กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่น วัยใส ไม่ท้องก่อนวัย "UP TO ME" ปี 2561
รหัสโครงการ 015
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ต้นธง
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 13,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแววตา คำวังพฤกษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางบุญทวี ลอยดี
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.ต้นธง ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.572,98.985place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มเด็กนักเรียนและเยาวชน ช่วงอายุ 11-19 ปี
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นประเด็นที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบถึงสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจของแม่และเด็ก โดยพบว่าอัตราการตั้งครรภ์ของแม่ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวนเพิ่มขึ้นจาก 122,509 คนหรือร้อยละ 49.7 ต่อหญิงอายุ 15-19 ปีพันคน ในปี 2560 เป็นจำนวน 119,828 หรือร้อยละ 51.1 ต่อหญิงอายุ 15-19 ปีพันคนในปี 2560 การแก้ไขปัญหาเรื่องท้องในวัยรุ่นเป็นประเด็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม ตั้งแต่การรณรงค์โดยมุ่งไปที่ตัววัยรุ่นเองให้ตระหนักถึงปัญหาและให้ความสำคัญของการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยปลอดภัยและรับผิดชอบ รวมถึงการเรียนการสอนในการเพิ่มทักษะชีวิตและเพศศึกษาแบบรอบด้าน เพื่อให้วัยรุ่นมีทักษะในการสื่อสาร การรู้จักปฏิเสธ ประเด็นเรื่องท้องในวัยรุ่นใได้รับความสนใจจากคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์ 2002 ศพใบปี 2553 ทำให้สังคมให้ความตื่นตัวกรณีนี้อย่างมาก และเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันของสังคมในวงกว้าง จนนำไปสู่การเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายทำแท้ง อย่างไรก็ตาม ทางภาครัฐเห็นว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่จะแก้กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายอาญาเปิดโอกาสให้ทำแท้งได้อยู่แล้วใน 2 กรณี คือ ถ้าปล่อยให้อายุครรภ์มากขึ้นจะเป็นอันตรายต่อแม่ที่ตั้งครรภ์ และกรณีถูกข่มขืน รัฐเล็งเห็นว่าทางออกที่ดีที่สุดของปัญหานี้ก็คือทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันและมาตรการที่ดีที่สุด คือ มาตรการป้องกัน เพราะการทำแท้งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ดีที่สุดคือ การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน จริงๆแล้วเด็กนักเรียนควรได้เรียนเพศศึกษาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับพฤติกรรมทางเพศได้อย่างถูกต้อง แต่ในทางปฏิบัติสามารถทำได้จริงเพียงภาคเรียนละ 3-7 ชั่วโมงเท่านั้น เพศศึกษายังไม่มีการบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนให้ครอบคลุมสถานศึกษาทั้งหมด และครบถ้วนตามจำนวนชั่วโมงต่อปีการศึกษา ดังนั้น จำเป็นต้องทำให้ครูและผู้บริหารเห็นความสำคัญว่า การจัดการเรียนรู้เพศศึกษา 16 ชั่วโมง/ปีการศึกษานั้นได้ประโยชน์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อ HIV เป็นปัญหาที่พบบ่อยในสังคมในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมการเลียนแบบต่างๆที่ไม่เหมาะสมมาเป็นค่านิยมในสังคมวัยรุ่น โดยการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือมีความสัมพันธ์แบบชายรักชาย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา เช่น ปัญหาการตั้งครรภ์ในระหว่างเรียน การทำแท้ง การทะเลาะวิวาท ตลอดจนคิดสั้นทำร้ายตนเอง เป็นค้น ดังนั้น วัยรุ่นเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนักถือตนเอง รวมถึงขาดทักษะชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง ในด้านต่างๆ เช่น ขับรถประมาท ยกพวกตีกัน ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้ พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุการตายของวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่ การทำแท้ง การคลอด การติดเชื้อ HIV ซึ่งพฤติกรรมที่ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จึงมุ่งเน้นที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างหญิงชาย เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้อย่างสมดุลสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเรื่องเพศ เช่น พัฒนาการทางเพศตามวัย การรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศเดียวกันและต่างเพศ การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่เยาวชนให้เกิดสุขภาวะที่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตในสังคม ป้องกันและลดปัญหาอนามัยการเจริญพันธ์ุของวัยรุ่น นำไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่วัยรุ่นและเยาวชนของชาติที่จะเติบโตเป็นอนาคตของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องและสร้างความตระหนักในบทบาทและคุณค่าของการอยู่ในสังคม เพื่อการพัฒนาทางด้านการจัดการอารมณ์ สร้างเสริมสุขภาพ

1.นักเรียนและเยาวชนเกิดความตระหนัก มีความรู้ในบทบาทและคุณค่าของตนเองในสังคม มีการพัฒนาทางด้านภาวะอารมณ์ การเสริมสร้างสุขภาพ 2.ได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้องและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.เยาวชนสามารถแสดงความคิดในเรื่องเพศศึกษา 4.เกิดเครือข่ายการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นและการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นในโรงเรียนในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 5.ลดภาวะอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นน้อยกว่าร้อยละ 10

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,200.00 0 0.00
7 มี.ค. 61 - 7 ก.ย. 61 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 13,200.00 -

1.เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ 2.ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการ 3.แบ่งกิจกรรมออกเป็น3ส่วน คือส่วนที่ 1 ผู้นำสันทนาการเป็นผู้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรมสร้างความคุ้นเคยแก่ผู้เข้าร่วมอบรมส่วนที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่วนที่ 3 สรุปบทเรียน 4.รวบรวมข้อมูลและสรุปข้อมูลประมวลผล 5.สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.วัยรุ่นมีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ 2.เสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องเพศ 3.วัยรุ่นมีความเข้าใจเรื่องอนามัยเจริญพันธ์ุ เพศศึกษามากขึ้น 4.วัยรุ่นสามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเรื่องเพศ และสามารถช่วยเหลือเพื่อนในโรงเรียน ในเรื่องปัญหาทางเพศและสุขภาพได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2561 10:20 น.