โครงการกระโดดเชือกหรรษา ชีวาปลอดภัย
ชื่อโครงการ | โครงการกระโดดเชือกหรรษา ชีวาปลอดภัย |
รหัสโครงการ | 61-L5251-2-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านพรุเตียว |
วันที่อนุมัติ | 9 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 10,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.584,100.382place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กระโดดเชือกเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง ที่เล่นง่าย ไม่ใช้อุปกรณ์มาก ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หากปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย โดยเฉพาะสมรรถภาพทางด้านระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจอย่างเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้รณรงค์ส่งเสริมกิจกรรมกระโดดเชือกอย่างจริงจัง ในกลุ่มเยาวชนและประชาชนคนไทยทั่วไป เพื่อให้ทุกคนปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ ในปัจจุบันสังคมโลกให้ความสนใจ และความสำคัญต่อการกระโดดเชือกมากและยอมรับกันแล้วว่ากระโดดเชือกได้พัฒนาเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่มีรูปแบบการเล่นหลากหลาย มีวิธีการเล่น ทักษะ เทคนิค กติกามากมาย มีท่ากระโดดที่พลิกแพลง ซับซ้อน มีสีสันของความสวยงาม น่าตื่นตาตื่นใจ สนุกสนาน และท้าทายความสามารถ มีการแข่งขันทั้งเพศชาย และเพศหญิง ตั้งแต่ระดับผู้เริ่มเล่น ระดับกลาง จนสู่ระดับมืออาชีพ มีการแข่งขันตั้งแต่อนุชน เยาวชน จนสู่ระดับนานาชาติ และระดับโลก ทั้งนี้ทางโรงเรียนจึงจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อตอบสนองโครงการของมูลนิธิโรคหัวใจและเพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ • เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนเยาวชนอายุ 6-1๒ ปี ให้สร้างสุขนิสัยในการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง • เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนมีอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับสุขภาพของหัวใจ • เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้เยาวชนได้ก้าวไปสู่การแข่งขันระดับภูมิภาค และระดับโลก • เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ • เพื่อให้เยาวชนได้รับรู้และเห็นความสำคัญในเรื่องของการดูแลรักษาหัวใจด้วยวิธีการออกกำลังกาย • เพื่อสร้างเครือข่ายชมรมกระโดดเชือกฯ ในโรงเรียนฯ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี เพื่อให้นักเรียนมีความสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนมีร่างกายที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และห่างไกลจากยาเสพติด เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงการรักษาสุขภาพร่างกายที่ดี และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ ๘๐ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ ๗๐ มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ ๖๐ สามารถพัฒนาและต่อยอดสู่การแข่งขันได้ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 10,500.00 | 3 | 10,500.00 | 0.00 | |
1 - 31 ก.ค. 61 | ๑.กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวประโยชน์และวิธีการกระโดดเชือก | 0 | 5,625.00 | ✔ | 5,625.00 | 0.00 | |
1 - 31 ก.ค. 61 | ๒.กิจกรรมการฝึกซ้อมการกระโดดเชือก | 0 | 3,250.00 | ✔ | 3,250.00 | 0.00 | |
1 - 30 ก.ย. 61 | ๓.กิจกรรมการจัดการแข่งขันกระโดดเชือก | 0 | 1,625.00 | ✔ | 1,625.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 10,500.00 | 3 | 10,500.00 | 0.00 |
วิธีการดำเนินงาน ๑. จัดให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการกระโดดเชือกที่ถูกต้อง ๒. จัดให้มีการแนะนำขั้นตอนและวิธีการกระโดดเชือกที่ถูกต้อง ๓. จัดกิจกรรมการฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มทักษะให้กับผู้เล่น ๔. จัดกิจกรรมให้มีการส่งทีมเข้าทำการแข่งขันเพื่อต่อยอดสู่การเล่นเพื่อการแข่งขันต่อไป
๑.นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ๒. นักเรียนมีความสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรม ๓. นักเรียนมีร่างกายที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ๔. นักเรียนเล็งเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพร่างกายที่ดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2561 11:38 น.