กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะบรรจุโฟม
รหัสโครงการ 61-L4126-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลบันนังสตา
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวแอเสาะมูซา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ก.ค. 2561 11 ก.ค. 2561 26,800.00
2 12 ก.ค. 2561 12 ก.ค. 2561 13,800.00
รวมงบประมาณ 40,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็ว และมีการประกอบอาหารด้วยตนเองน้อยลง ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้โรงพยาบาลบันนังสตาจะมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมิพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร"โฟม" ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก ราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย จากงานวิจัยทั้งในเเละต่างประเทศพบว่า เมื่อนำโฟม (Potystyrene) ไปบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง ที่มีไขมัน หรือน้ำมัน จะมีสารพิษออกมาปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Corcinogen) ได้แก่สารสไตรีน (Styrene) ออกฤทธิ์ทำให้สมองมึนงง ในผู้ชายเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ ในผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งตับ ส่วนสารเบนซิน (Benzene) ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ทำให้โลหิตจาง และสารทาเลท (phthalate) เป็นสารทำลายระบบสืบพันธุ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และจากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ปี 2552-2556 ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบ/คน/วัน โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีประชากรหนาเเน่น จะพบว่าขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี ซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง จากข้อมูล ร้าน/แผงจำหน่ายอาหารภายในเขตเทศบาลบันนังสตาโดยประมาณ 40 ร้าน แยกเป็นร้านจำหน่ายอาหาร 15 ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารจำนวน 25 ร้าน เข้าร่วมเป็นร้านอาหารปลอดโฟม 100% 3 เเห่ง (คิดเป็น 7.5%) แผงลอยจำหน่ายอาหาร 0 แห่ง เมื่อดูจากตัวเลขการเข้าร่วมเป็นร้าน/แผงจำหน่ายอาหารปลอดโฟมนับว่ายังไม่อยู่ในระดับที่สามารถแก้ไขปัญหาการลดใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหารได้ และจะส่งผลกระทบต่อการกำจัดต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร ในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ในเขตพื้นที่ของเทศบาลบันนังสตา ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยจึงได้จัดทำโครงการชาวบันนังสตาสุขภาพดี ลด ละ เลิกใช้ภาชนะบรรจุโฟมขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ
  3. อบรมให้ความรู้ แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก/ส่ง วิสาหกิจชุมชน อสม.และผู้นำศาสนา 250 คน 4.แบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิดในการหาสิ่งทดแทน ภาชนะบรรจุโฟมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5.จัดกิจกรรมรณรงค์การลดใช้ภาชนะบรรจุโฟม 5.1 รณรงค์การลดใช้ผลิตภัณฑ์โฟมบรรจุอาหาร 5.2 ประกวดร้านจำหน่ายอาหารและร้านค้าที่เลิกใช้ผลิตภัณฑ์โฟมบรรจุอาหารโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่น กล่องชานอ้อย 6.สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์โฟมของร้านอาหารในอำเภอบันนังสตาลดลงเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนอีกทั้งทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการมีความรู้เกี่ยวกับโทษจากการใช้โฟมเพื่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 14:29 น.