กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแกนนำเยาวชนรุ่นใหม่ รวมใจสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L7250-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 141,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปาริชาติธนากุลรังษีหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 450 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เยาวชน คืออนาคตของชาติ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน คือการเริ่มต้นการพัฒนาจาก “คน” ซึ่งถือเป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ การพัฒนาแนวคิดด้านสุขภาพอนามัย ในกลุ่มนักเรียนและเยาวชน ที่อาศัยความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ระหว่างนักเรียนกับครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนา โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งจากสถิติ ในปี ๒๕60 พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นเพศหญิงอายุ ๑0-๑๙ ปี ของประเทศไทย พบ ๔3.5 คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน (สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์,๒๕60) และอัตราการตั้งครรภ์ ของหญิงอายุ ๑0-๑๙ ปี ของจังหวัดสงขลาพบ ๔1.2 คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน (สำนักอนามัยเจริญพันธุ์2559) ส่วนในเขตเทศบาลนครสงขลา พบอัตราการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่น มีอัตราสูงถึงร้อยละ ๑0.65, 20.06 และ ๑3.52ตามลำดับ (ปีงบประมาณ ๒๕๕8,๒๕๕9 และ๒๕60) ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น การให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชนแกนนำ ในเรื่องการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาสุขภาพเด็กนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง เกิดความตระหนักและร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งจะทำให้ทุกคนในโรงเรียนรวมทั้งสมาชิกในชุมชนได้รับความรู้ เป็นการปลูกฝังทัศนคติและสร้างเสริมทักษะที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและยั่งยืนต่อไป
ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุขร่วมกับ PCU ในเขตเมืองและศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งรับผิดชอบทั้งหมด ๕๔ ชุมชน ๑๙ โรงเรียนมีนักเรียนเรียนรวมทั้งสิ้น ๒4,983 คน เป็นนักเรียนระดับอนุบาล ๔,๐61 คน ระดับประถม ๑๐,535 คน และระดับมัธยม ๑๐,387 คน ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างแกนนำด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มเยาวชนและนักเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียน เพื่อดูแล และติดตามพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ตลอดจนดำเนินการจัดทำมุมสุขภาพ หรือ คลินิกวัยใส ในโรงเรียน เพื่อให้ผู้นำนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเป็นแกนนำจัดกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน เช่น กิจกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเฝ้าระวังสุขภาพพฤติกรรมความเสี่ยง กิจกรรมแก้ปัญหาสุขภาพและเฝ้าระวังสุขภาพ กิจกรรมส่งเสริมชุมชนมีส่วนร่วม จัดคลินิกให้คำปรึกษา ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อให้นักเรียน ครอบครัว และบุคลากรในชุมชนเป็นบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ตามวัย และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพในระดับประถม และระดับมัธยมศึกษา

๑.มีแกนนำเครือข่าย “คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น” เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๑ เครือข่าย

0.00
2 ๒. เพื่อให้นักเรียนแกนนำ มีความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

๒.ร้อยละ ๘๐ ของผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับประถมศึกษา มีความรู้และทักษะในเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

0.00
3 ๓. เพื่อให้นักเรียนแกนนำ สามารถให้คำปรึกษาในการจัดการปัญหาเบื้องต้นได้

๓. ร้อยละ ๘๐ ของเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความรู้และทักษะในเรื่องการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

0.00
4 ๔. เพื่อให้เกิดการดำเนินงาน “คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น” ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

๔.มีการดำเนินงานคลินิกเพื่อนใจวัยรุ่นในโรงเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. ประสานโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการดำเนินงาน ๑. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้อง/คณะทำงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียด/
โครงการรายละเอียดกิจกรรม และติดตามการดำเนินงานโครงการ ๒. การจัดอบรมอาสาสมัครนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในระดับประถมศึกษา จำนวน ๒ วัน ๓. การจัดอบรมผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน (๒ วัน) ๔. จัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะให้กับแกนนำ ในการดำเนินงาน “คลินิก เพื่อนใจวัยรุ่น” ๕. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน คลินิก เพื่อนใจวัยรุ่นในโรงเรียน ขั้นสรุปและประเมินผล ๑. ติดตามประเมินผลการจัดอบรมอาสาสมัครนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ ๒. ติดตามประเมินผลการการจัดอบรมผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน ๓. ติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการนักเรียน ๔. ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ๕. ผลการดำเนินงาน “คลินิก เพื่อนใจวัยรุ่น” ในโรงเรียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. โรงเรียนมีการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับ ผ่านเกณฑ์การ ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและมีพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ๒. โรงเรียนรับทราบผลสรุปการสำรวจลูกน้ำยุงลาย เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อม และจัดทำโครงการ/กิจกรรมด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ๓. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดโรคไข้เลือดออก ๔. เกิดการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และระบบข้อมูลโภชนาการของนักเรียนที่มี ประสิทธิภาพ ๕. เกิดแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่มีศักยภาพ สามารถดูแล ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำบุคลากร
ในโรงเรียนและชุมชน
๖. มีการดำเนินงาน คลินิก เพื่อนใจวัยรุ่น ในโรงเรียนเป้าหมาย อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2561 15:43 น.