กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนดูแลครรภ์ขั้นยอด ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านลางา โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2018
งบประมาณ 26,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธัญลักษณ์คงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปอย่างมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ จากวิเคราะห์ข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านลางา ๓ ปีย้อนหลัง ในปีงบประมาณ ๒๕๕๗,๒๕๕๘,๒๕๕๙ ตามลำดับ พบว่าจำนวนมารดาคลอด ๖๒ คน,๖๐ คน และ ๕๕ คน หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรก ≤ ๑๒ สัปดาห์(ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐) คิดเป็น๘๕.๕ %, ๘๖.๗ %,และ๘๕.๕ %หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์(ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐)คิดเป็น ๘๕.๕ %, ๘๕ %,และ ๘๑.๘%หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง (< ๑๐% ) คิดเป็น ๑๒.๙ %, ๖.๗ %,และ ๑๖.๔%น้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม (ไม่เกิน ๗%) คิดเป็น๔.๘ %,๑.๗ %,และ ๗.๔ %ตามลำดับศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านลางาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนางานแม่และเด็กอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่ายที่เข้มแข็งจึงได้จัดทำโครงการคนดูแลครรภ์ขั้นยอดลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ อสม. แกนนำแม่และเด็กมีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานอนามัยแม่และเด็ก

อสม. แกนนำแม่และเด็กมีความรู้ในงานอนามัยแม่และเด็กไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
2 ๒. เพื่อให้ อสม. แกนนำแม่และเด็กสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งครรภ์ปกติ,ครรภ์เสี่ยงและครรภ์เสี่ยงสูงในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ไม่มีทารก ๐-๖ วัน ตายปริกำเนิด -ไม่มีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์และภายใน ๔๕ วันหลังคลอด
0.00
3 ๓. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจและมีศักยภาพในการดูแลครรภ์ตนเอง
  • หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลครรภ์ตนเอง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐
0.00
4 ๔. เพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก
  • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรก ≤ ๑๒ สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
  • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐
  • หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง < ๑๐%
  • น้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ไม่เกิน ๗%
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,900.00 0 0.00
20 เม.ย. 61 - 31 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ ๑ ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 4,000.00 -
1 พ.ค. 61 - 30 เม.ย. 61 กิจกรรมที่ ๒ จัดอบรมฟื้นฟู อสม.แกนนำแม่และเด็กประจำพื้นที่ดำเนินการ 0 0.00 -
1 พ.ค. 61 - 31 ก.ค. 61 กิจกรรมที่ ๓ จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงพร้อมทั้งเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ ๒ ครั้ง/ปี 0 8,400.00 -
1 พ.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมที่ ๔ ติดตามประเมินหญิงตั้งครรภ์และเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม. แกนนำแม่และเด็ก 0 0.00 -
3 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ ๕ มอบของขวัญรางวัลให้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน/สรุปวิเคราะห์และประเมินผลโครงการ 0 7,500.00 -

ขั้นเตรียมการ ๑. สำรวจข้อมูลและจัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย ๒. ประชุมปรึกษาในการจัดทำโครงการร่วมกับ อสม.แกนนำแม่และเด็ก ๓. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๔. ประชุมชี้แจง/ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องและติดต่อวิทยากร ๕. จัดเตรียมวัสดุ,อุปกรณ์และสถานที่

ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ ๑ ประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรมที่ ๒ จัดอบรมฟื้นฟู อสม.แกนนำแม่และเด็กประจำพื้นที่ดำเนินการ กิจกรรมที่ ๓จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงพร้อมทั้งเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ ๒ ครั้ง/ปี กิจกรรมที่ ๔ติดตามประเมินหญิงตั้งครรภ์และเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม. แกนนำแม่และเด็ก กิจกรรมที่ ๕มอบของขวัญรางวัลให้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน/สรุปวิเคราะห์และประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม. แกนนำแม่และเด็กมีความรู้ความเข้าใจในงานอนามัยแม่และเด็กเพิ่มมากขึ้นและสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. อสม. แกนนำแม่และเด็กมีความเชี่ยวชาญในงานอนามัยแม่และเด็ก ๓. อสม. แกนนำแม่และเด็กสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ทั้งครรภ์ปกติ,ครรภ์เสี่ยงและครรภ์เสี่ยงสูงในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๔. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจและมีศักยภาพในการดูแลครรภ์ตนเอง ๕. ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ๖. ผ่านเกณฑ์มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2018 09:11 น.