กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในชุมชน ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L8406-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนโดน
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 38,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซอหมาด บาหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กะเส็มสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (38,300.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 215 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคระบาดสามารถป้องกันได้ หรือลดความรุนแรงได้ด้วยวิธีการป้องกันควบคุมโรคอย่างเป็นระบบ ถูกวิธี รวดเร็ว และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โรคระบาดมีความสำคัญ เพราะนอกจากทำให้เจ็บป่วยเสียชีวิตแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอุจาระร่วง และโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันโรคติดต่อมีแนวโน้มที่จะพบโรคระบาดบ่อยขึ้น ความรุนแรงเพิ่มขึ้น และมีโรคชนิดใหม่ๆ มากขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เห็นได้จากจำนวนบ้านที่มากขึ้น เขตเมืองมีประชากรหนาแน่น และมีชุมชนแออัดขึ้น ประชาชนจึงติดโรคง่าย แต่ป้องกันโรคยากกว่าเดิม การคมนาคมสะดวกรวดเร็วขึ้น ทั้งถนนหนทางที่ทันสมัยและการเดินทางโดยเครื่องบิน ทำให้เชื้อโรคสายพันธ์ใหม่จากต่างประเทศ สามารถเข้าถึงหมู่บ้านเล็กๆ ได้ ภายในไม่กี่วัน จากเดิมต้องใช้เวลาหลายเดือน หรือเป็นปี มีแหล่งรังโรคร่วมกันมากขึ้น เช่น กินอาหารที่ร้านเดียวกัน ซื้ออาหารจากตลาดหรือโรงงานอาหารเดียวกัน ใช้น้ำจากระบบประปาเหมือนกัน ไปเรียนในโรงเรียนเดียวกัน ได้รับควันพิษจากโรงงานแห่งเดียวกัน เป็นต้น ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ จากการวิเคราะห์สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จากข้อมูล รง. 506 ของงานระบาดวิทยา โรงพยาบาลควนโดน พบว่าโรคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ โรคอุจาระร่วง โรคไข้เลือดออก และโรคปอดอักเสบ ตามลำดับ โดยโรคอุจาระร่วง มีอัตราป่วยสูงสุด ในปี 2558 พบผู้ป่วยจำนวน 236 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 779.80 ต่อประชากรแสนคน ปี 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 237 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 780.12 ต่อประชากรแสนคนและปี 2560 พบผู้ป่วยจำนวน 407 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 1558.49 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 0-4 ปี และโรคที่เป็นปัญหารองลงมา คือโรคไข้เลือดออก ซึ่งพบผู้ป่วยยืนยันและผู้ป่วยที่สงสัย ในปี 2558 พบผู้ป่วยจำนวน 63 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 680.28 ต่อประชากรแสนคน ปี 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 103 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 1047.46 ต่อประชากรแสนคน และปี 2560 พบผู้ป่วยจำนวน 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 159.32 ต่อประชากรแสนคน เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคที่สำคัญที่สุด คือ ความตระหนักของประชาชนในการมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ความตระหนักและความเอาใจใส่ในการร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน และความร่วมมือกันของประชาชนทุกครัวเรือนในชุมชนในการทำกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ยังไม่จริงจังและขาดความต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคยังไม่มีความชัดเจน
จากสภาพปัญหาดังกล่าว งานระบาดวิทยาและควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน และกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดนได้เห็นความสำคัญที่จะลดปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในชุมชน ปีงบประมาณ 2561 ขึ้นเพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (H.I.) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

0.00
2 2. เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ายุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน (C.I.) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ในเขตรับผิดชอบ

0.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคอุจจารระร่วงเฉียบพลัน

ประชาชนในชุมชนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคอุจจารระร่วงเฉียบพลันหลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80

0.00
4 4. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเห็นความสำคัญของการมีสุขอนามัยที่ดีและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ

จำนวนหลังคาเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 70 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,624.00 0 0.00
20 เม.ย. 61 1. กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรคอุจาระร่วงและโรคติดต่ออื่นๆ แก่ผู้ปกครองในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 0 13,600.00 -
20 เม.ย. 61 2. กิจกรรม แกนนำนักเรียน อสม. พร้อมเจ้าหน้าที่ ออกสุ่มลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน และในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 0 11.00 -
20 เม.ย. 61 3. กิจกรรมมอบรางวัลบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 0 13.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงนโยบายเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ๒. ปรึกษาหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ๓. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ

ขั้นดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคอุจาระร่วงและโรคติดต่ออื่นๆ แก่ผู้ปกครองในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี จำนวน 2 รุ่นๆละ 50 คน 2. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย กิจกรรมการสำรวจลูกน้ำยุงลาย เพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้กับ อสม.และครัวเรือนในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 2. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องในการสำรวจลูกน้ำยุงลาย โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ในชุมชน - อสม.ประเมินหลังคาเรือนที่ตนเองรับผิดชอบ 4 ครั้ง (เดือน มี.ค.,พ.ค.,ก.ค.,ก.ย. ปี 2561 )
- หลังคาเรือนใดที่ตรวจไม่พบลูกน้ำยุงลาย จะได้รับบัตรปลอดลูกน้ำยุงลาย และให้ อสม. เซ็นต์รับรอง ซึ่งบัตรดังกล่าวนำมาลุ้นรางวัล
- จะมีการจับฉลากบัตรปลอดลูกน้ำยุงลายปลายเดือนกันยายน ๒๕61
- กิจกรรมสนับสนุนครัวเรือนต้นแบบบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย หมู่ละ 3 รางวัล ในโรงเรียน - แกนนำนักเรียนดำเนินการเฝ้าระวัง พร้อมทั้งประเมิน ค่า CI ในโรงเรียน และส่งรายงานทุกเดือนให้ รพ.สต. มัสยิด - อสม. และผู้นำในชุมชนดำเนินการเฝ้าระวัง ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ในมัสยิด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่า HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) เป็น ๐ ร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ
  3. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องโรคอุจจารระร่วงเฉียบพลัน
  4. ประชาชนในชุมชนเห็นความสำคัญของการมีสุขอนามัยที่ดีและมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 13:40 น.