กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคซิก้า
รหัสโครงการ 60-l2490-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ม.7
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 109,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซัน อาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.342,101.874place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ม.ค. 2560 18 ม.ค. 2560 109,400.00
รวมงบประมาณ 109,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาไข้เลือดออกที่เป็นปัญหาเรื้อรังในชุมชน ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านสุขภาพเศรษฐกิจ และด้านสังคมที่เกิดจาก การขาดความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมไข้เลือดออกจากภาคสังคมอื่นๆและชีวะนิสัยของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคของโรคไข้เลือดออกรวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรคโดยพบว่ายุงลายมีการวางไข่และขยายพันธ์ได้ตลอดทั้งปีซึ่งยุงลายตัวเมียผสมพันธ์เพียงครั้งเดียว สามารถวางไข่ได้ครั้งละมากๆตลอดชีวิตและเชื้อโรคไข้เลือดออกสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากแม่ยุงลายสู่ไข่และลูกยุงลายได้รวมถึงการติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค หากไม่มีการควบคุมป้องกันโรคที่ดีก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นและจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว
ตำบลกะลุวอที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริการส่วนตำบลกะลุวอมีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 8หมู่บ้านจากข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกกะลุวอ6 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2554 - 2559พบว่าอัตราป่วยเพิ่มขึ้นซึ่งแนวโน้มจะพบผู้ป่วยตลอดทั้งปี และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆไม่จำกัดอายุ ปีที่พบมีการระบาดมากที่สุดคือปี 2559 ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.กะลุวอ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคซิก้า(Zika virus)ในเขตตำบลกะลุวอ ปี 2560 ขึ้นเพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์และดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 20% เทียบกับปีที่ผ่านมา

จำนวนยอดผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

2 เพื่อป้องกันอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน

จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง

3 สร้างความร่วมมือในชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ยุ้งลายในอัตราที่น้อยลง ภาคีเครือข่ายสามารถให้ความร่วมมือเเจ้งผู้ติดเชื้อโรคไข้เลือดออก เเละเเหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ยุ้งลายต่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ

4 เพื่อควบคุมค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนหลังคาเรือน ภาชนะ ที่พบลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

- ประสานงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริการส่วนตำบล ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชนในชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน - จัดหาทรายอะเบทและน้ำยาสารเคมีกำจัดยุงลาย กำลังคนและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน - ประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยใช้หอกระจายข่าว และเสียงตามสายในหมู่บ้าน - พ่นสารเคมีกำจัดตัวแก่ยุงลาย ในช่วงฤดูกาลระบาด จำนวนทั้ง8หมู่บ้าน - อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 2. กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาด สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายจำนวน8หมู่บ้าน - ประสานงานกับหน่วยงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน - ประชาสัมพันธ์และเดินรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่กับประชาชนในเขตพื้นที่ - สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ 3. กิจกรรมออกติดตาม ประเมิน สำรวจค่า CI และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ในหมู่บ้าน จำนวน 8 หมู่บ้าน - ประสานงานกับหน่วยงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน - ออกติดตาม ประเมินสำรวจค่า CI และทำลายแหล่งเพาะพันธ์
4. กิจกรรมควบคุมโรคในโรงเรียน - ประสานงาน หน่วยงานกับคณะครู นักเรียน อสม. เพื่อวางแผนการดำเนินงาน - ประชาสัมพันธ์การรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่นักเรียน โดยใช้ระบบเสียงตามสายในโรงเรียนและประสานทางวัดได้รับทราบ - รณรงค์พ่นสารเคมีกำจัดตัวแก่ยุงลาย ในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ในโรงเรียน 7 โรง วัด 2 แห่งและมัสยิด10 แห่ง - อสม. นักเรียนสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกสัปดาห์ พร้อมใส่ทรายอะเบท ในภาชนะกักเก็บน้ำ 5. กิจกรรมทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลกะลุวอ - ประสานงาน ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการทีมควบคุมโรคประจำตำบลกะลุวอ - แบ่งหน้าที่ ออกคำสั่งคณะทำงานของทีมควบคุมโรคประจำตำบลกะลุวอ - ดำเนินควบคุมโรคติดต่อในตำบลกะลุวอ - ติดตามสถานการณ์โรคในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง

  1. กิจกรรมควบคุมโรคกรณีระบาด

- ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยใช้ หอกระจายข่าวและเสียงตามสายในหมู่บ้าน - จัดทำแผนงานโครงการ - ดำเนินการตามโครงการ - รายงานกองทุนฯเมื่อมีผู้ป่วยระบาดในเขตพื้นที่ - ประสานข้อมูลกับศูนย์ระบาดวิทยาระดับอำเภอ และการออกสวบสวนโรคเพื่อยืนยันข้อมูล และค้นหาแหล่งรังโรค - พ่นละอองเคมีตามมาตรการ และใส่ทรายอะเบตในภาชนะ กักเก็บน้ำทุกครัวเรือน - อสม. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือนพร้อมกับใช้เทศบัญญัติตำบลนากลางเรื่องการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2560 เพื่อให้หมู่บ้านที่เกิดการระบาดมีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย
7. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย มีลูกน้ำยุงลายในอัตราที่น้อยลง และยุงตัวเต็มวัยได้รับการกำจัด
  2. ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ ไม่เจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  3. เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2560 10:31 น.