กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมการฝึก “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”18 กรกฎาคม 2561
18
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย รพ. หาดใหญ่
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.00-08.30 น. ลงทะเบียน 08.30-09.00 น. พิธีเปิดการอบรม
                                โดย นายแพทย์สิทธิภัทร์  รุ่งประเสริฐ  รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.หาดใหญ่
09.00-10.30 น. อภิปรายการส่งเสริมสุขภาพจิตระดับชุมชน         โดย  นางสาวกรรณิการ์ กฤติกานต์                                         นางสาวดาฮียา หลีเบ็ญหมาน 10.30-12.00 น. อภิปรายการเฝ้าระวังสุขภาพจิตระดับชุมชน         โดย  นางสาวดาฮียา หลีเบ็ญหมาน                                         นางสาวกรรณิการ์ กฤติกานต์ 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00-15.00 น. ฝึกปฏิบัติการใช้แบบประเมินและแบบคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต         โดย  นางสาวกรรณิการ์ กฤติกานต์       นางสาวดาฮียา หลีเบ็ญหมาน 15.00-16.30 น. ฝึกปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน         โดย  นางสาวกรรณิการ์ กฤติกานต์
                                        นางสาวดาฮียา หลีเบ็ญหมาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีคะแนนทดสอบหลังเข้ารับการอบรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
2. ร้อยละ 85 ของผู้ที่เข้าร่วมการอบรมสามารถใช้แบบประเมินคัดกรอง ค้นหา ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง
ฝึกปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนผ่านกิจกรรมการฟังด้วยหัวใจ เพื่อพัฒนาทักษะการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ปัญหาสุขภาพจิต - โดยแบ่งผู้รับการอบรมออกเป็นกลุ่มๆ ละ 3 คน เพื่อฝึกปฏิบัติ 2 รอบตามเงื่อนไขที่กำหนดดังนี้ - รอบที่ 1 คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่อง, คนที่ 2 ทำหน้าที่ฟัง,
และคนที่ 3 รบกวนการเล่าเรื่อง - รอบที่ 2 คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่อง, คนที่ 2 ทำหน้าที่ฟัง,
และคนที่ 3 ไม่รบกวนการเล่าเรื่อง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการถอดบทเรียนรอบที่ 1 -  รู้สึกสบายใจที่มีคนฟัง มีคนมาปลอบใจ -  การพูดแทรกทำให้รู้สึกอึดอัด รำคาญ และโกรธ -  ผู้พูดรู้สึกอึดอัด และเสียใจที่ผู้ฟังไม่ตั้งใจฟังให้ความสนใจคนที่ 3 มากกว่า -  เมื่อมีคนพูดพร้อมกันทำให้ผู้ฟังไม่มีสมาธิ เพราะไม่รู้จะฟังเรื่องของใคร -  ผู้พูดรู้สึกไม่ได้รับความสนใจ
-  หากผู้ฟังมีความพร้อมและมีสมาธิในการฟัง จะส่งผลให้ผู้พูดสามารถเล่าเรื่องราวของคนเอง ได้ง่ายมากขึ้น สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการถอดบทเรียนรอบที่ 2     -  ท่าทีของผู้ฟังมีความสำคัญในการเล่าเรื่องของผู้พูด หากผู้ฟังแสดงท่าทีสนใจจะทำให้ผู้พูดเล่าเรื่องได้ราบรื่น สบายใจ ท่าทีที่มีผลต่อการเล่าเรื่องของผู้พูด เช่น การพยักหน้า, การแสดงออกทางหน้าตา, แววตามีความตั้งใจ, นั่งมองหน้า สบตา, ใช้การสัมผัส(จับมือเบาๆ) เป็นต้น แต่ถ้าผู้ฟังพูดแทรก ฟังเรื่องราวไม่จบแต่ให้คำแนะนำ หรือให้ความสนใจอย่างอื่นมากกว่าจะส่งผลให้ผู้พูดรู้สึกอึดอัด ไม่อยากเล่าเรื่องต่อ รู้สึกว่าผู้ฟังไม่ได้ต้องการฟังอย่างจริงจัง สรุปจากการถอดบทเรียนกิจกรรมการฟังด้วยหัวใจ
-  หากผู้ฟังตั้งใจฟังจะทำให้ผู้ฟังสามารถจดจำเรื่องราวได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยนจากสิ่งที่ผู้พูดเล่า และสามารถเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูดได้ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ฟังไม่รีบตัดสินเรื่องราว หรือรีบให้คำแนะนำจนเกินไป -  การฟังอย่างตั้งใจคือ การฟังด้วยหัวใจ ฟังอย่างใส่ใจ ฟังโดยไม่ถาม ฟังโดยไม่แทรก มีสมาธิตั้งใจ ส่งผลให้ผู้พูดรู้สึกได้รับความอบอุ่น รู้สึกได้รับความใส่ใจ ผู้ฟังรู้และเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังจะสื่อสารออกมา

อภิปรายการส่งเสริมสุขภาพจิตระดับชุมชนและการเฝ้าระวังสุขภาพจิตระดับชุมชนผ่านกิจกรรม Brain Storm เพื่อพัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน -  การสังเกตอาการ หรือพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวัง จากนั้นประเมินด้วยแบบคัดกรอง 2 Q หากพบความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า แนะนำให้ไปรับบริการที่โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
-  กรณีเพิ่งเริ่มต้นการรักษา แนะนำกินยาอย่างต่อเนื่อง 6 เดือน – 1 ปี
-  การเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจรับฟังในขณะที่เขาพูด ด้วยท่าทางสีหน้าที่พร้อมจะรับฟัง ชวนคุย ซักถาม ทำความสนิทสนมให้เขาไว้วางใจ
-  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทำให้เขามีความเชื่อมั่นในตัวเรา เพื่อให้เขาพร้อมจะเล่าปัญหา/ความไม่สบายใจ/ความกังวล/ความเครียด -  การให้กำลังใจ/ปลอบใจเพื่อให้เขาผ่อนคลายความเครียด -  การชักชวนให้เข้ากลุ่มทางสังคม เช่น ออกกำลังกาย, ร้องเพลง, ร่วมกิจกรรมต่างที่จัดในชุมชน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล -  แนะนำให้พบจิตแพทย์ เพื่อทำการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง 6 เดือน – 1 ปี -  หากพบบุคคลที่มีความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง ต้องแนะนำญาติ/คนใกล้ชิดให้สังเกตพฤติกรรม หรือเข้าไปพูดคุยเพื่อป้องกันการทำร้ายตัวเอง -  การเก็บรักษาความลับของบุคคลที่เราพูดคุยด้วย เพื่อให้เขาเกิดความไว้วางใจ -  หมั่นไปดูแล และเยี่ยมเยียนอย่างสม่ำเสมอ พูดคุย ถามปัญหา ต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไร

ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน 1. ผู้เข้ารับการอบรมบางส่วนไม่สามารถอยู่ได้ตลอดการอบรมเนื่องจากภาระงานอื่น ๆ 2. ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติน้อยเกิน ประกอบกับผู้เข้ารับการอบรมมีจำนวนมาก อาจส่งผลให้ผู้อบรมฝึกปฏิบัติให้ไม่ทั่วถึง ไม่สามารถตอบข้อสงสัยของผู้เข้าร่วมอมรบได้อย่างครบถ้วน

ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดการอบรมให้ความรู้ต่อยอดในเรื่องสื่อสาร/การให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้กับอสม.
2. เพิ่มระยะเวลาการอบรมเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เกิดความมั่นใจในการนำแบบคัดกรองไปใช้มากขึ้น
3. ควรมีระบบการคัดกรองที่ชัดเจนในชุมชน และระบบการส่งต่อ 4. เนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจจำนวนมาก ควรแบ่งรุ่นการอบรมเพื่อให้ฝึกปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง 5. คัดเลือกแกนนำอสม.สุขภาพจิตขึ้นในชุมชน เพื่อเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น

กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”9 กรกฎาคม 2561
9
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย รพ. หาดใหญ่
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ความก้าวหน้าของโครงการ 2.รายละเอียดการจัดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.แนวทางการสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพจิตในพื้นที่ 2.ความก้าวหน้าในการประชาสัมพันธ์เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมสื่อสารและประชาสัมพันธ์29 มิถุนายน 2561
29
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย รพ. หาดใหญ่
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานเพื่อจัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 โปสเตอร์ ขนาด A3 จำนวน 30  แผ่นๆละ  30 บาท เป็นเงิน 900 บาท 2 ออกแบบ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท 3 ภาษี 7 % เป็นเงิน 105 บาท รวม 1,605 บาท

กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”22 มิถุนายน 2561
22
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย รพ. หาดใหญ่
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.สถานการณ์สุขภาพจิตในพื้นที่ 2.วัตถุประสงค์ และขั้นตอนการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.งบประมาณการดำเนินงาน
2.กำหนดวันจัดโครงการ
3.แนวทางการสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพจิตในพื้นที่ 4.การประชาสัมพันธ์เข้าร่วมโครงการ
5.ทีมวิทยากรในการจัดกิจกรรม