กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเยาวชนวัยเรียน วัยใส ห่วงใยสุขภาพ สู่อนาคตที่ดี ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2518-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ (กองสวัสดิการสังคม)
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 31 พฤษภาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 72,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซูซานา อาแวตาโละ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมาซือลัน อาเดะมะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.974,101.911place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเยาวชนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
240.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นปัญหา สำคัญของไทย เพราะการติดโรคทางเพศสัมพันธ์นั้นได้ชี้ให้เห็นถึง การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการ ติดเชื้อเอชไอวีได้ เมื่อจำแนกรายอายุของผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วพบว่า กลุ่มที่มีอายุน้อย 15–24 ปี ซึ่งเป็นเยาวชนและ อยู่ในวันเรียน พบในสัดส่วนที่มากที่สุด และมีสัดส่วนการติดป่วย ด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้นทุกปี แสดงให้เห็นว่า การติดโรคทางเพศสัมพันธ์นั้นมีแนวโน้มการป่วยในผู้ที่มีอายุน้อยลงไปทุกปีซึ่งสอดคล้องกับการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ เอชไอวีในกลุ่มนักเรียนพบว่า “สัดส่วนของนักเรียนชายและหญิงที่ เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกนั้นมีอายุเฉลี่ยน้อยลงทุกกลุ่ม นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนหญิงมีการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในระดับต่ำ ส่วนนักเรียนชายมีการใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้น ถึงแม้นักเรียนชายจะมีการใช้ถุงยางอนามัยมากขึ้น แต่ก็ยังมีอัตราการใช้ ถุงยางอนามัยที่ต่ำมาก ดังนั้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเยาวชนเรื่องเพศ เป็นมาตรการที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้ เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศอย่างถูกต้องเหมาะสมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มี ทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยยับยั้งการมีเพศ สัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ช่วยลดจำนวนคู่นอน และเพิ่มอัตราการใช้ ถุงยางอนามัยซึ่งจะนำไปสู่การลดการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100ได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ได้เสริมสร้างภูมิกันพฤติกรรมทางเพศ

1.00
2 เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมี ทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการ ดำรงชีวิต

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100มีพฤติกรรมปฏิเสธพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิตได้

1.00
3 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่ และเยาวชน เกี่ยวกับสถานการณ์ ปัญหา และผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น และให้ความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา ทักษะชีวิต การวางแผนครอบครัว การป้องกันโรคเอดส์และโรคทางเพศสัมพันธ์การป้องกันตัวเองในภาวะคับขันและวิธีการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์เรื่องความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย สิทธิในเนื้อตัวร่างกาย การเคารพสิทธิของผู้อื่น และหน้าที่และความรับผิดชอบตามวัยและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ต่อชุมชน และสังคม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เด็กและเยาวชน มีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องเพศ 2) เด็กและเยาวชน มีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต 3) เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย อันควรและการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2561 11:46 น.