กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือน การจัดการขยะต้นทาง ปี 2561
รหัสโครงการ 61-5312-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้า
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 29 พฤศจิกายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 29 พฤศจิกายน 2562
งบประมาณ 142,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอรุณเอ็มดู
พี่เลี้ยงโครงการ อนัญญา แสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.834,99.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ย. 2562 16 ก.ย. 2563 39,500.00
2 18 ก.ย. 2562 20 ก.ย. 2562 28,350.00
3 23 ก.ย. 2562 26 ก.ย. 2562 32,850.00
4 1 ต.ค. 2562 8 ต.ค. 2562 42,000.00
รวมงบประมาณ 142,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)
3.00
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำหรับสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ขยะมูลฝอยชุมชน ในปี 2559 เกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 27.06 ล้านตันคิดเป็นอัตราเกิดมูลฝอย 1.14 กิโลกรัมต่อคนวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ประมาณ 190,000 ตัน (ร้อยละ 0.7)โดยเป็นขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร 4.20 ล้านตัน และใน 76 จังหวัด 22.84 ล้านตัน โดย 5 จังหวัดที่มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นต่อวันมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี นครราชสีมา สมุทรปราการ ขอนแก่นโดยปัจจุบันคนไทย 1 คน สร้างขยะโดยเฉลี่ย 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน การจัดการในปัจจุบัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 7,777 แห่ง มี 4,545 แห่ง ที่ให้บริการเก็บขนนำไปกำจัด เป็นจำนวน 13.6 ล้านตัน (ร้อยละ 50 ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น)โดยถูกกำจัดในสถานที่กำจัดอย่างถูกต้องจำนวน 9.59 ล้านตัน หรือร้อยละ 36และถูกกำจัดที่สถานที่กำจัดไม่ถูกต้อง (เผากลางแจ้ง เทกองทิ้งบ่อดินเก่า/พื้นที่รกร้าง) จำนวน 11.69 ล้านตัน หรือร้อยละ 43ส่วนการคัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์มีเพียง 5.76 ล้านตัน หรือร้อยละ 21ขณะที่สถานที่กำจัดขยะแบบถูกสุขอนามัย มีเพียง 466 แห่งจากทั้งหมด 2,490 แห่ง หรือเพียงร้อยละ 19 เท่านั้น ส่วนอีกร้อยละ 81 หรือ 2,024 แห่ง เป็นการกำจัดขยะแบบไม่ถูกสุขอนามัย เช่น กองทิ้งไว้กลางแจ้ง เผาในที่โล่ง รวมถึงลักลอบทิ้งในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ภาครัฐของไทยจึงกำหนดให้ปัญหาขยะเป็น “วาระแห่งชาติ” เช่นแผนของกรมควบคุมมลพิษ ระหว่างปี 2559-2564 ตั้งเป้าจัดการขยะมูลฝอยที่ตกค้างอย่างถูกวิธีให้ได้ “ร้อยละ 100” หรือ “ไม่มีขยะตกค้างอีกต่อไป” อีกทั้งในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาตม ๒๕๕๙ มติเห็นด้วยกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” โดยใช้หลักการ ๓Rs พร้อมทั้งปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการลดปริมาณขยะปลายทางลงร้อยละ ๕ อีกทั้งต้องมีการคัดแยกขยะมูลฝอยหรือนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ชุมชนต้องมีจุดรวบรวมขยะอันตรายและในชุมชนต้องมีสถานที่รวบรวมขยะอันตราย สนับสนุนทรัพยากรด้านข้อมูล องค์ความรู้ งบประมาณ และอำนวยความสะดวกให้กับชุมชนในการปฏิบัติงานด้านการจัดการขยะมูลฝอย จากการขยายตัวของชุมชนในปัจจุบันอีกทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากร การที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูลเป็นเมืองที่มีการส่งเสริมการ่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ หลายหมื่นคน มีแนวโน้มส่งผลให้ปริมาณขยะชุมชนมีเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมของชุมชนหากไม่มีการจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ มีภาระที่ต้องจัดเก็บขยะจากชุมชนเพื่อมากำจัด วันละ 7 ตัน หรือ เดือนละ 120 ตัน แต่ก็ยังพบว่ามีขยะตกค้างในชุมชนที่ยังไม่ได้รับการจัดเก็บราววันละ 1 ตัน จากการสุ่มสำรวจขยะพบว่าขยะทั่วไปที่ประชาชนทิ้งนั้น ยังมีขยะปะปนกันหลายประเภท จากปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมเชิงรุก การทำข้อตกลงในชุมชน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจนสามารถนำไปปฏิบัติและเกิดเป็นธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง ปี 2561 ของแต่ละหมู่บ้านเพื่อลดปัญหาด้านขยะอีกทั้งเป็นข้อตกลงของชุมชนที่รับผิดชอบร่วมกัน ด้วยเหตุนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ จึงได้จัดทำโครงการธรรมนูญสุขภาพประเด็นการคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง ปี 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อใช้ธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง ปี 2561 เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการขยะในชุมชน

ข้อที่ 1 มีภาคีเครือข่ายในการจัดการขยะในชุมชน 

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้มีเวทีในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง ปี 2561

ข้อที่ 2 มีเวทีในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง ปี 2561

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง ปี 2561 จัดการปัญหาขยะในทุกหมูบ้าน

ข้อที่ 3 มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง ปี 2561 อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

0.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลและจัดการขยะในชุมชนของตนเอง

ข้อที่ 4 ประชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชนของตนเอง

0.00
5 ข้อที่ 5 เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างจิตอาสาในการดำเนินงาน การจัดการขยะในชุมชน

ข้อที่ 5 มีจิตอาสาประจำหมู่บ้านในการจัดการขยะในชุมชน

0.00
6 ข้อที่ 6 เพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด

ข้อที่ 6 ปริมาณขยะที่ต้องกำจัดลดลง ร้อยละ 10

0.00
7 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

3.00
8 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1420 142,700.00 4 142,700.00
9 - 16 ก.ย. 62 เวที 1เวทีสร้างความเข้าใจ คัดเลือกคณะกรรมการคระทำงาน (จำนวน 7 ครั้ง) 140 39,500.00 39,500.00
18 - 20 ก.ย. 62 เวทีที่ 2 เวทีรับข้อเสนอปัญหาอุปสรรคแนวทางแก้ไข การบริหารจัดการขยะในชุมชน (จำนวน 7 ครั้ง) 490 28,350.00 28,350.00
23 - 26 ก.ย. 62 เวทีที่ 3 วิเคราะห์ คืนข้อมูล ขัดเกลาข้อมูล 490 32,850.00 32,850.00
1 ต.ค. 62 - 31 ต.ค. 63 เวทีที่ 4 ข้อมูล ประกาสใช้ธรรมนญสุขภาพ การจัดการขยะในครัวเรือนการจัดการขยะต้นทาง 300 42,000.00 42,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ใช้เวทีสาธารณะแบบชวนคิดชวนคุย Story Telling ผู้นำ 4 ภาคส่วน 1.1 เวทีที่ 1 เวทีสร้างความเข้าใจ การจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือน จำนวน 7 ครั้ง (7 หมู่บ้าน) (เป้าหมายหมู่บ้านละ 20 คน) ขั้นตอนการดำเนินงาน • ให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับธรรมนูญสุขภาพ • พูดคุยเรื่องปริมาณขยะ • ปัญหาที่เกิดขึ้น การเกิดโรค • นำเสนอข้อมูลด้านวิชาการ การดำเนินการแก้ไขโดยใช้ข้อมูลจากข้อเสนอแนะของเวที • การมีส่วนร่วมของประชน • เป้าหมาย 4 ภาคส่วนผู้บริหารท้องถิ่น/ฝ่ายปกครอง (กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน,ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) /ผู้นำศาสนา/ผู้นำภาคประชาชน (NGO,กลุ่มต่างๆ,ข้าราชการหน่วยงานในพื้นที่ )

1.2 เวทีที่ 2เวทีรับข้อเสนอแนะจากประชาชน / วิพากษ์ วิจารณ์ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 7 ครั้ง (7 หมู่บ้าน) ประเด็น เวที กลุ่มเป้าหมาย (490คน) ขั้นตอนการดำเนินงาน • รับข้อเสนอแนะ • เปิดเวทีนำเสนอพร้อมเติมเต็ม / วิพากษ์ / วิจารณ์
• เป้าหมาย แกนนำ 4 ภาคส่วน / นักวิชาการ / เอกชน / ภาครัฐ / สสส. / ภาคประชาสังคม

1.3 เวทีที่ 3 เวทีคืนข้อมูล สร้างกลไกคณะทำงาน ขัดเกลาข้อมูลสังเคราะห์ข้อมูลของเลขานุการ การคัดแยกขยะและลดปัญหาขยะในครัวเรือนการจัดการขยะต้นทางจำนวน 7 ครั้ง (กลุ่มเป้าหมาย 490 คน) ขั้นตอนการดำเนินงาน • คืนข้อมูลให้กับผู้เข้าร่วมประชุม มุมมองจากเวที 1และ 2 • คัดเลือกแกนนำในการจัดการขยะในชุมชนโดยการนำเสนอเวที/อาสาสมัคร • แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงานโดยผู้บริหาร • ประชุมทางวิชาการและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สังเคราะห์ข้อมูล ข้อเสนอแนะของประชาชน โดยมี ปลัดอบต./ รองปลัดอบต./ ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม/ หัวหน้าหน่วยงาน/ตัวแทนทสจ./สสจ.สตูล/รพสต./รพ./ตัวแทนNGO
• วิพากษ์/วิจารณ์/เพิ่มเติม/แก้ไข/ปรับปรุง ก่อนการจัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพ ฯ

1.4 เวทีที่ 4 เวทีประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือน การจัดการ ขยะต้นทาง ปี 2561 จัดเวที จำนวน 1 ครั้ง เป้าหมาย (400 คน) สถานที่ จุดชมวิวชายหาดปากบารา ขั้นตอนการดำเนินงาน • จัดทำ MOU การทำข้อตกลง โดย ผู้ว่าราชการจังหวัด/นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล/สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสตูล/นายกอบต.ปากน้ำ/สสส./สช./สำนักประกันสุขภาพแห่งชาติสงขลา/เกษตรอำเภอละงู
เวทีเสวนา • การแสดงจากชุมชน ภายใต้กรอบแนวคิด การจัดการขยะ /การลดโลกร้อน /สิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตร / ความสามัคคี / วิถีชีวิตและชุมชนบ้านเกิด • การนำเสนอผลงานจากชุมชน ประเด็น การจดการขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือน การจัดการขยะต้นทาง • สรุปการดำเนินงานธรรมนูญสุขภาพ ประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปัญหาขยะในครัวเรือนจัดการขยะต้นทาง ปี 2561 • กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา คัดแยกขยะ จัดเก็บขยะ ทำความสะอาด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.เพื่อให้ชุมชนได้สามารถใช้เครื่องมือ ธรรมนูญสุขภาพ ในการจัดการขยะ และการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการจัดการตนเอง 2. เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ธรรมนูญสุขภาพประเด็น การคัดแยกขยะ และลดปริมาณขยะในครัวเรือนได้
3. เพื่อให้เกิดนวัตกรรม การใช้เครื่องมือ ธรรมนูญสุขภาพ ในการบริหารจัดการขยะของชุมชนในตำบลปากน้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 09:57 น.