กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 69,470.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางเพียงกานต์เด่นดารา
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.ดุซงญอ และ รพ.สต.บ้านกาเต๊าะ
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 มี.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 69,470.00
รวมงบประมาณ 69,470.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 470 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ระบุว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของผู้หญิงทั่วโลก มีการประมาณกันไว้ว่า ในทุกๆปี จะพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ มากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ราย และครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น จะเสียชีวิตลง ซึ่งนับได้ว่าทุกๆ ๑ ชั่วโมง จะมีผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึง ๓๐ คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงจากอุบัติเหตุเลยทีเดียว มะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศต่างๆทั่วโลกองค์การอนามัยโลกได้ประมาณอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในอนาคตอีก๒๐ ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็น ๒ เท่าของปัจจุบัน รายงานสถิติสาธารณสุข ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขอัตราตายด้วยมะเร็งทุกชนิดสูงขึ้นตลอด โดยมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เป็นอันตรายอันดับ ๑ มะเร็งเต้านมเป็นอันดับ ๒ ในผู้หญิง ปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำpap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ๓๐ – ๖๐ ปีทำให้ช่วยลดอัตราการ เกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ในส่วนของประเทศไทยเอง แต่ละปี จะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ รายและเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ ๕,๐๐๐ รายซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยนั้นเพิ่มขึ้นจาก๗คน เป็น๑๔คน ต่อวันตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความประมาทเพราะคิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง แล้วจะเป็นโรคนี้ได้อย่างไรแต่ในความเป็นจริงผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งสิ้นแม้จะเป็นเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม จากสถิติ รายงานว่า๓๐% ของผู้หญิงไทยไม่เคยได้เข้ารับการตรวจแปปสเมียร์เพื่อคัดกรองหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกเลย
จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปีปีงบประมาณ ๒๕๕9 ของตำบลดุซงญอพบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองเพียงร้อยละ ๙.๘๖ ซึ่งจะเห็นว่าจะมีประชาชนมาคัดกรองไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาสซึ่งกลุ่มประชากรกลุ่มเป้าหมายของจังหวัดนราธิวาสจะต้องได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๒๐ เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและได้รับการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้มาคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาตำบลดุซงญอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาเต๊าะบูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จึง จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในตำบลดุซงญอประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕60ขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ30 – 60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และสตรีกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปีในพื้นที่ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

2 2.เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก

2.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปีที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิดได้รับการส่งต่อและรักษาทุกราย(ร้อยละ ๑๐๐)

3 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาได้ทันท่วงที

3.อสม. มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมายและสามารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ30 – 60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และสตรีกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาได้ทันท่วงที

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ค้นหาแกนนำสตรีเพื่อชักชวนกลุ่มเป้าหมาย
  2. จัดอบรมให้ความรู้แกนนำสตรีในเขตรับผิดชอบ
  3. ค้นหากลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
  4. ติดตามกลุ่มเป้าหมายตามแผนที่กำหนด
  5. จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ พร้อมบันทึกข้อความในการปฏิบัติงาน
  6. ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  7. ออกตรวจมะเร็งปากมดลูกตามตารางการปฏิบัติงาน และลง Program Pap Registry
  8. มอบของที่ระลึกกับกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการคัดกรอง
  9. ประเมินผลและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปีในพื้นที่ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปีที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและพบภาวะผิดปกติทุกชนิดได้รับการส่งต่อและรักษาทุกราย(ร้อยละ ๑๐๐) 3.อสม. มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมายและสามารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม 4. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก 5. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกและรักษาได้ทันเวลา 6. ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2560 10:52 น.