กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดพุงลดโรค (คลินิก DPAC)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปันแต
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทัศนีย์ คงเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ปันแต
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.783,100.051place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2561 31 ส.ค. 2561 24,800.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 24,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ได้แก่ข้อเข่าเสื่อมภาวะอัมพฤกษ์อัมพาตความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจเบาหวานไขมันในเลือดสูงมะเร็งลำไส้โรคซึมเศร้าเป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง ๒๐–๗๔ ปีกว่าครึ่งหนึ่ง มีผลมาจากความอ้วนซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ ๑๗ ล้านคน และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าในปีพ.ศ.๒๕๖๕ ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวประมาณ ๒๕ ล้านคน ซึ่งจะมีประชากรในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาประมาณ ๑๙ ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๖ ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศนอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ๒-๘ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วนถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก๑๐ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และในการสำรวจสุขภาพประชากรไทยปีล่าสุด พ.ศ.๒๕๔๗ พบว่า ประชากรในประเทศไทยที่อายุมากกว่า ๓๕ ปี มีเส้นรอบพุงเกินกำหนดประมาณ ๙.๓ ล้านคน โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คือ เพศหญิงอ้วนลงพุง ๕๒% ผู้ชาย ๒๒% และในรอบ ๗ ปีที่ผ่านมา มีคนไทยเป็นโรคอ้วนลงพุงเพิ่มเป็น ๑.๓ เท่า ในเขตเมืองเพิ่มถึง ๔๕% ในชนบท ๓๔% และคนที่มีรอบเอวเพิ่มขึ้นทุก ๕ เซนติเมตร จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่ม ๓-๕ เท่า จะเห็นได้ว่าเอวใหญ่ขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเจ็บป่วยและตายเร็วขึ้นเท่านั้น จากการสำรวจสภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๐ พบว่าคนไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละ ๒๔ และเพศหญิงร้อยละ ๖๐ โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชาย ถึง ๒.๕ เท่าตัว ภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธุ์ และไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง ประเทศไทยเรียกว่า โรควิถีชีวิตคือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรคแต่เกิดมาจากสาเหตุการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่ที่มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงไปจากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด ติดอันดับ ๑ ใน ๓ สาเหตุหลักของการป่วยและตายของคนไทย ในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ๓-๑๗ เท่าตัว ข้อมูลใน พ.ศ.๒๕๔๖ พบว่า มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้สูงถึง ๔๐,๐๙๒ ราย หรือชั่วโมงละ ๕ คนที่สำคัญคือผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอายุเฉลี่ยน้อยลงกว่าในอดีต
ซึ่งสถานการณ์โรคอ้วนหรือค่ารอบเอวเกิน ในตำบลปันแต ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป พบว่ามีค่ารอบเอวเกินมาตรฐาน (ชาย มากกว่า 90 ซม. / หญิง มากกว่า 80 ซม.) คิดเป็นร้อยละ 71.85 จากสถานการณ์ดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการลดพุงลดโรคเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญการส่งเสริมสุขภาพสนับสนุน 2/ให้มีการ... -2- ให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกันส่งผลให้ประชาชนในตำบลปันแต มีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ดำเนินการดำเนินงานคลินิกไร้พุงในปี 2560 ผ่านการประเมินระดับจังหวัดและจะพัฒนาคลินิกไร้พุงให้ผ่านการประเมินระดับเขตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พัฒนาคลินิกไร้พุงให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
2 ลดอัตราป่วยรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,800.00 0 0.00
20 เม.ย. 61 อบรมให้ความรู้ 0 24,800.00 -

4.1 จัดทำแผนปฏิบัติงาน โครงการคลินิกไร้พุง 4.2 ประชาสัมพันธ์ทางสื่อทุกชนิด ทุกรูปแบบตามความเหมาะสม 4.3พัฒนาคลินิกไร้พุงเพื่อให้บริการแก่ กลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังนี้ • ซักประวัติ • ให้บริการตรวจวิเคราะห์สุขภาพ •การให้บริการด้านสุขภาพ •การให้คำปรึกษา •การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ • การให้สุขศึกษารายบุคคล รายกลุ่มการจัดการบรรยายพิเศษ •การจัดนิทรรศการการเผยแพร่ความรู้ด้วยสื่อ •การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง •มอบสมุดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้รับบริการ •นัดและติดตามประเมินผล ๔.4ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง ๒วัน
4.5 พัฒนาคลินิกไร้พุงตามเกณฑ์มาตรฐาน7 องค์ประกอบ
4.6ส่งต่อผู้รับบริการในรายที่มีปัญหาไปยังโรงพยาบาลตามขั้นตอนตามระบบการส่งต่อ เพื่อดูแลรักษา และให้คำปรึกษาที่เหมาะสม
4.7 ประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ 4.8 รายงานผลการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานปัญหา และอุปสรรค งบประมาณจากเงินบำรุงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต รับสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต จำนวน 24,800 บาท
(สองหมื่นสี่พันแปดร้อยบาทถ้วน ) 9.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัดการอบรม
จำนวน 55คน x 2 มื้อ x 25บาทเป็นเงิน 2,750 บาท 9.2 ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัดการอบรม
จำนวน55 คน x 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท 9.3ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ6 ชั่วโมง ๆ ละ 600บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
9.4วัสดุอุปกรณ์ในคลินิก DPAC 9.41Roll Up อาหารตามโซนสีขนาด 60 ซม. x 160 ซม.
จำนวน 1 ป้าย x 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 9.4.2 Roll Up การออกกำลังกายขนาด 60 ซม. x 160 ซม.
จำนวน 1 ป้าย x 1,000บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 9.4.3Roll Upโรคความดันโลหิตสูง ขนาด 60 ซม. x 160 ซม.
จำนวน 1 ป้าย x 1,000บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 9.4.4Roll Upโรคเบาหวาน ขนาด 60 ซม. x 160 ซม.
จำนวน 1 ป้าย x 1,000บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 9.4.5 ที่วัดส่วนสูง (บอกค่าน้ำหนักมาตรฐานและอายุ )
จำนวน 1 ชิ้น x1,800 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท 9.4.6 โมเดลผลไม้/ ผักจำลองจำนวน 40 ชิ้นราคา 4,900 บาท 9.4.8แฟ้มประวัติผู้เข้าร่วมโครงการ DPACจำนวน 20 แฟ้ม x 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท รวมเป็นเงิน12,100 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 24,800 บาท (สองหมื่นสี่พันแปดร้อยบาทถ้วน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1ประชาชนได้รับบริการจากคลินิก DPAC ที่มีมาตรฐาน 2ลดอัตราป่วยในกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2561 15:21 น.