กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมว
รหัสโครงการ 2561-L5309-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและส่ิงแวดล้อม เทศบาลตำบลกำแพง
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เมษายน 2561 - 30 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 21,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมศักดิ์เหมรา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรครายงานสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2 เมษายน มีผู้เสียชีวิตจำนวน 7 ราย ในพื้นที่จังหวัด สุรินทร์ สงขลา ตรัง นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ บุรีรัมย์ และพัทลุง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกสุนัขกัดหรือข่วน แล้วไม่ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกัน ส่วนจำนวนหัวสัตว์ที่ให้ผลบวกต่อเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า พบในหัวสุนัข 537 หัว วัวหรือโค 32 หัว และ แมว 20 หัว รวมทั้งหมด 589 หัว จาก 44 จังหวัด ขณะที่พื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ สุรินทร์ นครราชสีมา สงขลา เชียงราย มุกดาหาร และนครศรีธรรมราช ในพื้นที่จังหวัดสตูล พบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในหัวสุนัข 1 ตัว ซึ่งเป็นสุนัขอยู่ที่ หมู่ที่ 16 ตำบลละงู อำเภอละงู โรคพิษสุนัขบ้าสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว โค กระบือ สุกร เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยจะพบมากในสุนัข และแมว จึงได้มีการดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 มีระยะเวลาดำเนินโครงการถึงปี 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย สำหรับการดำเนินโครงการแบ่งออกเป็น 8 ยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ มีกรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานหลัก การป้องกันและควบคุมโรคในคน มีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลัก กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินการให้ความรู้ข้อมูลกับประชาชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีบทบาทในการดำเนินงานป้องกันโรคในสุนัข เช่น การฉีดวัคซีน การจัดการที่พักพิงของสุนัขจรจัด การบูรณาการข้อมูลข่าวสารต่างๆ รวมทั้งการติดตามผลและการพัฒนาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งนี้เพื่อให้สามารถป้องกันและมีการจัดการที่ดีขึ้น ดังนั้น เทศบาลตำบลกำแพง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภาระหน้าที่ต้องเฝ้าระวังและควบคุมโรคที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น จึงได้ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอละงูและสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสตูล จัดทำโครงการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมว ประจำปี ๒๕๖๑(ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) เพื่อให้การควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง โดยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ เพื่อลดอัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และส่งผลให้ลดโอกาสการแพร่เชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าสู่คนต่อไป รวมทั้งเพื่อกระตุ้นการสร้างจิตสำนึกสาธารณะแก่ประชาชนให้มีความรับผิดชอบนำสัตว์เลี้ยงของตนไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคพิษสุนัขบ้ามากขึ้น ให้สามารถป้องกันตนเองและสัตว์เลี้ยง จากโรคพิษสุนัขบ้าส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงสุนัขรักถูกวิธี เป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนจากการถูกสุนัขที่สงสัยหรือเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สุนัขและแมวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

สุนัขและแมวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ได้ครอบคลุมร้อยละ 80 ในวันรณรงค์

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า และให้ความสำคัญในการป้องกันโรคในสัตว์และคนโดยการนำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า  และให้ความสำคัญในการป้องกันโรคในสัตว์และคนโดยการนำสุนัขไป    รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80    จากจำนวนสุนัขและแมวในเขตเทศบาล                         

0.00
3 เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างเทศบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขและแมวกัด

ไม่พบผู้ป่วยตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้า 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,450.00 0 0.00
10 เม.ย. 61 ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 0 2,250.00 -
11 - 23 เม.ย. 61 สำรวจข้อมูลสุนัขและแมวในเขตเทศบาลโดยอาสาสมัครสาธารณสุข 0 4,000.00 -
19 - 30 เม.ย. 61 ประชาสัมพันธ์โครงการฯ 0 5,500.00 -
15 พ.ค. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและแนวทางป้องกัน 0 8,200.00 -
31 พ.ค. 61 - 8 มิ.ย. 61 สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ 0 1,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สุนัขและแมวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ได้ครอบคลุมร้อยละ 80 ในวันรณรงค์
  2. ประชาชนให้ความสำคัญในการเลี้ยงและดูแลสุนัขและแมวอย่างถูกวิธีและเห็นความสำคัญในการนำสุนัขและแมวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
  3. เกิดความร่วมมือประสานงานกันในการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขและแมวจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2561 16:21 น.