชุมวางแผนการดำเนินงานติดตามผลงานด้านสุขภาพ
    1. การคัดกรองสุขภาพติดตามภาวะโภชนาการพัฒนาการวัคซีนในชุมชน
  2. การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงที่รพ.เมืองสงขลา
  3. การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและการให้ความรู้ทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มปกติ เสี่ยงสูง ป่วย
    1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านมด้วยตนเองในชุมชน
    2. การตรวจประเมินร้านอาหาร /ขายของชำ
    3. กิจกรรมสำรวจคัดกรอง/ประเมินภาวะสุขภาพ/คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรัง
  4. การติดตามประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนได้รับบริการสุขภาพมีคุณภาพมาตรฐานแบบองค์รวมมีความพึงพอใจเชื่อมั่นศรัทธาต่อการรับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลาและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถดูแลและพึ่งตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2561 15:13 น.