กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L4143-01-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอโนชา เลาหวิริยานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ นางเรววดี ขาวเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.552,101.324place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยภาคีเครือข่ายและชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญภาวะโลหิตจางยังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศที่กำลังพัฒนา สารอาหารที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกบินซึ่งทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลส์ในร่างกาย หญิงมีครรภ์ถ้าขาดธาตุเหล็กทำให้กำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ทั้งนี้ในช่วง 3เดือนแรกของการตั้งครรภ์ควรต้องมีระดับฮีโมโกลบินไม่ต่ำกว่า 11กรัมต่อเดซิลิตร และในช่วง 6 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ควรจะมีระดับไม่ต่ำกว่า 10 กรัมต่อเดซิลิตรภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ได้กำหนดโดยฮีโมโกลบินไม่ต่ำกว่า 11 กรัมต่อเดซิลิตร หรือฮีมาโตคริทไม่ต่ำกว่า 33 เปอร์เซ็นต์ จากรายงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา(ฐานข้อมูลสุขภาพ HDC) ย้อนหลัง 3 ปี(ปี2558- ปี2560) พบว่าภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงมีครรภ์ มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับปริมาณกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี ดังนี้ (ปี2558 เป้าหมาย 86 ราย ซีด 16 ราย คิดเป็นร้อยละ19.05ปี2559 เป้าหมาย 153 ราย ซีด 19 ราย คิดเป็นร้อยละ12.42และปี2560เป้าหมาย 212 ราย ซีด 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.79 )ซึ่งปกติในหญิงตั้งครรภ์ก็มักจะเหนื่อยง่ายอยู่แล้ว ต้องอุ้มลูกอุ้มรกที่อยู่ในท้อง เป็นน้ำหนักกว่าสิบกิโลกรัม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะง่าย และหากเป็นรุนแรง ตามรายงานมีอาการทางสายตา อาจมองภาพไม่เห็นได้ จากการที่เส้นประสาทตาบวม ในหญิงตั้งครรภ์หากเป็นปานกลางถึงรุนแรง การตั้งครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเกิดของทารก เช่น เด็กอาจมีการเจริญเติบโตช้ากว่าอายุครรภ์ อาจเกิดการแท้งบุตรได้ อาจทำให้น้ำหนักแรกคลอดของทารกต่ำกว่าปกติ และอาจทำให้เด็กเสียชีวิตตอนคลอดได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนจึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดในปีงบประมาณ2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด

 

0.00
2 2. เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงที่อาจจะเกิดในขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด

 

0.00
3 3. เพื่อให้หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 60

 

0.00
4 4.เพื่อให้ภาคีเครือข่ายและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด

 

0.00
5 5.เพื่อให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัม ลดลง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,400.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่1 อบรมให้ความรู้ 0 30,400.00 -

กลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด จำนวน 20คนและแม่อาสา.20คน 1.ประชุมชี้แจงโครงการ 2. อบรมให้ความรู้อันตรายของภาวะโลหิตจางพร้อมกับแนะนำการกินยาเสริมธาตุเหล็กอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและอาหารที่กระตุ้นนมแม่ ให้กับมารดาหลังคลอดและแม่อาสา 3. เยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดโดยอสม.และจนท. 4. จ่ายไข่แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด 5.จัดทำทะเบียนติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด โดยให้ อสม.ที่ผ่านการอบรมติดตาม 1 คนดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด 2 คน 6.เจ้าหน้าที่พร้อมด้วย อสม.ออกติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อเจาะเลือด ประเมินความเข้มข้นของเลือดทุกเดือนจนกว่าความเข้มข้นของเลือดจนกระทั่งผลความเข้มข้นของเลือดเป็นปกติ
กลุ่มเป้าหมายหลังคลอด จำนวน 20คน 1. ติดตามเยี่ยมบ้านมารดาและทารกหลังคลอดเพื่อประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด 6 เดือน 2. ติดตามทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัม มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เพื่อประเมินพฤติกรรมการเลี้ยงดูทารกแรกเกิด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกิน ร้อยละ 10
  2. หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 60
  3. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า2,500 กรัม ลดลงไม่เกินร้อยละ15
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 15:46 น.