กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง


“ โครงการส่งเสริมให้ความรู้การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ”

ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวง (ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านจันนา)

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมให้ความรู้การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ที่อยู่ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 60-50105-02-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2559 ถึง 31 สิงหาคม 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมให้ความรู้การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมให้ความรู้การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมให้ความรู้การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 60-50105-02-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ตุลาคม 2559 - 31 สิงหาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 2,275.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์โรคผู้ป่วยเบาหวาน รพ.สต.บ้านจันนา ตำบลชะมวง มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาและรับยาต่อเนื่องในระบบ จำนวน 108 ราย ส่วนมากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จากการประเมินผล ปี 2559 มีผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาล (น้อยกว่า 130 mg%) ได้เพียงร้อยละ 25.51 อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจเท้าอย่างละเอียดประจำปี จำนวน 95 ราย (ร้อยละ 87.17) (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดพัทลุง,2559) และสถานการณ์ข้อมูลสุขภาพชุมชนมีแนวโน้มประชาชนเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น จึงมีการปรับรูปแบบการให้ความรู้เป็นรายบุคคล รายกลุ่มย่อย (Self help group) ในสถานบริการและในชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จริงของกันและกัน ซึ่งมีผู้ป่วยเบาหวาน ครอบครัว ญาติ อสม. โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศ ผู้ที่เป็นเบาหวานมาหลายปีหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต และเท้า ซึ่งปลายประสาทเท้าเสื่อมทำให้เกิดแผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรัง และนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการสูญเสียเท้าได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยครอบครัวและชุมชนคณะอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านจันนา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงหาแนวทางปรับความคิด ส่งเสริมให้ความรู้ การบริหารเท้า การดูแลเท้าอย่างถูกวิธี การสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติให้ผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแล และชุมชน เกิดความตระหนัก ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคจากโรคเบาหวาน แบบองค์รวม โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความยั่งยืนต่อไปในชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การดูแลเท้าและการบริหารเท้าที่ถูกต้อง
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้า และป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้า
  3. เพื่อสร้างเสริมการทำงานเป็นทีม และพัฒนาศักยภาพเครือข่าย อสม. ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สร้างทักษะ เพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ร้อยละของจำนวนผู้ป่วยได้รับความรู้ การประเมินภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานในเครือข่าย
    2. ลดอัตราการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของเท้าไม่ให้เกิดแผล ตามแนวทางการรักษาอย่างต่อเนื่อง
    3. เครือข่ายมีการทำงานเป็นทีม พัฒนาการศักยภาพ เพิ่มทักษะความรู้อย่างต่อเนื่อง

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ให้ความรู้ในการดูแลเท้าให้ถูกต้อง

    วันที่ 22 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้ารับการอบรมได้ความรู้ ในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี ตา ไต เท้า และช่องปาก สาธิตการนวดเท้า การบริหารแนะนำการควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ

     

    30 30

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ผลการดำเนินงาน   จัดประชุมอบรมให้ความรู้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน หมู่ที่ 7 และ 8  ตำบลชะมวง  จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100  โดยจัดวิทยาการ เพิ่มความรู้ ประเมินภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน แนะนำการตรวจสุขภาพประจำปี ตา ไต เท้า และช่องปาก สาธิตการนวดเท้า การบริหาร การปฏิบัติสาธิตย้อนกลับ แนะนำการควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ <140 mg% สังเกตอาการ เมื่อมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะน้ำตาลสูง ก่อนการอบรม ทำแบบประเมินความรู้    จำนวน  30 คน ทำแบบประเมินความรู้ได้ถูกต้อง  จำนวน  13  คน คิดเป็นร้อยละ  43.33 หลังอบรม ทำแบบประเมินความรู้    จำนวน  30 คน ทำแบบประเมินความรู้ได้ถูกต้อง  จำนวน  29  คน คิดเป็นร้อยละ  96.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ  53.34

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การดูแลเท้าและการบริหารเท้าที่ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานได้ความรู้การดูแลเท้าและการบริหารเท้าที่ถูกต้อง

     

    2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้า และป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้า
    ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้า

     

    3 เพื่อสร้างเสริมการทำงานเป็นทีม และพัฒนาศักยภาพเครือข่าย อสม. ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สร้างทักษะ เพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : สร้างเสริมการทำงานเป็นทีม และพัฒนาศักยภาพเครือข่าย อสม.

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การดูแลเท้าและการบริหารเท้าที่ถูกต้อง (2) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการถูกตัดเท้า และป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้า (3) เพื่อสร้างเสริมการทำงานเป็นทีม และพัฒนาศักยภาพเครือข่าย อสม. ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สร้างทักษะ เพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งเสริมให้ความรู้การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 60-50105-02-07

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวง (ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านจันนา) )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด