โครงการบุหรี่ ภัยร้ายใกล้ตัวหมู่ที่ 5
ชื่อโครงการ | โครงการบุหรี่ ภัยร้ายใกล้ตัวหมู่ที่ 5 |
รหัสโครงการ | L5298-61-02-006 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่ม อสม.หมู่ที่ 5 |
วันที่อนุมัติ | 27 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2561 |
งบประมาณ | 14,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | น.ส.กอลีย๊ะฮะอุรา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.702,100.095place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละ ของการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน | 90.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ในทุกสังคมตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นไป จนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ พฤติกรรมของการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากวัยรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มเพื่อนซึ่งจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมของการเสพติดบุหรี่เป็นนิสัยและต่อเนื่องไปยังวัยผู้ใหญ่ ในปัจจุบันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นพบว่ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ขาดความตระหนักในพิษภัยของบุหรี่อีกทั้งวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยากรู้อยากลอง ต้องการเรียนรู้ในกลุ่มเพื่อนสนิท อีกทั้งยังต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม
บุหรี่จัดเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่ แม้ว่าจะทราบถึงพิษภัยจากการสูบบุหรี่เป็นอย่างดี องค์การอนามัยโลกพบว่าในปี 2542 ประชากรที่สูบบุหรี่ทั่วโลกประมาณ 1,100 ล้านคน ซึ่งคาดว่าในปี 2568 จำนวนผู้สูบบุหรี่จะเพิ่มเป็น 1,600 ล้านคน บุหรี่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคนต่อปี ซึ่งสถานการณ์ในประเทศไทย จากการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2547 พบว่า คนไทยสูบบุหรี่ประมาณ 11.3 ล้านคน เฉลี่ย 10.38 มวนต่อคนต่อวัน ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคจากการสูบบุหรี่ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งในบุหรี่ 1 มวน มีสารพิษมากกว่า 4,000 ชนิด และสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าควันบุหรี่เป็นอันตรายที่ร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เช่นเดียวกัน บุหรี่ไม่เพียงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สูบเพียงอย่างเดียว หากแต่ควันบุหรี่ในบรรยากาศ ยังคงเต็มไปด้วยสารพิษอันตรายต่าง ๆ ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายคนที่ไม่ได้สูบได้โดยง่าย และทำลายสุขภาพจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หายนะประเภทนี้กำลังเป็นที่น่าวิตกในสังคมซึ่งก็คือ “ควันบุหรี่มือสอง” นั่นเองในแต่ละปีมีคนไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งควันบุหรี่มือสองนั้นเกิดขึ้นจาก 2 แหล่ง คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมา และควันบุหรี่ที่ลอยจากปลาย
มวนบุหรี่ ทันทีที่บุหรี่ถูกจุดขึ้น การเผาไหม้ของมวนบุหรี่จะทำให้เกิดสารเคมีซึ่งเป็นสารพิษอันตราย ทั้งในควันที่สูดเข้าไปและควันที่ลอยอยู่ในอากาศ เป็นเหตุให้คนใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ไม่แพ้ผู้สูบนั่นเอง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่นิยมสูบบุหรี่ เพื่อให้เพื่อนหรือสังคมยอมรับนับเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชนในชุมชน อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ) |
90.00 | 90.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 14.00 | 0 | 0.00 | 14.00 | |
10 พ.ค. 61 | จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่และทักษะการปฏิเสธ | 0 | 14.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 14.00 | 0 | 0.00 | 14.00 |
1 ประชุม อสม.และผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 3 ประสานงานกับโรงเรียนบ้านวังพะเนียด เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่ 4 จัดหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสนับสนุนข้อมูลความรู้ 5 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่และทักษะการปฏิเสธ 6 สรุปผลการดำเนินงานและทำรายงาน
1 กลุ่มวัยเรียนมีความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของบุหรี่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงสามารถป้องกันจากโทษและพิษภัยของบุหรี่ 3 กลุ่มเป้าหมายนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง 4 กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการปฏิเสธบุหรี่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2561 10:31 น.