กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูทักษะแกนำสตรีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 60-l2490-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2016
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2017
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำรัน สะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุรียาณีสาระกาสม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.342,101.874place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 711 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 711 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของสตรีไทย มีอุบัติการณ์ปรับตามมาตรฐานอายุ (age standardized rate) เท่ากับ 19.5 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี เป็นโรคที่มีการดำเนินโรคช้าใช้เวลานาน มีการตรวจคัดกรองโรคที่ง่ายแพร่หลายและการรักษาได้ผลดี แต่ก็ยังมีสตรีไทยต้องเสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้ทุกปี ด้วยอัตรา 10.8 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี เนื่องจากโรคไม่ได้ถูกตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกที่เซลล์เริ่มเปลี่ยนแปลง หรือระยะก่อนเป็นมะเร็งการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำPapsmearหรือVIA (VisualInspectionofcervixwithAceticacid) และสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบ
ปีงบประมาณ๒๕๕๗สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearและVIA ในสตรีไทยอายุ๓๐-๖๐ปีกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี ๓๐-๖๐ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปีงบประมาณ๒๕๕๘-๒๕๖๒ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาอำเภอเมืองนราธิวาสพบว่าหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายอายุ๓๐ -๖๐ปี จำนวน ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๕๙ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน ๑๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๘๙ดังนั้นการให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องตลอดจนการสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งรวมไปถึงความพร้อมและศักยภาพในการให้บริการในระดับต่าง ๆของสถานบริการสาธารณสุขและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลา ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกะลุวอจึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูทักษะแกนนำสตรีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมขึ้น เพื่อติดตามและค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการในระยะเริ่มแรกและสามารถให้การรักษาได้ทันเวลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 แกนนำกลุ่มสตรีมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมเเละมะเร็งปากมดลูกได้ถูกต้อง

จำนวนสตรีที่ที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์อายุ 30-70 ปี เพิ่มขึ่น

2 เพื่อให้เเกนนำกลุ่มสตรีติดตามหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ 30-70 ปี มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สตรีอายุ 30-60 ปี มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ได้อย่างถูกต้อง

จำนวนสตรีที่ที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์อายุ 30-70 ปี เพิ่มขึ่น

3 เพื่อเพิ่มศักยภาพแกนนำสตรีสามรถให้ความรู้ ความเข้าใจเเละคำเเนะนำในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เเละมะเร็งปากมดลูก

แกนนำกลุ่มสตรีมีความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งเต้านม เเละมะเร็งปากมดลูกได้อย่างถูกต้อง

4 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เเละทัศนคติที่ดีต่อการบริการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม เเละมะเร็งปากมดลูก

หญิงวัยเจริญพันธ์ุอายุ 30-70 ปี เข้ารับบริการด้วยความเต็มใจ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้กับอสม.และแกนนำในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อให้เข้าใจ วัตถุประสงค์ของโครงการ ๒. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในเครือข่าย ๓. สำรวจข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ ๓๐ - ๖๐ ปีทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ให้มารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกศิลาตาม วันเวลาที่นัดหมาย ๔. ขอความร่วมมือแกนนำชุมชนในการประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ ๕. จัดทำแผนปฏิบัติการ รณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งฯ ๖. จัดเตรียมเอกสาร เพื่อใช้ในการอบรม และการเผยแพร่กิจกรรมตามโครงการ


ขั้นดำเนินการ ๗.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูความรู้ให้กับแกนนำสตรีในการตรวจหาความผิดปกติของเต้านม ๘.ให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ๓๐ - ๖๐ ปีในหมู่บ้านรับผิดชอบ ๙.จัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมให้กับ กลุ่มเป้าหมายทั้งในสถานบริการและในชุมชน ๑๐. แจ้งผลการตรวจคัดกรองให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ทราบผลการตรวจ ๑๑. ให้การรักษาเบื้องต้นและส่งต่อในรายที่ตรวจพบความผิดปกติ ๑๒. ประเมินผลโครงการ ฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ - ๖๐ ปีในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ๒๐

๒. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ๓๐ – ๗๐ ปี มีความรู้ความสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ ๘๐

๓. แกนนำสตรีมีความรู้สามารถแนะนำเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมได้อย่างถูกต้อง

๔. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังและติดตามมาตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอทุก ๕ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2017 10:23 น.