กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัย อย.น้อยในโรงเรียน
รหัสโครงการ 61-L5247-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.คลองรำ
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2561 - 30 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 16,782.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสรัญญา สามัญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.745,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 33 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า
ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไป เช่น บอแรกซ์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ และเนื่องจากเราทุกคนต้องกินอาหารทุกวันตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น การให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร จึงควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ ที่สุด คือในวัยเด็กที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วเพื่อที่จะปลูกฝังให้เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดไป ไม่ว่าเด็กจะเติบโตขึ้นเป็นเพียงผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการผลิตอาหารเองด้วยในอนาคตก็ตาม การตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร ความสะอาด รู้จักดูแล หยิบจับเก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้อง การรู้จักปกป้องตนเอง รู้จักการเลือก สังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน ข้อมูลจำนวนร้านค้าที่ขายอาหารในชุมชน 85 ร้าน โรงเรียน 1 ร้าน ร้านค้าแผงลอยที่ขายหลังเลิกเรียน เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมซอง 2 ร้าน ร้านค้าที่ขายอาหารปรุงสุกประเภทน้ำมัน เช่น ไก่ทอด/ลูกชิ้น 2 ร้าน และร้านค้าที่ยังใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องโฟมใส่อาหาร 2 ร้าน
ดังนั้น เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้มีโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนให้ อย. มีการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 61 อบรมให้ความรู้ 33 18,782.00 14,892.00
1 - 30 มิ.ย. 61 กิจกรรมออกตรวจร้าน 33 2,000.00 1,900.00
1 - 30 มิ.ย. 61 จัดตั้งชมรม อย.น้อยในโรงเรียน 33 0.00 0.00
รวม 99 20,782.00 3 16,792.00
  1. ประชุมคณะทำงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ตัวแทนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอสม. ครู ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคฯ เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างระบบการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชน
    1. จัดเก็บข้อมูลร้านค้าในโรงเรียนและชุมชน โดยการสำรวจในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 1 วัน มีการนำข้อมูลที่ได้รวบรวม วิเคราะห์ เพื่อเป็นข้อมูลในการนำเสนอต่อที่ประชุมในเวทีคืนข้อมูล
    2. จัดเวทีคืนข้อมูลจากการสำรวจ ในการประชุมคณะทำงาน 1 ครั้ง และคืนข้อมูลให้กับนักเรียนในกิจกรรมหน้าเสาธง และบอร์ดต่างๆ ในโรงเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    3. อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้เท่าทันการโฆษณา ไม่เป็นเหยื่อผู้ผลิต, ฉลาดปลอดภัย พบฉลากน่าส่งสับร้องเรียนเป็น, รู้สิทธิ ชีวิตสดใส, อาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ, รู้ทันการใช้ยา นำพาความสุข, เครื่องสำอางใช้อย่างไร จึงปลอดภัยกับร่างกาย, รู้ทันสารเคมี และวัตถุอันตราย ร่างกายปลอดภัย และน้ำมันทอดซ้ำ เสี่ยงมะเร็ง
    4. จัดตั้งชมรม อย.น้อยในโรงเรียน 32 คน และพี่เลี้ยง อย.น้อย ประกอบด้วย ตัวแทนครู 1 คน เจ้าหน้าที่ รพ.สต. 1 คน
    5. กิจกรรมออกตรวจร้านค้า ร้านอาหาร ร้านค้าแผงลอยในโรงเรียน และชุมชน โดย อย.น้อย และพี่เลี้ยง อย.น้อย จำนวน 33 คน โดยการลงพื้นที่ตรวจร้านค้า หากพบร้านค้าที่มีการจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์สุ่มเสี่ยงที่เป็นอันตราย จะมีการส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ปัญหา เช่น ท้องถิ่น ฯลฯ
  2. ประชุมและสรุปผลการดำเนินงานต่อคณะทำงานโครงการ ความสำเร็จที่เกิดขึ้น มีกลุ่ม อย.น้อยในโรงเรียน ร้านค้าใช้วัสดุอื่นทดแทนการใช้โฟม และมีการกำหนดนโยบาย และข้อตกลงในโรงเรียน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กมีความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยและสามารถเลือกซื้อ บริโภคอาหารที่เหมาะสมและมีความปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัวได้ ๒. เกิดต้นแบบร้านค้าอาหารปลอดภัยในโรงเรียน ชุมชน และร้านค้าปลอดโฟม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2561 13:02 น.