กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
โครงการประชาชนห้วยกระทิงร่วมใจ ห่างไกลโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ 256116 ตุลาคม 2562
16
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ห้วยกระทิง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ๑. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตำบลห้วยกระทิง โดยมี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง เป็นที่ปรึกษาในการจัดโครงการ ๒. ชี้แจงโครงการแก่ผู้รับผิดชอบและสมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง ๓. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในตำบลห้วยกระทิง ๔. อาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ออกพื้นที่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนทราบพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย และร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง พร้อมแจกทรายอะเบท ๕ .อาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ออกพื้นที่ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้งค้นหายุงและสำรวจสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และในชุมชน ๖. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะในโรงเรียนและชุมชน ๗. พ่นหมอกควันในโรงเรียน มัสยิด และในชุมชน 6 เดือนครั้ง ๘. บูรณาการต่อเนื่องกับโครงการรณรงค์มาลาเรียของอบต.ห้วยกระทิง ซึ่งมีการพ่นสารเคมีติดผนังทั้งตำบลห้วยกระทิง ในวันที่ 9 – 10  เมษายน 2561 โดยการติดตามการระบาดระยะยาวของผู้ป่วยในตำบลห้วยกระทิง และลงพ่นสารเคมีตกค้างและพ่นหมอกควัน บ้านผู้ป่วยและบ้านละแวกเดียวกันทุกครั้งที่มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย และโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในตำบลห้วยกระทิง   ๙. ประเมินผลและสรุปผลโครงการ 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันโรคที่มียุง เป็นพาหะในโรงเรียนและชุมชน จำนวน 130 คน (รณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ) - เด็กนักเรียนโรงเรียนกูวาและแบหอ จำนวน 65 คน - ประชาชนในตำบลห้วยกระทิง จำนวน 65 คน .พ่นหมอกควันและพ่นสารเคมีติดผนังในโรงเรียน มัสยิด และในชุมชน   (ค้นหาลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน และในชุมชน)   - โรงเรียนบ้านกูวา   - โรงเรียนบ้านแบหอ   - ศพด.บ้านบารู   - มัสยิดในตำบลห้วยกระทิง   - พื้นที่ระบาดของโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในตำบลห้วยกระทิง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ         ๑. ประชาชน มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก         ๒. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลง         ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ตำบลห้วยกระทิงปลอดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก         ๔. ช่วยให้ให้ประชาชนตื่นตัวและเฝ้าระวังในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อที่นำโดยแมลง