กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 3 HOME FOR HEALTH
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 เมษายน 2561 - 30 ตุลาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2561
งบประมาณ 60,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผอ. รพ.สต.คลองแงะ
พี่เลี้ยงโครงการ ดวงใจอ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน บริบทของสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โครงสร้างประชากรไทยกำลังเข้า สู่สังคมผู้สูงอายุ พฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชน ที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases : NCDs) มากขึ้น โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นจากการ คมนาคมที่เชื่อมต่อทั้งโลก การบาดเจ็บจากการจราจร การโฆษณาสินค้ายาและเวชภัณฑ์ต่างๆทางสื่อออนไลน์ ที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันที่ผ่านมามีองค์กร ด้านสุขภาพเกิดขึ้นหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ตลอดจนภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในระบบสุขภาพเป้าหมาย (intention): ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน สานพลังเพื่อสร้างเอกภาพ โดยมีกลยุทธ์ คือ การสร้างการเป็นเจ้าของและมีส่วน ร่วมของทุกภาคส่วน สร้างการนำทุก ระดับ และการสื่อสารให้ทุกภาคส่วนมี ความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน สานพลัง (synergy strategy) คือ การ ประสานพลังให้เกิดผลอย่างทวีคูณ กลยุทธ์ คือ การประสานเชื่อมโยงคนทำให้เกิดความสำเร็จ ร่วมกัน (win-win situation) เข้าใจความต่าง ของแต่ละส่วน ดึงจุดเด่นมาใช้ร่วมกัน มี Talent management มี People strategy และนอกจาก นี้มีสองเรื่องที่สำคัญ คือ Communicationและ Participation เพื่อสื่อสารค่านิยมร่วม ขององค์กร การเพิ่มคุณค่า ต่อยอด (Value added) มีการบูรณาการ ปรับจากความไม่ สอดคล้อง (divergence) เป็นความสอดคล้อง กัน (convergence)สร้างวัฒนธรรมสุขภาพใหม่สำหรับ คนไทยทุกคนให้เชื่อว่าสุขภาพเป็นของ ประชาชนทุกคน ประชาชนต้องดูแล สุขภาพตนเองมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้สังคม ชุมชน (strengthening community) โดยการสร้างความรู้ เจตนคติและมี การปฏิบัติ (KAP) ที่ถูกต้อง สามารถ ดูแลตนเองได้เพิ่มขึ้น (self-care) เพิ่มความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการดูแลสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพประชาชน
การดูแลสุขภาพที่บ้าน Home visitคือ การเยี่ยมบ้าน สำรวจข้อมูลทางสุขภาพ ของครัวเรือน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยบุคลากรทางด้านสุขภาพ จากหน่วยบริการสาธารณสุขHome health careคือ แบบแผนการดูแล, ให้บริการที่เป็นทางการ, สม่ำเสมอโดยบุคลากรทางด้านสุขภาพหลากหลายสาขาวิชาต่อผู้ป่วยโดยตรงในบ้านของผู้ป่วยHome ward คือผู้ป่วยที่ต้องรักษาที่บ้านและใช้เตียงที่บ้านเป็นเตียงผู้ป่วยเหมือนในโรงพยาบาลทั่วไป แต่ผู้ป่วยยังได้รับการดูแลและรักษาพยาบาลเหมือนนอนที่โรงพยาบาลที่ตนเองรักษาอยู่ จากสภาพปัจจุบัน 2 ปีย้อนหลัง พบปัญหาการเข้าถึงบริการ ซึ่งมาจากสภาพครอบครัว สภาพการอยู่อาศัย และเศรษฐกิจ การเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย จากการทำงาน เจ้าหน้าที่ไม่พบเจ้าบานหรือผู้อยู่อาศัยในบ้าน ในช่วงวันเวลาราชการ ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลและ ทำให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับบริการไม่ได้รับบริการอย่างครบถ้วน จากสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่เอง ควรจัดให้มีบริการเชิงรุกเข้าไปในพื้นที่ ในชุมชน ในช่วงวันเวลานอกราชการซึ่งผลการบริการความครอบคลุม ที่ยังพบว่ามีปัญหาในงานดังนี้ เด็ก 0- 3 ปีได้รับทาฟลูออไรด์ปี 2559 ได้ 55 % ปี 2560 ได้ 78.85% ปี
เด็ก 3- 5 ปีตรวจช่องปาก ปี 2559 ได้ 67.96% ปี 2560 ได้ 57.82% ปี
เด็ก 0- 5 ปีได้รับวัคซีน DTP+OPVปี 2559 ได้ 56.92% ปี 2560 ได้ 90.77% ปี
เด็ก 0- 5 ปีได้รับวัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR)ปี 2559 ได้ 42.00% ปี 2560 ได้ 92.59% ปี
หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการดูแลก่อนคลอดและหลังคลอดที่ได้รับการยืนยัน ที่ได้รับการตรวจจริง ปี 2559 ได้ 80.43% ปี 2560 ได้ 88.46% ปี
ผู้ป่วยติดบ้าน ได้รับการดูแลโดย จนท.รพ.สต. จากการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 66.67 ติดเตียง ได้รับการดูแลโดย จนท.รพ.สต. จากการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100
เพื่อรองรับความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ให้ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน โดยการดำเนินงานแบบ 4 มิติ ร่วมกับ อสม. อสค. ผู้ดูแลสุขภาพ (Care giver) ภาคภาคีเครือข่าย(ผู้นำชุมชน ท้องถิ่น โรงเรียนฯ ) คือ การส่งเสริม การป้องกัน การดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อป้องกันโรค ดูแลผู้สูงอายุและเด็ก ลดกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในชุมชน ลดภาระการเกิดโรคใน 5 กลุ่มวัย ให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยประเมินความเจ็บป่วยเบื้องต้น และเก็บเป็น ฐานข้อมูลเพื่อลดโรคติดต่อเรื้อรังของคนชุมชนได้ ที่ยังคงยืนยันในทิศทางการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและต้องการเห็นประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะจึงจัดทำโครงการ 3 HOME FOR HEALTH (Home visit , Home health car, Home wardFOR HEALTH) เพื่อการสาธารณสุขในหมู่บ้านอย่างบูรณาการ เข้าใจ เข้าถึง นำสุขภาพที่ดี สร้างนำซ่อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อการบริการตรวจรักษาและการให้สุขศึกษาด้านสุขภาพในชุมชน

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมของประชาชนอสม. ผู้นำชุมชนทท้องถิ่นในกิจกรรมให้บริการรักษาฯตรวจสุขภาพ

0.00
2 2. เพื่อการทำงานเชิงรุก บริการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยทีมหมอครอบครัว - ครัวเรือน 2590 หลัง - เด็ก 0-5 ปี 60 คน - ผู้ป่วยติดเตียง 10 คน - ผู้สูงอายุติดบ้าน 55 คน - ผู้พิการ 60 คน - หญิงตั้งครรภ์ 25 คน
  1. การให้บริการเยี่ยมบ้าน สำรวจข้อมูลสุขภาพ ร้อยละ 60
  2. การเยี่ยมผู้ป่วย  และผู้ป่วยติดเตียง ร้อยละ 100
0.00
3 3. เพื่อถ่ายทอดแนวนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และรับความคิดเห็น ความต้องการในพื้นที่ด้านสุขภาพ - เรื่องโรคไข้เลือดออก - เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า - เรื่องโรคไม่ติดต่อ (NCD) - ปัญหาและความต้องการ ด้านสาธารณสุข ในพื้นที่
  1. มีผู้เข้ารับฟังการเสวนาและตอบแสดงความคิดเห็น อย่างน้อย 50 คนขึ้นไป/ครั้ง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,780.00 0 0.00
19 เม.ย. 61 ประชุมชี้แจง 0 1,500.00 -
19 เม.ย. 61 จัดกิจกรรม หน่วยเคลื่อนที่ 0 10,280.00 -

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงอสม /ผู้ดูแลผู้สูงอายุในระยะพึ่งพิง /ทีมเจ้าหน้าที่ รพ.สต. คลองแงะ ๒. ขออนุญาต ไปราชการ ออกนอกสถานบริการ ๓. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔. จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 5. ติดต่อสถานที่ จัดกลุ่มเสวนา เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน 6. ติดต่อเครื่องเสียง และเวที ขั้นดำเนินการ กลวิธีที่ ๑ออกหน่วยเคลื่อนที่ ในชุมชน กิจกรรมที่ ๑ จัดกิจกรรม หน่วยบริการเคลื่อนที่ ด้านการรักษา ทันตกรรม วัคซีน ตรวจพัฒนาการเด็ก
ตลอดวัน 4 วัน ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และ อสม./ผู้ดูแลผู้สูงอายุในระยะพึ่งพิง ๒. เตรียมเวชภัณฑ์และยา พร้อมอุปกรณ์ การตรวจรักษาทั่วไปและทันตกรรม ๓. จัดเตรียมเอกสารและวัสดุในการลงทะเบียน
ขั้นดำเนินการ ๑. ให้บริการ การรักษาพยาบาลทั่วไปและทันตกรรม คัดกรองภาวะโภชนาการ ๒. จัดนิทรรศการและกิจกรรมรณรงค์ (โรคติดต่อ,ไม่ติดต่อ,โฟม และอื่นๆ ) ๓. ประเมินความพึงพอใจ
กิจกรรมที่ ๒ จัดกิจกรรมเสวนา เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน ด้วยวิถีในชุมชน ช่วงค่ำ 2 วัน ขั้นเตรียมการ ๑. จัดเตรียมสถานที่ เวทีเสวนา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้. ๒. จัดเตรียมเอกสาร และสื่อ อุปกรณ์ ตัวอย่าง ทำเวทีเสวนา ๓. เชิญกลุ่มเป้าหมาย และเชิญวิทยากร ขั้นดำเนินการ ๑. เปิดเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง โรค และความต้องการของชาวบ้านต่องานสาธารณสุข - โรคเรื้องรัง กับ พฤติกรรมการอยู่ กิน และการไม่ใช้โฟม ใส่อาหารในชุมชน - การลดปัญหาสาธารณสุขปัจจุบัน ในชุมชน เรื่องโรคไข้เลือดออก และโรคพิษสุนัขบ้า - ความต้องการ ของคนในชุมชน ๒. สรุปผลการเรียนรู้ 3. ประเมินความพึงพอใจ กลวิธีที่ ๒ ส่งเสริมการเฝ้าระวังสุขภาพและภาวะแทรกซ้อน แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียง กิจกรรมที่ ๑ จัดกิจกรรม หลังเลิกงานและวันหยุด เพื่อคัดกรองภาวะโภชนาการ วัคซีน พัฒนาการเด็ก หญิงตั้งครรภ์การเยี่ยมบ้าน HOME VISIT ในชุมชน 22 วัน/11 ชุมชน เพื่อการเข้าถึงผู้รับบริการและข้อมูล ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และ อสม./ผู้ดูแลผู้สูงอายุในระยะพึ่งพิง และผู้นำชุมชน ๒.จัดเตรียมเอกสาร แฟ้มประวัติครอบครัว และวัสดุ ๓. เตรียมกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการในการจัดกิจกรรมรณรงค์ ขั้นดำเนินการ ๑. ลงประเมินภาวะโภชนาการเด็ก ฉีดวัคซีน ตรวจพัฒนาการเด็ก ติดตามหญิงตั้งครรภ์และลงเยี่ยมบ้าน
2. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในชุมชน กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรม หลังเลิกงานและวันหยุด การเยี่ยมบ้าน HOME HEALTH CARE ในชุมชน 22 วัน/11 ชุมชน เพื่อการเข้าถึงผู้ร่วมอยู่อาศัยร่วมบ้าน ในการร่วมดูแลและสร้างความเข้าใจ ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และ อสม./ผู้ดูแลผู้สูงอายุในระยะพึ่งพิง และผู้นำชุมชน ๒. จัดเตรียมเอกสาร ทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในหมู่บ้าน แฟ้มประวัติครอบครัว และวัสดุ ๓. เตรียมกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการในการจัดกิจกรรมรณรงค์ ขั้นดำเนินการ ๑. ลงเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในชุมชน กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรม หลังเลิกงานและวันหยุด การเยี่ยมบ้าน HOME WORD ในชุมชน 22 วัน/11 ชุมชน เพื่อการเข้าถึงผู้ร่วมอยู่อาศัยร่วมบ้าน ในการร่วมดูแลและสร้างความเข้าใจ ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และ อสม./ผู้ดูแลผู้สูงอายุในระยะพึ่งพิง และผู้นำชุมชน ๒. จัดเตรียมเอกสาร ทะเบียนผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชน แฟ้มประวัติครอบครัว และวัสดุ ๓. เตรียมกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการในการจัดกิจกรรมรณรงค์ ขั้นดำเนินการ ๑. ลงเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง 2. ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนได้รับการบริการสุขภาพเชิงรุก และเสริมสร้างความตระหนักเข้าใจ ถึงการป้องกันและการดูแลสุขภาพ ในการป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย และมีความสัมพันธ์ อันดีต่อการบริการแบบการมีส่วนร่วมของภาคี ในการดูแลสุขภาพของผู้ที่อยู่ในชุชนด้วยกัน และประชาชนใน 5 กลุ่มวัย ที่ขาดการติดตามและไม่ตระหนักในการดูแล ป้องกันการเจ็บป่วย ได้รับการติดตามและเข้าใจ ในการส่งเสริมป้องกันโรคมากขึ้น พร้อมทั้งได้รับข้อมูลความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ในชุมชน เพื่อนำไปวางแผนการบริการในครั้งต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2561 10:08 น.