กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กไทยแก้มใส ใส่ใจสุขภาพ ปี 2561
รหัสโครงการ 016
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ต้นธง
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 13,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแววตาคำวังพฤกษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางบุญทวี ลอยดี
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.ต้นธง ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.572,98.985place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหารหรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ ถ้าอาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการและจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการนักเรียนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้นธง ปี 2560 พบว่ามีนักเรียนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เตี้ย-ค่อนข้างเตี้ย จำนวน 170 คน ร้อยละ 8.91 น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ ผอม-ค่อนข้างผอม จำนวน 187 คน คิดเป็นร้อยละ 1.45 นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ 274 คน คิดเป็นร้อยละ 14.80 ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้นธง ได้เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน และได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนในเด็กนักเรียน โครงการนี้จึงเป็นโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเริ่มอ้วนและอ้วนเพื่อให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและให้โรงเรียนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง

1.เพื่อเฝ้าระวัง/ติดตามทางโภชนาการและสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กวัยเรียน ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ 2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย 3.เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก

40.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,800.00 0 0.00
7 มี.ค. 61 - 7 ก.ย. 61 ประชุมชี้แจงและจัดอบรมเด็กนักรเียนและผู้ปกครอง 0 13,800.00 -

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน 3.ดำเนินการตามโครงการ 4.จัดอบรมเด็กนักเรียนและผู้ปกครองในเขตบริการของรพ.สต.ต้นธง 5.ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็กวัยเรียน กรมอนามัยและติดตามฟันผุในเด็กนักเรียน 6.ติดตามเยี่ยมเด็กในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กวัยเรียนที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการและฟันผุลดลง 2.เด็กวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย 3.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการในเด็กวัยเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2561 09:39 น.