กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากสารเสพติด บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เทศบาลตำบลพนมสารคาม

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากสารเสพติด บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เทศบาลตำบลพนมสารคาม
รหัสโครงการ ๓/๖๑
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2560
ปี 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเนาวรัตน์ สอนเจริญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประเด็น
แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงาน เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ (คน) ขนาด 43.00
  2. ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่ ขนาด 34.00
  3. จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (ร้าน) ขนาด 16.00
  4. ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป)ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขนาด 31.00
  5. จำนวนร้านค้าชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมายในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(ร้าน) ขนาด 16.00
  6. มาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ(จำนวนมาตรการ) ขนาด 2.00
  7. จำนวนมาตรการชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน (มาตรการ) ขนาด 2.00
  8. มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(มาตราการ) ขนาด 2.00
  9. กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(คน) ขนาด 25.00
  10. กิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ(กิจกรรม) ขนาด 2.00
  11. จำนวนรูปแบบกิจกรรม นวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน(กิจกรรม/นวัตกรรม) ขนาด 2.00

ปัญหายาเสพติด นับเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชน และเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดในโลก การที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ ๒๖ มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติด มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าประชาคมโลกให้ความสำคัญและมีเจตนารมณ์แน่วแน่ ที่จะร่วมกันในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดตลอดมา ยาเสพติดเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน และมีแนวโน้มแพร่ระบาดรุนแรงและขยายวงกว้างเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งหากมองในแง่เศรษฐกิจแล้วเป็นเรื่องของการเสียโอกาส เพราะเด็กและเยาวชนคือ ผู้ที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคตและหากมองในแง่สังคมครอบครัวแล้ว หากครอบครัวใดที่มีสมาชิกเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดถือได้ว่าเป็นการสูญเสียสมาชิกในครอบครัวซึ่งจะกระทบกระเทือนจิตใจต่อคนในครอบครัวอย่างรุนแรง
    สถานการณ์ปัญหายาเสพติดของตำบลพนมสารคามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้ระบุว่าหมู่ 1 บ้านท่าเกวียน ตำบลพนมสารคาม มีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจำนวนมาก แกนนำชุมชนตำบลพนมสารคามจึงได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนประชารัฐร่วมใจ หมู่บ้านชุมชนปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน บ้านท่าเกวียน หมู่ 1 ตำบลพนมสารคาม ขึ้นในปี 2559 และดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับชุมชนเรื่อยมา การดำเนินกิจกรรมในการควบคุมและป้องกันยาเสพติด ต้องดำเนินการพร้อมๆกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยง ด้านบุหรี่ และเครื่องดิ่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วย ซึ่งผลพวงจากวิกกฤตปัญหายาเสพติดนำมาสู่ปัญหาเดียวกัน     พระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 50 ได้กำหนดให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ประกอบกับพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครอง    ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองในการรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกัน  และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งการที่เทศบาลจะดำเนินการใดๆให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน เทศบาลตำบลพนมสารคาม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากสารเสพติด บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เทศบาลตำบลพนมสารคาม ปี 2562 นี้ขึ้น

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมายในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  3. เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ
  4. เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
  5. เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
  6. เพื่อเพิ่มกำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
  7. เพื่อเพิ่มกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ
  8. เพื่อเพิ่มจำนวนรูปแบบกิจกรรม นวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดตั้งชุมชนเข้มแข็งต้านยาเสพติด
  2. สำรวจข้อมูลผู้ประกอบการ
  3. อบรม อส.อส.
  4. รณรงค์ในกิจกรรมหรืองานที่เศบาลจัดขึ้น
วิธีดำเนินการ

สำรวจข้อมูลสถานประกอบการและร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ เหล้า  รับสมัครอาสาสมัครเพื่ออบรมเป็น อส.อส.(อาสาสมัครควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่) แล้วให้ อส.อส.จัดกิจกรรมรณรงค์ในงานที่เทศบาลจัด และสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนในการจีัดตั้งคณะกรรมการชุมชนเข้มแข็ง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพนมสาสรคามมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ลดลง คณะกรรมการมีความเข้มแข็งดำเนินการชุมชนเอาชนะยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน นักเรียนมาความรู้ความเข้าใจปฎิบัติในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้และสามารถเป็นแกนในการรณรงค์ต่อเนื่อง