กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจในขณะเจ็บป่วย
รหัสโครงการ 61-L3001-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเกาะจัน
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กรกฎาคม 2561 - 21 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 19,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอบียะ อูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.723,101.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ก.ค. 2561 21 ก.ค. 2561 19,000.00
รวมงบประมาณ 19,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความเจ็บป่วย เป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ อิสลามมิได้ถือว่าความเจ็บป่วยเป็นเคราะห์กรรมหรือความโชคร้าย หากแต่เชื่อว่า ความเจ็บป่วยนั้นเป็นไปตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ และการหายหรือไม่หายจากการเจ็บป่วย หรือการตาย ก็เป็นพระประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน แต่ก็มิได้หมายความว่า ให้ผู้ป่วยนอนรอจนกว่าพระองค์จะลิขิตให้หายโดยไม่พยายามเยียวยารักษา อิสลามถือว่า ความเจ็บป่วยเป็นการทดสอบ วัดความศรัทธา ความอดทน ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ นอกจากนี้ การที่พระองค์ให้เราเจ็บป่วยยังถือเป็นความเมตตา และไม่ให้เราท้อแท้สิ้นหวัง ให้รีบบำบัดเพื่อจะได้หาย ได้เคารพภักดีต่อพระองค์ต่อไป มนุษย์ทุกคนได้รับการทดสอบจากอัลลอฮฺทั้งรูปแบบของความสุขสบายและความทุกข์ยาก เพื่อทดสอบถึงความศรัทธาให้มนุษย์รู้จักขอบคุณพระองค์ในยามสุข รู้จักแบ่งปันให้เพื่อนมนุษย์ และรู้จักอดทน ระลึกถึงอัลลอฮฺในยามทุกข์ยาก ยามเจ็บป่วย หรือประสบเคราะห์กรรมต่างๆ ดังนั้น ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น จึงเป็นการทดสอบถึงความอดทนในการบำบัดรักษา ทดสอบระดับความศรัทธาที่มีอยู่ ผู้ที่เข้าใจและมีความศรัทธา จะมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับความเจ็บป่วยที่ประสบอยู่ เขาจะวิงวอนขอพรจากพระองค์ให้หายจากโรค ในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยมุสลิม จึงต้องทำให้สุขภาวะทางจิตวิญญาณของเขาแข็งแรง จะได้เข้าใจเรื่องนี้และมีพลังในการต่อสู้กับโรคร้าย หากจิตวิญญาณเขาอ่อนแอ เขาจะท้อแท้ ไม่มีกำลังใจ เกิดความเครียด ความเศร้า ส่งผลต่อโรคทางกายที่เป็นอยู่ หรือมีโรคใหม่แทรกซ้อนขึ้นได้ จาการลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ และการลงพื้นที่ของ อสม.เองในการลงเยี่ยมคนไข้ ซึ่งมีการเจ็บป่วย ทั้งที่เล็กน้อยและที่รุนแรงสิ่งที่พบเห็น ในชุมชนยังมีส่วนใหญ่ที่ ละเลยการปฏิบัติศาสนกิจ เช่น การละหมาด จากการพูดคุยสอบถาม คำตอบที่ได้รับ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60 ยังไม่เข้าใจ วิธีการปฏิบัติในขณะเจ็บป่วย ทำให้หลายคน ไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ และละเลยในการปฏิบัติศาสนกิจ ในขณะเจ็บป่วยซึ่ง บางครั้งเป็นการเข้าใจผิด เพื่อสร้างองค์ความรู้ในเรื่องการปฏิบัติศาสนากิจในขณะที่เจ็บป่วยได้ถูกต้อง และนำไปปฏิบัติได้ ชมรม อสม.ตำบลเกาะจัน จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจในขณะเจ็บป่วยขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วย อสม. และ ประชาชนทั่วไปเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจในขณะเจ็บป่วย

1.  ร้อยละ 85 ของผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้เรื่องการปฏิบัติศาสนกิจในขณะเจ็บป่วย

85.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อนำความรู้เรื่องการปฏิบัติศาสนกิจในขณะเจ็บป่วย ไปปฏิบัติต่อได้อย่างถูกต้อง

    2.  ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรม นำความรู้เรื่องการปฏิบัติศาสนกิจในขณะเจ็บป่วยไปปฏิบัติต่อได้อย่างถูกต้อง

80.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถแนะนำผู้ป่วยในการปฏิบัติศาสนกิจได้ถูกต้อง

    3.  ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถแนะนำผู้ป่วยในการปฏิบัติศาสนกิจได้ถูกต้อง

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19.00 1 19,000.00
20 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการปฏิบัติศาสนกิจในขณะเจ็บป่วย 0 19.00 19,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ดูแลผู้ป่วย อสม. และ ประชาชนทั่วไปมีความรู้เรื่องการปฏิบัติศาสนกิจในขณะเจ็บป่วยดีขึ้น ๒. ผู้ดูแลผู้ป่วย อสม. และ ประชาชนทั่วไปสามารถปฏิบัติปฏิบัติศาสนกิจในขณะเจ็บป่วยดีขึ้นได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 19:05 น.