กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2988-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปากู
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 49,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปากู
พี่เลี้ยงโครงการ นายนิอิมรอนดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก  ปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของสตรีไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศเกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบ ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า การรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๖๐ ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตาย จากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่ง เรืองเลิศ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกว่า เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดในผู้หญิงไทยในช่วงอายุ ๒๕-๖๕ ปี โดยมีอัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ ๑๐,๐๐๐ ราย และมีอัตราผู้เสียชีวิต ๕,๐๐๐ ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๕๐ ซึ่งหมายความว่า ในแต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกถึง ๑๔ ราย ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบว่าการสามารถตรวจวินิจฉัยและการให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือตรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมและทันเหตุการณ์ ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวพร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก ทำให้สามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจและสืบค้นได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติ และการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป การตรวจค้นหาความผิดปกติของปากมดลูกโดยการทำPap smear จึงมีประโยชน์ เพราะได้มีการพิสูจน์อย่างแน่ชัดแล้วว่าสามารถตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก่อนที่จะเป็นโรคมะเร็งทำให้สามารถรักษาให้หายได้(การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก: สถาบันมะเร็งแห่งชาติฯ) ร้อยละ ๒๐ ของกลุ่มสตรีที่มีอายุระหว่าง ๓๐ - ๖๐ ปี ต้องได้รับการตรวจหามะเร็งปากมดลูก จากการปฏิบัติงานสาธารณสุขทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟู เจ้าหน้าที่สุขภาพชุมชนตำบลมายอ พบว่าที่ผ่านมากลุ่มเป้าหมายไม่ค่อยมารับบริการทั้งนี้เพราะสตรีเป็นเพศที่มีความละอาย มีความอดทนสูงนี้ก็อาจจะเป็นทั้งคุณและโทษในคราวเดียวกันได้ เช่น เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของอวัยวะเพศแล้วไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอกใคร ถึงเจ็บปวดก็มีความอดทน สิ่งนี้หากเขาเป็นโรคร้ายก็อาจสายเกินแก้ที่ไม่สามารถช่วยได้ในภายหลังและประกอบกับได้พบเห็นผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้รับความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยดารัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกในการนี้ถ้ากลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์มารับการตรวจเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกอย่าง

สม่ำเสมอ สามารถค้นหาโรคมะเร็งในมะเร็งในระยะเริ่มต้น สามารถให้การช่วยเหลือ ดูแล รักษาได้ ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องทุกข์ทรมานมากและสามารถมีอายุที่ยืนยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ สนใจเข้าตรวจมะเร็งปากมดลูก 2. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองได้รับการวินิจฉัย บำบัดรักษาอย่าง ทันท่วงทีและต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ของสตรีและกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและกลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจ Pap smear ได้อย่างครอบคลุม

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ ๑ จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.โดยให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องมะเร็งปากมดลูกและการตรวจคัดกรองที่ถูกต้อง กิจกรรมที่ ๒ อสม.ค้นหากลุ่มเป้าหมายสตรี ๓๐ - ๖๐ ปี โดยจัดการทำสารเสวนาแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในปี ๒๕61 จำนวน 80 คน เพื่อเข้ารับการอบรมให้ความรู้และเข้ารับการตรวจคัดกรอง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีและกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและกลุ่มเป้าหมายมารับบริการตรวจ Pap smear ได้อย่างครอบคลุม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2561 17:25 น.