โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยโรคเรื้องรังป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยโรคเรื้องรังป้องกันภาวะแทรกซ้อน |
รหัสโครงการ | L5298-61-01-001 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพะเนียด |
วันที่อนุมัติ | 27 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 22,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายไพรินทร์แก้วทองมาผอ.รพ.สต.วังพะเนียด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.702,100.095place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 19 ก.ค. 2561 | 19 ก.ค. 2561 | 22,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 22,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 160 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ถึงแม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ แต่ความชุกและอุบัติการณ์ กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบทอีกทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางตา ไต เท้า สมอง หัวใจหรืออาจหมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หมดสติจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ติดเชื้อง่าย หลอดเลือดตีบหรือแตกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาตได้ ผลกระทบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังมีทั้งกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาพยาบาล รวมทั้งสูญเสียอวัยวะ และความพิการซึ่งเกิดขึ้นได้มากกว่าคนปกติ รวมทั้งมีผลกระทบถึงสภาพจิตใจด้วย นอกจากนี้ผลเสียทางอ้อมอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อนและการมีพยาธิสภาพ ทำให้เกิดความพิการหรือไร้สมรรถภาพ เช่น ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ขาดรายได้จากการทำงาน สมรรถภาพในการทำงานลดลง การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและอาจมีอายุสั้นกว่าปกติถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อีกทั้งรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายในด้านอุปกรณ์การตรวจ ดังนั้นการควบคุมป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังนั้นต้องประกอบไปด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายอารมณ์เครียดและการใช้ยาร่วมด้วยซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้สามารถควบคุมโรคและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
จากการสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมสำนักโรคไม่ติดต่อ ปี พ.ศ ๒๕๖๐พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน๒๖๖,๙๐๓คน และโรคเบาหวานจำนวน๒๒๐,๔๑๓คน ซึ่งจากการสำรวจปัญหาสุขภาพชุมชนโดยการสืบค้นในระบบ JHCIS ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังพะเนียด ปี ๒๕๖๐ พบว่าประชากรในตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน๔๔๙ คน ร้อยละ ๑๗.๗๓ พบโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด จำนวน ๒๙๙คน ร้อยละ ๑๑.๘๐ และโรคเบาหวาน จำนวน๑๕๐ คน ร้อยละ ๕.๙๓ ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนย้อนหลัง๓ปีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑พบว่า ในเขตรับผิดชอบหมู่ที่ ๑ - ๗ ตำบลเกตรี มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านสมอง ส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตตามมา จำนวน ๘,๑๐ และ ๑๑ คน ตามลำดับ ภาวะเบาหวานขึ้นตา จำนวน ๑,๓,๔ คน ตามลำดับ และมีแผลที่เท้า จำนวน ๒, ๒ , ๓ คน ตามลำดับ ภาวะไตวายเรื้อรังระดับ ๔ ขึ้นไป จำนวน ๔,๖ และ ๘ คน ตามลำดับจากจำนวนดังกล่าว ทำให้เห็นถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพะเนียด ตำบลเกตรี จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนตำบลเกตรีปี๒๕๖๑ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน สามารถเฝ้าระวัง ควบคุมพฤติกรรมต่างๆที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลป้องกันเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ การดูแลรักษาและการป้องกันตนเอง ให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ได้ถูกต้องเหมาะสม |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
19 ก.ค. 61 | อบรมให้ความรู้เรื่องโรคภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายของโรคเรื้อรัง การปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับโรค โดยเน้น 3 อ 2 ส. การใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและสาธิตวิธีการดูแลเท้า | 160 | 22,800.00 | - | ||
รวม | 160 | 22,800.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นเตรียม ๑. ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ ๒. ร่างแบบเขียนโครงการเพื่อนำเสนอ ๓. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๔. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเอกสาร ๕. มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงาน ๖. ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยผู้นำชุมชน,อสม. และ อบต.เกตรี ๗. ติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชน,อสม.และทุกหมู่บ้าน ๘. ประชุมทีมงานเพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ขั้นดำเนินการ
๑. ดำเนินกิจกรรมช่วงเดือน มกราคม – กันยายน ๒๕๖๑ จำนวน ๑๖๐ คน รายละเอียดดังกิจกรรมต่อไปนี้
๑.๑ลงทะเบียน
๑.๒ให้ความรู้เรื่องโรค,ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายของโรคเรื้อรัง
๑.๓ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับโรค โดยเน้น ๓ อ.๒ ส.
๑.๔การใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
๑.๕สาธิตวิธีการดูแลเท้า
ขั้นประเมินผล
๑. นำผลการติดตามไปใช้พัฒนารูปแบบวิธีการของโครงการที่จะดำเนินการในโครงการต่อไป
๒. นำปัญหาในโครงการครั้งนี้มาแก้ไข และปรับปรุงเพื่อจะดำเนินการในโครงการครั้งต่อไป
๑. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนครบทุกรายและในรายที่มีปัญหาภาวะแทรกซ้อนจะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ๒. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการการดูแลรักษาและการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังได้ถูกต้องเหมาะสม ๓.การเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้องรังมีแนวโน้มลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 10:49 น.