เฝ้าระวังความดันโลหิตสูง- เบาหวาน หมู่ที่ 1
ชื่อโครงการ | เฝ้าระวังความดันโลหิตสูง- เบาหวาน หมู่ที่ 1 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 |
วันที่อนุมัติ | 28 ธันวาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 5,322.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 |
พี่เลี้ยงโครงการ | รพ.สต.ปันแต |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.783,100.051place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 31 พ.ค. 2561 | 31 ส.ค. 2561 | 5,322.00 | |||
รวมงบประมาณ | 5,322.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป การดำรงชีวิตประจำวันที่รีบเร่ง การบริโภคที่ต่างจากเดิม การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารรสเค็มจัด อาหารมัน รวมทั้งมีการแข่งขันสูงขึ้นเพื่อความอยู่รอด ก่อให้เกิดความเครียดและยังขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมดังกล่าวมีความสัมพันธ์ชัดเจนต่อสุขภาพ การเกิดโรคต่างๆ การบาดเจ็บและการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ปัญหาสาธารณสุขของไทยจึงมีแนวโน้มเป็นโรคติดต่อมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรัง ไม่หายขาดต้องรักษาไปตลอดชีวิต สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อระบบหัวใจ สมอง ไต และดวงตา ซึ่งนับว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ในระยะแรกของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะไม่แสดงอาการใดๆ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง จึงไม่มีการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมในการดำรงชีวิต แต่การดำเนินของโรคยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อค่าความดันโลหิตสูงขึ้นเรื่อยๆ จะบั่นทอนอายุขัยของคนเหล่านี้ เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสองและโรคหัวใจถึงสามเท่าตัว การที่จะรู้ว่ามีภาวะความดันดลหิตสูงก็ต่อเมื่อวัดความดันโลหิตพบ เมื่อเริ่มมีอาการมึนงงศีรษะ นั่นแสดงว่ามีภาวะวามดันโลหิตสูงมานาน และได้บั่นทอนอายุลงไปมากแล้ว การเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเฝ้าระวังโรคเป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการติดตามอย่างต่อเนื่อง เป็นการสังเกตพินิจพิจารณาโรคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโรคและแนวโน้มความรุนแรงของโรค กลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อโรคและทราบถึงวิธีการควบคุมและป้องกันโรคได้ สำหรับการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงระดับหมู่บ้านได้กำหนดให้เป็นบทบาทของ อสม. หากการดำเนินงานเป็นไปอย่างเหมาะสมจะสามารถลดการเกิดโรครายใหม่ และผู้ป่วยได้รับการดูแลตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักต่อการดูแลสุขภาพตนเองเป็นการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นเมื่อมาวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลปันแต ตั้งแต่ปี 255๘ – 25๖๐ พบว่า ปี๒๕๕๘ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ ๓๙.๖๕ กลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ ๒๐.๘๒ ปี๒๕๕๙ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ ๓๕.๖๘ กลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ ๒๒.๘๑ ปี๒๕๖๐ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ ๒๓.๐๙ กลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ ๒๕.๙๑ จะเห็นได้ว่า มีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกปีซึ่งการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง ต้องมีการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชน อายุ ๑๕ ปี ขึ้นไป เพื่อจัดระดับความดันโลหิตและติดตามกลุ่มเสี่ยง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงต้องมีความรู้และเครื่องมือที่เพียงพอจึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และจัดซื้อเครื่องวัดความดันในการดำเนินการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงในหมู่บ้าน ต่อไป อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลปันแต ได้เล็งเห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยและเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน หมู่ที่ ๑
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงเบื้องต้น อย่างน้อย ๑ ครั้ง ต่อปี 1 ร้อยละ ๙๐ ของประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง |
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ร้อยละ ๑๐ ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน |
0.00 | |
3 | ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 5,322.00 | 0 | 0.00 | 5,322.00 | |
20 เม.ย. 61 | ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป | 0 | 5,322.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 5,322.00 | 0 | 0.00 | 5,322.00 |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2561 10:06 น.