กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้ป่วยหายไว ผู้อยู่ใกล้ปลอดภัย ปี 2561
รหัสโครงการ 020
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ต้นธง
วันที่อนุมัติ 16 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มีนาคม 2561 - 7 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบุญเก่ง จำปี
พี่เลี้ยงโครงการ นางจีราภา พรเจริญ
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.ต้นธง ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.572,98.985place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 คัดกรองกลุ่มผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรควัณโรค
42.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่งซึ่งถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอาจพิการและเสียชีวิตและถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนดก็อาจจะทำให้เชื้อโรคดื้อยาที่ใช้ในการรักษาและอาจแพร่เชื้อโรคให้กับบุคคลอื่นๆเช่น บุคคลในครอบครัวหรือคนรอบข้างและสูญเสียงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยจำนวนมากตัวอยู่ป่วยเองก็จะมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ขาดโอกาสในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ประเทศไทยได้เป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคมากเป็นอันดับที่ 18 ของอันดับโลกทั้งหมดและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากไม่สามารถค้นหาผู้ป่วยเพื่อทำการรักษาโดยเร็ว ทำให้มีการแพร่เชื้อโรคแก่บุคคลรอบข้างได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2556 ทางรพ.สต.ต้นธงจึงได้ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคโดยการคัดกรองประชาชนโดยผ่านแกนนำที่ผ่านการอบรมและติดตามกำกับการกินยาอย่างต่อเนื่อง (DOT) เพื่อที่จะลดและป้องกันปัญหาอย่างต่อเนื่องแต่พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคเมาหะบวกเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันพบกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดวัณโรคมากขึ้นตามลำดับแต่ในปี 2559 มีผู้ป่วยจำนวน 11 ราย และคาดว่าน่าจะมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนรักษาซึ่งอาจจะแพร่เชื้อสู่คนอื่นๆได้โดยง่าย รพ.สต.ต้นธงจึงต้องการคัดกรองประชาชนทั่วไปเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ครอบคลุมมากที่สุดรวมถึงต้องการให้มีการเพิ่มบุคคลเพื่อดูแลผู้ป่วยในชุมชนโดยให้อสม.คัดกรองประชาชนในคุ้มของตนเองทุกคนแล้วส่งต่อมายังรพ.สต.ต้นธงในรายที่สงสัยเพื่อที่จะนำเสมหะส่งตรวจไปยังโรงพยาบาลลำพูนและให้อสม. มีหน้าที่กำกับดูแลผู้ป่วยในชุมชนได้และในปี 2560 ทางรพ.สต.ต้นธง จึงได้ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคโดยการคัดกรองประชาชนโดยผ่านแกนนำที่ผ่านการอบรมและติดตามกำกับการกินยาอย่างต่อเนื่อง (DOT) และพัฒนาระบบการให้บริการและการค้นหาของชุมชนโดยชุมชนเพื่อที่จะลดและป้องกันปัญหาต่อไปและพร้อมทั้งจัดกิจกรรมการสะท้อนความคิดและการเล่าประสบการณ์จากผู้ป่วย/การกำกับการกินยาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และหาแนวทางการดำเนินงานต่อไปในปี2561 จึงจัดโครงการต่อเนื่องเพื่อการค้นหาผู้ป่วยและลดการเกิดโรควัณโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรควัณโรค

 

42.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์และชี้แจงกิจกรรมในชุมชนในเรื่องเกี่ยวกับอาการที่สงสัยว่าเป็นวัณโรค และการป้องกันโรคเพื่อค้นหาผู่้ป่วยรายใหม่และขึ้นทะเบียนการรักษา และป้องกันการเกิดโรค 2.ประชุมเสวนาเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูความรู้และค้นหาข้อเด่นข้อด้อยของการดำเนินงาน การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคและการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน 3.การสะท้อนความคิดและการเล่าประสบการณ์จากผู้ป่วย/แกนนำ/ผู้กำกับการกินยา 4.ให้แกนนำ ในการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เป็นรายงวดๆละ 3 เดือนโดยเน้นการคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยง 5.เมื่อแกนนำพบรายที่สงสัยให้ส่งต่อสถานีอนามัยและติดตามอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน 6.ทางรพ.สต.ส่งรายชื่อผู้ป่วย/ผู้ที่มีอาการสงสัยให้ติดตาม/ตรวจสอบ/กำกับการกินยาอย่างน้อย 6 เดือนอย่างต่อเนื่อง 7.การประชุมเพื่อถอดบทเรียนและคืนข้อมูลและสะท้อนปัญหาให้ชุมชนเพื่อหาปัญหาและวิธีการแก้ไขอย่างเหมาะสม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรคมากกว่าร้อยละ 80 2.อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยรายใหม่ มากกว่าร้อยละ 90 3.ร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการติดตามมากกว่าร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2561 11:11 น.