กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลังชุมชน สร้างสังคม ห่างไกลไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L2988-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 เมษายน 2561 - 31 พฤษภาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 26,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัซมีเส็นและ
พี่เลี้ยงโครงการ นายนิอิมรอนดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7614 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ
ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุข และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมความพร้อมในการควบคุม และการกำจัดลูกน้ำยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป
จากข้อมูลปี 2558-2560 พบว่า ในพื้นที่เขตตำบลปากู มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 17, 12, 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 217.39, 166.66, 62.44 ต่อแสนประชากรตามลำดับ จากข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง และยังไม่พบรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งในปี 2561 อาจมีแนวโน้มการระบาดของโรคเพิ่มขึ้น หากไม่มีการควบคุมและไม่มีการดำเนินการใดๆ อาจเกิดการสูญเสียถึงแก่ชีวิตได้ ชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชนและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรค โดยเน้นให้ประชาชนในพื้นที่เห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้น และชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู จึงได้จัดทำโครงการ “พลังชุมชน สร้างสังคม ห่างไกลไข้เลือดออก” ขึ้น โดยมีการคิดค้นนวัตกรรมทางการป้องกันไข้เลือดออกร่วมกับชุมชน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ การแพร่ระบาด “โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาด เพื่อลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนทราบถึงสาเหตุการเกิดโรคและเป็นการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 2.เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายตลอดจนสามารถดูแลตนเองให้ปลอดจากโรคไข้เลือดออก 3.เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเพื่อลดการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 4. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ         1. ประชุมประสานการดำเนินงานระหว่าง ผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข         2. จัดตั้งคณะทำงานระดับภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานสุขภาพในพื้นที่
        3. ขอรับการสนับสนุนสื่อต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ไข้เลือดออก จากโรงพยาบาลทุ่งยางแดง และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ขั้นดำเนินการ     1. อบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน จำนวน 120 คน ประกอบด้วย   1.1 อสม.  จำนวน  7 คน   1.2 ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนา  จำนวน  8 คน   1.3 นักเรียน  จำนวน 10 คน   1.4 ประชาชน        จำนวน 93 คน   1.5 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข        จำนวน  2 คน     2. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ตำบลปากู (บ้าน โรงเรียน มัสยิด และหน่วยงานราชการอื่นๆ)   2.1 ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก   2.2 แจกทรายกำจัดลูกน้ำให้กับประชาชน   2.3 ร่วมมือคว่ำกะลาและกำจัดขยะบริเวณบ้านเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
          2.4 ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น         2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค         3. สามารถเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2561 14:12 น.