กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการคลีนิกโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านลางา โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2018
งบประมาณ 23,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิภา กิติศักดิ์รณกรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 76 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังจัดเป็นปัญหาสาธารณสุข โดยพบว่า มากกว่าร้อยละ ๕๐ ของสาเหตุการตายมาจากกลุ่มโรคนี้ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย ซึ่งทำให้ผู้ป่วยทุพพลภาพ หรือถึงแก่ชีวิต อัมพฤกษ์ อัมพาต ตาบอด ไตวาย เท้าหรือขาพิการ เป็นต้น ประกอบกับการขาดความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองที่ถูกต้อง จะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเกิดความท้อถอย ไม่อยากรักษา ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเร็วขึ้น การที่ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การปฏิบัติตัวที่ดี และรับการรักษาอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกัน หรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้ และทำให้กลุ่มผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ยืนยาวอย่างมีความสุข ลดภาระต่อครอบครัวและสังคมต่อไป
จากข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านลางา ๓ ปีย้อนหลังพบว่า ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘, ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ ตามลำดับดังนี้ จำนวนผู้ป่วย ๖๙, ๗๓ และ ๘๔ คน กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน ๒๓๕, ๑๒๒ และ ๑๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๘๖, ๘.๐๔ และ ๙.๒๐ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๒๓, ๕๒๔ และ ๓๘๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๖๙, ๑๗.๓๔ และ๒๓.๙๘ ตามลำดับและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากผลการดำเนินงานในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา พบว่าอัตราการผิดนัดของผู้ป่วยเฉลี่ย ๑๐ คนต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ซึ่งจะพบอัตราการผิดนัดในผู้ป่วยเบาหวานเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานต้องไปทำงานตอนเช้า บางรายรอรับยาทันทีหลังเจาะระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้รับประทานอาหารระหว่างรอคิวรับยา บางรายต้องรอคิวรับยานาน เป็นต้น เหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้มารับยาในวันดังกล่าว ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านลางาเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้คิดรูปแบบในการพัฒนาระบบบริการขึ้น เพื่อให้ชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการแบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติของการเจ็บป่วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อพัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

๑. ระบบบริการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

0.00
2 ๒. เพื่อลดขั้นตอนในการรับบริการของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

๒. ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระบบบริการ มากกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
3 ๓.เพื่อให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระบบบริการ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,900.00 0 0.00
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ๓.๑ เจาะเลือดประจำปีในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๓.๒ เจาะเลือดปลายนิ้วแก่ผู้ป่วยเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 0 4,900.00 -
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ๗. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในโครงการ (จัดบอร์ด, ไวนิล, เอกสารแผ่นพับ ฯลฯ) 0 4,000.00 -
20 - 30 เม.ย. 61 กิจกรรมที่ ๑ จัดอบรม อสม.เชี่ยวชาญในการให้การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดและการวัดความดันโลหิตที่บ้าน 0 4,440.00 -
1 - 31 พ.ค. 61 กิจกรรมที่ ๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 10,560.00 -

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
๒. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๓. แต่งตั้งคณะทำงานตามระบบ ๔. จัดทำแผนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ ๑. จัดคลินิกให้บริการตรวจรักษาแบบครบวงจร (one stop service ) ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๒. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ๓. จัดอบรม อสม.เชี่ยวชาญในการให้การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดและการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ๒. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามมาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ๓. ผู้ป่วยรับบริการมีความพึงพอใจในระบบบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2018 09:31 น.