กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เสริมสร้างสุขภาวะเด็กไทยมุสลิม ยุค 4.0
รหัสโครงการ 61-L2988-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลปากู
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 พฤษภาคม 2561 - 10 พฤษภาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 11 มิถุนายน 2561
งบประมาณ 22,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สภาเด็กและเยาวชนตำบลปากู
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาซียะห์ ยูโซะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยเรียนและเยาวชน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในปีเด็กสากล พุทธศักราช ๒๕๒๒ มีใจความว่า “เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่ง ทุกอย่างจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธำรงรักษา ความสุขสงบของประชากรโลก” การลงทุนกับเด็กจึงคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนใดๆทั้งสิ้น เพราะเด็กที่มีคุณภาพจะนำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพก็ต้องมาจากวัยเด็กที่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง เหมาะสมด้วยเช่นกัน
ในสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อันประกอบด้วยปัตตานี ยะลา นราธิวาส เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษอันเนื่องมาจากบริบทสภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ทั้งนี้คนในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นคนในพื้นที่ดังกล่าวจึงดำรงชีวิตในวัฒนธรรมมลายู สิ่งที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ ความเป็นท้องถิ่นของชาวไทยภาคใต้ตอนล่างปรากฏให้เห็นทั้งด้านศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ตลอดจนการศึกษาของชมชุนซึ่งดำรงอยู่ท่ามกลางบริบทของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอดีตที่ยาวนานและลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมมลายูท้องถิ่น       แต่ด้วยสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เด็กวัยเรียนและเยาวชนได้รับค่านิยมและวัฒนธรรมตะวันตก เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตอย่างมากมาย ทั้งด้านชีวิตการเป็นอยู่และด้านการบริโภคอาหาร ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน เกิดการเลียนแบบนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ต่อตัวเด็ก อีกทั้งผู้ปกครองเด็กไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนบุตรหลานอย่างใกล้ชิดเหมือนแต่ก่อน เพราะสภาพทางเศรษฐกิจที่บีบรัด ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก จากการสำรวจสุขภาพอนามัยเด็กวัยเรียนในปี ๒๕๕๕ โดยศูนย์อนามัยที่ ๑-๑๒ พบว่าเด็กวัยเรียนมีน้ำหนักค่อนข้างมากและมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ ๑๘.๔ ท้วม เริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ ๑๗.๗ ผอมและค่อนข้างผอมร้อยละ ๘.๕ เตี้ยและค่อนข้างเตี้ยร้อยละ ๗.๓ นักเรียนประถมศึกษาเป็นเหาร้อยละ ๑๘.๑ นักเรียนมัธยมศึกษาเป็นเหาร้อยละ ๒.๔ นักเรียนประถมศึกษามีฟันแท้ผุร้อยละ ๕๔.๓ ค่าเฉลี่ยฟันแท้ผุถอนอุด ๑.๖๖ ซี่ต่อคน และมีเหงือกปกติร้อยละ ๔๗.๑ โดยนักเรียนประถมศึกษาปีที่ ๖ มีฟันผุร้อยละ ๖๑.๕ ค่าเฉลี่ยฟันแท้ผุอุดถอน ๑.๘๒ ซี่ต่อคน เด็กวัยเรียนกินอาหารเช้า กลางวัน และเย็นทุกวันร้อยละ ๖๒.๐, ๗๗.๔, ๗๕.๔ กินอาหารว่างและก่อนนอนทุกวันร้อยละ ๒๘.๘ และ ๑๓.๓ และในหนึ่งสัปดาห์เด็กวัยเรียนบริโภคอาหาร ๔ วันขึ้นไปมากที่สุดคือ ดื่มเครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลมร้อยละ ๕๒.๒ กินขนมกรุบกรอบ อาหารผัด ทอด และเนื้อสัตว์ติดมันร้อยละ ๔๗.๖, ๔๑.๒, ๒๘.๕ เติมน้ำตาลในอาหารปรุงสุกทุกวันร้อยละ ๔๓.๗ การแปรงฟันพบเด็กประถมศึกษาแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนทุกวันและแปรงฟันก่อนนอนทุกวันร้อยละ ๕๑.๗ และ ๕๘.๔ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่าการทานอาหารของเด็กในปัจจุบันไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการแต่อย่างใดแต่เป็นการทานอาหารที่แสนจะหาได้สะดวก รวดเร็ว และหาทานได้ง่าย ซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน ฟันผุ เป็นต้น
ดังนั้นสภาเด็กและเยาวชนตำบลปากู จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาวะในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน ทั้งทางด้านสุขภาวะทางกาย จิตใจ ปัญญาและสังคม จึงได้จัดโครงการเสริมสร้างสุขภาวะเด็กไทยมุสลิม ยุค 4.0” นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 เขียนโครงการและเสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากูเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2 ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ จำนวน 70 คน (7 หมู่บ้านๆละ 10 คน) 3 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการสนับสนุนวิทยากร และสถานที่อบรม
4 จัดตั้งและประชุมคณะกรรมการในการดำเนินโครงการฯ
5 ดำเนินการอบรมให้ความรู้
6 สรุปและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนในเขตตำบลปากู ตระหนัก และเห็นคุณค่าของการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และตามแบบอย่างของท่านนบี ซล. (อาหารที่ฮาลาลัน ต๊อยญีบัน “ حلال طيبا ” ตามบทบัญญัติของอิสลาม
  2. เด็กและเยาวชนในเขตตำบลปากูมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาวะของตนเองแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2561 00:40 น.