โครงการสุขภาพดี อายุยืนด้วนศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ | โครงการสุขภาพดี อายุยืนด้วนศาสตร์การแพทย์แผนไทย |
รหัสโครงการ | 61-L5247-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพสต.คลองรำ |
วันที่อนุมัติ | 30 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2561 - 29 มิถุนายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฮานีส ยุนุ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.745,100.378place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2561 | 30 มิ.ย. 2561 | 10,300.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10,300.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 1.25 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ข้อมูลประชาชนในพื้นที่ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบว่า ร้อยละ 13.01 ของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 1.25 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย สาเหตุของการเจ็บป่วยมาจากการไม่ดูแลตนเอง ประชาชนส่วนใหญ่มักหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองต่อเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเองซึ่งการปฏิบัติตัวแบบนี้เป็นการรักษาตนเองที่ปลายเหตุไม่มีทางที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆได้ การจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพที่ต้นเหตุของปัญหาต่างหากที่จะสามารถรักษาร่างกายของมนุษย์ให้ดำรงชีวิตอยู่แบบปราศจากโรคภัยสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาทางสุขภาพมากที่สุด คือการดำรงชีวิตในปัจจุบันที่ไม่รู้จักความเป็นอยู่ที่พอเพียง ทำให้ร่างกายเกิดความเครียด วิตกกังวล การบริโภคอาหารที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพรวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาต่าง ๆที่ตามมาอีกมากมาย
หน่วยงานในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรำ และกลุ่มอาสาสมัคร (อสม.) ตำบลทุ่งหมอเป็นระบบกลไกหนึ่งที่เข้ามาดูแลสุขภาพของคนในชุมชนให้มีสุขภาพที่ดี ส่งเสริมทางด้านความรู้และการป้องกันโรค ในการลงพื้นที่คัดกรองโรค เยี่ยมบ้านในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ศาสตร์การแพทย์ทางเลือก หรือแพทย์แผนไทย เป็นวิธีการที่นำมาดูแลรักษาโรคโดยการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน ในการดำเนินโครงการสุขภาพดี อายุยืนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายและอาสาสมัคร (อสม.) ซึ่งจะเป็นแกนนำทางด้านสุขภาพ และเป็นต้นแบบในการเผยแพร่ความรู้ เพื่อนำไปสู่การลดโรคและการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างแกนนำต้นแบบด้านส่งเสริมสุขภาพ เกิดอาสาสมัครดูแลสุขภาพในชุมชน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 7 คน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 10,300.00 | 1 | 10,300.00 | 0.00 | |
10 - 31 พ.ค. 61 | อบรมให้ความรู้ | 0 | 10,300.00 | ✔ | 10,300.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 10,300.00 | 1 | 10,300.00 | 0.00 |
- จัดประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปราชญ์ชุมชน และตัวแทนชุมชน ในการจัดตั้งเป็นคณะทำงานในการขับเคลื่อนโครงการ การนำภูมิปัญญาด้านสมุนไพรมาใช้เพื่อการดูแลสุขภาพ
- สำรวจข้อมูลพืชสมุนไพรและการใช้สมุนไพรในพื้นที่ ม.6 ต.ทุ่งหมอ โดยอาสาสมัคร (อสม.)และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรำ 3.อบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพร การใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวัน และสาธิต ฝึกการทำเมนูเครื่องดื่มจากสมุนไพรในท้องถิ่น เช่นน้ำอัญชันตะไคร้มะนาว และสาธิตการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน 4.กิจกรรมเสริมทักษะอาสาสมัครดูแลสุขภาพ รวมกลุ่มออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนในชุมชนสัปดาห์ละ 1 วัน และที่ รพ.สต.สัปดาห์ละ 1 วัน ให้กับผู้ป่วยที่ที่มารับการรับบริการ 5.กิจกรรมจัดทำแปลงสาธิตพืชสมุนไพรใกล้ตัวอย่างน้อยหนึ่งจุด เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับคนในชุมชน และกลุ่มเป้าหมาย พร้อมจัดทำสื่อเผยแพร่ เช่น แผ่นพับ เป็นชุดความรู้ให้ประชาชน
- สรุปปิดโครงการ ประกอบด้วย ประชาชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ตัวแทนเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการกองทุนตำบลทุ่งหมอ อสม. และมีการคืนข้อมูลด้านกลุ่มผู้ป่วย หรือประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นกี่ครอบครัว อสม.(จิตอาสา) ที่เป็นต้นแบบนักสร้างเสริมสุขภาพในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ว่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนเพื่อลดโรคเรื้อรัง
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับการนำสมุนไพรที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ให้ถูกวิธี
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนได้ถูกวิธี
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำสมุนไพรมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 15:54 น.