กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนยุคใหม่ ใส่ใจผู้บริโภค
รหัสโครงการ 61-l2508-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะหะมะนาวาวี หะยีอูเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.337,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2561 30 ก.ย. 2561 27,500.00
รวมงบประมาณ 27,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้าน ยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว
ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก จึงมีแผนที่จะให้มีโครงการชุมชนยุคใหม่ ใส่ใจผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ฯลฯทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 ประชาสัมพันธ์การคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน 4000 4,500.00 4,500.00
23 ก.ค. 61 จัดอบรมผู้ประกอบการร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหาร 30 3,000.00 3,000.00
24 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้แกนนำเครือข่ายผู้บริโภค 40 4,000.00 4,000.00
25 ก.ค. 61 จัดอบรมให้ความรู้กับประชาชนในชุมชน 80 16,000.00 16,000.00
รวม 4,150 27,500.00 4 27,500.00

๑. จัดทำโครงการฯ เสนอคณะกรรมการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ ๒. ประชุมชี้แจงโครงการฯให้ผู้ประกอบการณ์ด้านอาหารและร้านชำและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อขอความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการ และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆในหมู่บ้าน ๓. จัดทำสื่อเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ๔. ดำเนินการประสานวิทยากรเพื่อ กำหนดวัน,เวลา ,สถานที่และเนื้อเรื่องในการอบรมตามโครงการฯ
๕. ประสานขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการณ์ด้านอาหารและร้านชำเข้าร่วมอบรมตามวันเวลาที่กำหนด และขอความร่วมมือจากทุกร้านอาหาร ร้านชำและแกนนำภาคีเครือข่ายในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบตก เข้าร่วมโครงการ ๖. สาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ๗. ดำเนินการตรวจประเมินร้านชำ ไตรมาสละ ๑ ครั้ง ๘. สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจสารปนเปื้อน จากร้านอาหาร เดือนละ ๑ ครั้ง ๙. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. มีการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย ๒. ประชาชนมีความรู้และสามารถเลือกบริโภคอาหารได้อย่างมั่นใจปลอดภัยจาก สารปนเปื้อน ๓. เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 10:54 น.