โครงการวัยใส รู้ ใส่ใจ เพศศึกษา
ชื่อโครงการ | โครงการวัยใส รู้ ใส่ใจ เพศศึกษา |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพสต.คลองรำ |
วันที่อนุมัติ | 30 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 พฤษภาคม 2561 - 30 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 22,833.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสมพรศรี ชูโตชนะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวอารีย์สุวรรณชาตรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.745,100.378place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 99 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นประเด็นที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบถึงสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจของแม่และเด็ก โดยพบว่าอัตราการตั้งครรภ์ของแม่ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวนเพิ่มขึ้นจาก 112,509 คน หรือร้อยละ 49.7 ต่อหญิงอายุ 15-19 ปีพันคน ในปี 2549 เป็นจำนวน 119,828 หรือร้อยละ 51.1 ต่อหญิงอายุ 15-19 ปีพันคนในปี 2555 การแก้ไขปัญหาเรื่องท้องในวัยรุ่นเป็นประเด็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม ตั้งแต่การรณรงค์โดยมุ่งไปที่ตัววัยรุ่นเองให้ตระหนักถึงปัญหาและให้ความสำคัญของการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยปลอดภัยและรับผิดชอบ รวมถึงการเรียนการสอนในการเพิ่มทักษะชีวิตและเพศศึกษาแบบรอบด้าน เพื่อให้วัยรุ่นมีทักษะในการสื่อสาร การรู้จักปฏิเสธ ประเด็นเรื่องท้องในวัยรุ่นได้รับความสนใจจากคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น เช่น เหตุการณ์ 2002 ศพในปี 2553 ทำให้สังคมให้ความตื่นตัวต่อกรณีนี้อย่างมาก และเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันของสังคมในวงกว้าง จนนำไปสู่การเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายทำแท้ง อย่างไรก็ตามทางภาครัฐเห็นว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่จะแก้กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายอาญาเปิดโอกาสให้ทำแท้งได้อยู่แล้วใน 2 กรณี คือถ้าปล่อยให้อายุครรภ์มากขึ้นจะเป็นอันตรายต่อแม่ที่ตั้งครรภ์ และกรณีถูกข่มขืน รัฐเล็งเห็นว่าทางออกที่ดีที่สุดของปัญหานี้ก็คือทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันและมาตรการที่ดีที่สุด คือมาตรการป้องกัน เพราะการทำแท้งเป็น การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ที่ดีที่สุดคือการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อ HIV เป็นปัญหาที่พบบ่อยในสังคมไทยปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมการเลียนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม มาเป็นค่านิยมในสังคมวัยรุ่น โดยการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือมีความสัมพันธ์แบบชายรักชาย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ตามมา เช่นปัญหาการตั้งครรภ์ในระหว่างเรียน การทำแท้ง การทะเลาะวิวาท ตลอดจนคิดสั้นทำร้ายตนเอง เป็นต้น ดังนั้น วัยรุ่นเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตนเอง รวมถึงขาดทักษะชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง ในด้านต่าง ๆ เช่น ขับรถประมาท ยกพวกตีกัน ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้ พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุการตายของวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่ การทำแท้ง การคลอด การติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จึงมุ่งเน้นที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างหญิงชาย เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้อย่างสมดุลสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ เช่น พัฒนาการทางเพศตามวัย การรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศเดียวกันและต่างเพศ การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ จากตัวอย่างปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดแนวทางส่งเสริมสุขภาพแก่วัยรุ่นและเยาวชนให้เกิดสุขภาวะที่ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตในสังคม ป้องกันและลดปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น นำไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่วัยรุ่นและเยาวชนของชาติที่จะเติบโตเป็นอนาคตของประเทศชาติต่อไป จากข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรำ ย้อนหลัง ๓ ปี พบว่ามีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมากกว่าเกณฑ์ปกติร้อยละ ๑๐ ของมารดาคลอด ในปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ พบพบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ร้อยละ ๑๔.๔๕, ๑๒.๑๖, ๑๒.๙๖ ตามลำดับ ซึ่งยังพบว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองรำยังสูงกว่าเป้าหมายดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการวัยใส รู้ใส่ใจ เพศศึกษา ขึ้นเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
15 พ.ค. 61 - 30 ส.ค. 61 | อบรมให้ความรู้ | 99 | 22,833.00 | ✔ | 22,833.00 | |
รวม | 99 | 22,833.00 | 1 | 22,833.00 |
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
๑. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโรงเรียนในเขตรับผิดชอบทั้ง ๔ โรง
๒. ประชุมคณะทำงานและผู้ที่มีส่วนที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ครู ตัวแทนผู้ปกครองเพื่อวางแผนให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาและความรู้เรื่องโรคเอดส์ในโรงเรียน
๓.จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการ
๔.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา และความรู้เรื่องโรคเอดส์ในโรงเรียนจำนวน ๑ ครั้ง/เทอม และประกาศเสียงตามสายในโรงเรียน ๒ ครั้ง/เดือน (วันที่ ๑ , ๑๖ ของเดือน)
๕.จัดตั้งชมรม (เพื่อนวัยใส) ในโรงเรียน โรงเรียนละ ๑๒ คน ประกอบด้วยนักเรียน ๕ คน ตัวแทนผู้ปกครอง ๔ คน ตัวแทน อสม. ๒ คน ครู ๑ คน ซึ่งทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาปัญหาเรื่องเพศศึกษา
๖. ส่งเสริมกิจกรรมการเรียน การสอน ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ให้มีการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาและความรู้เรื่องโรคเอดส์
๗.สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการส่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.วัยรุ่นมีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
2.เสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการ ดำรงชีวิต และพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องเพศ
3.วัยรุ่นมีความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา อนามัยเจริญพันธ์ ได้ถูกต้อง
4. วัยรุ่นสมารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้ถูกต้องและสามารถให้คำแนะนำแก่ญาติ เพื่อนในโรงเรียน และชุมชนได้อย่างเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2561 11:30 น.