กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Stop Teen Mom 3 "หยุดตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ภาค 3 ตำบลดุซงญอ"
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงกานต์เด่นดารา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 พ.ค. 2560 17 พ.ค. 2560 6,760.00
รวมงบประมาณ 6,760.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม หรือ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ หมายถึง วัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ตั้งครรภ์ทั้งโดยตั้งใจ หรือ ไม่ได้ตั้งใจ แต่มีความไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์นั้นต่อไปด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น คุมกำเนิดแล้วแต่เกิดความผิดพลาด ยังเรียนหนังสือไม่จบ อายุน้อยเกินกว่าจะเป็นแม่ ไม่ได้มีการวางแผนจะมีลูก ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด ถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ก่อนการสมรส การไม่รับผิดชอบของบิดาเด็กในครรภ์ ตลอดจนความไม่พร้อมในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ แม่วัยรุ่นยังขาดวุฒิภาวะในการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการตั้งครรภ์และการคลอด เช่น การคลอดก่อนกำหนด การคลอดทารกน้าหนักตัวน้อยและการตายคลอด หากปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นโดยไม่มีมาตรการควบคุมป้องกัน ย่อมส่งผลเสียต่อสังคมในระยะยาวยากที่จะแก้ไข
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องวัยรุ่น คือ การตั้งครรภ์เมื่ออายุ ๑๙ ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ ๑๐ – ๓๐ ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ใน ๑๐ ปี มานี้เอง ท้องในวัยรุ่นในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อยละ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นกว่าร้อยละ ๒๐ ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของคุณแม่วัยรุ่นนับวันยิ่งน้อยลง ต่ำสุดพบเพียง ๑๒ ปี ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มท้องในวัยรุ่นมีจานวนลดลงตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท้องในวัยรุ่น ได้แก่ ฐานะยากจน เล่าเรียนน้อย ดื่มสุรา ติดยาเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ยาก แต่มีปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะแก้ไขได้และเป็นปัจจัยที่ทำให้ท้องในวัยรุ่นในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ ค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นนั้นเอง วัยรุ่น หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีอายุระหว่าง ๙ – ๑๙ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา โดยมีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ มีการพัฒนาทางร่างกาย โดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ จนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการด้านจิตใจ ซึ่งเป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวมาเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพ และมีรายได้ของตนเอง หรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ เช่น ห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ทำงาน เยาวชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป หากกระทำผิดต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่เป็นต้นในด้านพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจพบว่าวัยรุ่นอยากรู้อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน ดังนั้นวัยรุ่นจึงเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่ายขาดความนับถือตัวเองรวมถึงขาดทักษะในการดำเนินชีวิตส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง (risk behavior) ในด้านต่าง ๆ เช่น ขับรถประมาท ยกพวกตีกัน ดื่มสุรา
และใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายในวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่ การทำแท้งเถื่อน การคลอดบุตรทั้งที่มี อายุน้อย การติดเชื้อ HIV เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ สังคมไทยในปัจจุบัน ตัวเลขวัยรุ่นไทยตั้งท้องในวัยเรียนสูงเป็นอันดับ ๑ ของเอเชียอาคเนย์ และมีอัตราส่วนสูงกว่าวัยรุ่นในยุโรป และอเมริกา เฉลี่ยอายุของการตั้งครรภ์ในวัยเรียน น้อยสุด ๑๒ ปี และไม่เกิน ๑๙ ปี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการด้านเพศ ทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือตนเองเมื่ออยู่กับเพศตรงข้ามถูกกระตุ้นอารมณ์เพศจากสื่อทางลบ และใช้สารเสพติด รวมทั้งการเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นที่สถานการณ์และแนวโน้มขณะนี้ น่าเป็นห่วงซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นไทยในอนาคตองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอจึงได้บูรณาการร่วมกับศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลดุซงญอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาเต๊าะจึงจัดทำโครงการ Stop Teen Mom 3“หยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น (ภาค 3)”ตำบลดุซงญอและกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตำบล ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น

1.เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจในตนเองและมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

2 2. เพื่อสร้างความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคมพัฒนาการทางเพศการจัดการอารมณ์สัมพันธภาพทางเพศพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นการเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

2.เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะมีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศและมีความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคมพัฒนาการทางเพศการจัดการอารมณ์สัมพันธภาพทางเพศพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นการเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

3 3. เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

3.วัยรุ่นได้มีความรู้เรื่องเอดส์และรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงจากภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อสร้างความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคมพัฒนาการทางเพศการจัดการอารมณ์สัมพันธภาพทางเพศพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นการเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีการดำเนินกิจกรรมแบ่งการจัดกิจกรรมเป็น๓ส่วนมีดังนี้ ๑. ผู้นำสันทนาการเป็นผู้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๒. ผู้นำกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ ๒.๑ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์การตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรในประเทศไทย ๒.๒ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหญิง ๒.๓ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ๒.๔ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ๓. ผู้นำกระบวนการกล่าวสรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัยรุ่นอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี มีภูมิคุ้มกันต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่เหมาะสหน้าที่ความรับผิดชอบ
  2. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีทักษะมีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศและมีความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคมพัฒนาการทางเพศการจัดการอารมณ์สัมพันธภาพทางเพศพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นการเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น
  3. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจในตนเองและมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
    4.วัยรุ่นได้มีความรู้เรื่องเอดส์และรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงจากภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2560 10:49 น.