กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจรณรงค์การตรวจมะเร็งปากมดลูกในหญิงอายุ 30-60 ปี ปี 2561
รหัสโครงการ 61-l2508-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะโล
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาซิ นิจินิการี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2561 31 ธ.ค. 2561 13,200.00
รวมงบประมาณ 13,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันถึงแม้วิทยาการทางการแพทย์จะรุดหน้าไปไกลสามารถรักษาได้หลายชนิดแต่โรคบางชนิด เช่น มะเร็งจะตรวจรักษาให้หายได้ต้องตรวจในระยะแรกถึงจะสามารถรักษาหายขาดไปได้ โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นอีกหนึ่งโรคสตรีที่มีความอันตรายและเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของผู้หญิง โดยข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ ๔ รองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด ปี ๒๕๕๘ พบว่า หญิงไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกถึงวันละ ๑๔ คนทั้งที่โรคนี้สามารถตรวจหาความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และสามารถป้องกันได้ หนึ่งในจำนวนนั้นอาจจะเป็นหญิงที่ท่านรักก็เป็นได้และแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก มีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม
จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล พบว่า ในปี ๒๕๖๐มีสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ ๓๐–๖๐ ปี (ในเขต อตบ.) จำนวน๕๕๙ คนได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีVIA จำนวน ๒๗ คนร้อยละ ๔.๔๘ ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก ส่วนผลงานสะสมตั้งแต่ ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐ (เป้าหมาย ร้อยละ ๖๐) ผลงานสะสม ร้อยละ ๓๙.๔๓ ซึ่งต้องดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมายอีกจำนวนมาก จากดำเนินงานพบปัญหาในหลาย ๆ ด้าน มีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการ ยังมีความอาย วิตกกังวล ไม่เข้าใจในการตรวจอีกทั้งอาจเข้าใจว่าโรคมะเร็งปากมดลูกไม่เกิดกับทุกคน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องใช้ทักษะและงบประมาณบางส่วนที่ต้องทำความเข้าใจและสร้างแรงจูงใจให้มาตรวจ
ดังนั้นเพื่อให้การคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มอายุ ๓๐-๖๐ ปี ให้ได้ผลงานตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑ ให้ได้มากกว่าร้อยละ ๖๐ และค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่มก่อนเป็นโรคมากขึ้นได้เพื่อช่วยเหลือด้านสุขภาพของประชาชนด้วยทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะโลได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในหญิงอายุ ๓๐-๖๐ ปีจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขวางไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,200.00 1 13,200.00
12 ก.ย. 61 จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการตรวจมะเร็งปากมดลูก 0 13,200.00 13,200.00

ขั้นดำเนินการ ๑. อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี จำนวน ๑๒๐ คน -สร้างความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยใช้นักวิชาการอิสลาม -ทำความเข้าใจให้กลุ่มเป้ามาย เรื่องศาสนาอิสลามตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ ๒. ประชาสัมพันธ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล มัสยิด และในชุมชน ๓. อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำสตรี จำนวน ๕๓ คน ติดตามกลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสะโล
๔. เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขเยี่ยมติดตามกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ๕. ออกให้บริการเชิงรุกในการตรวจมะเร็งปากมดลูกถึงที่ถึงบ้านมากขึ้น ขั้นหลังดำเนินการ
๑. .สรุปและประเมินผลโครงการ
๒. ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติและส่งต่อแพทย์ ๓.สรุปวิเคราะห์และประเมินผล - ประเมินผลสรุปการดำเนินงานตรวจคัดกรอง แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองกลับไปยังหลังเข้า บันทึกข้อมูลในโปรแกรม JHCIS - รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มหญิงอายุ๓๐-๖๐ ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามเกณฑ์กำหนดและได้รับการเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยง สามารถรักษาโรคในระยะแรกได้ทันท่วงทีและเป็นการส่งเสริม ดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ๒. ไม่มีอัตราการป่วยและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพของประชาชน ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของกลุ่มหญิงอายุ๓๐-๖๐ ปี ๔. เป็นการแสดงบทบาทการเอาใจใส่สุขภาพของประชาชนของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 10:48 น.