กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ตำบลปากู
รหัสโครงการ 61-L2988-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 33,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัซหม๊ะ มาปะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายนิอิมรอน ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ ซึ่งได้ระบุไว้ในแผนงานอาหารและโภชนาการแห่งชาติมาตั้งแต่ฉบับแรก กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามที่จะดำเนินการควบคุมป้องกันมาตลอดโดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ในหญิงวัยเจริญพันธุ์สารอาหารที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกบินซึ่งทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลในร่างกาย หญิงมีครรภ์ถ้าขาดธาตุเหล็กทำให้กำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ส่วนหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ ๑๒.๕-๑๕มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ ๐.๔-๐.๕มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ ๐.๕-๑.๐มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะ ผิวหนัง บาดแผล และการบริจาคโลหิต หากหญิงวัยเจริญพันธุ์ขาดธาตุเหล็กในระยะก่อนตั้งครรภ์ จะส่งผลเมื่อตั้งครรภ์ ต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์ มีพัฒนาการด้านร่างกายล่าช้า และสติปัญญาต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ       ปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู ข้อมูลปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐ มีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๗๓,๒๑๖๓ ตามลำดับ (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๑๐) ได้รับการตรวจเลือดติดตามความเข้มข้นของเลือดครั้งที่ 2 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ๒๕.๔๓ , ๒๖.๒๑ (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๑๐) และหญิงตั้งครรภ์จะได้รับการตรวจความเข้มข้นของเลือดครั้งที่ ๓ ก่อนคลอด พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง๕.๔๓ (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๕ ) ซึ่งถือว่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด จึงได้หาวิธีการเพื่อปรับปรุงการให้บริการในงานอนามัยและเด็ก เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และเป็นการพัฒนาการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็ก การปรับรูปแบบและกลวิธีการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการตามความเหมาะสม ของมาตรฐานการบริการสาธารณสุขและด้านวัฒนธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณภาพการบริการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน       แนวทางการแก้ปัญหาอันดับแรกที่จะลดพฤติกรรมเสี่ยงปัญหาซีดในหญิงตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์คือ มีการรณรงค์ฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองได้เร็ว มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกกต้อง สามารถสังเกตอาการผิดปกติต่างๆได้และสามารถดูแลตนเองได้เมื่อมีความเสี่ยง ซึ่งมีผลในการดำเนินชีวิตได้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ปรับวิถีชีวิตและดูแลตนเองให้ดำเนินไปได้ภายใต้ความผันแปรของช่วงพัฒนาการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากู ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด ตลอดจนหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ เพื่อคุณภาพชีวิตของมารดาที่มีความสำคัญต่อทารกที่จะเป็นเยาวชนของชาติโดยมุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยตนเอง อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑.วิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและศึกษาสภาพปัญหาในการดำเนินงาน ๒.จัดทำแผนในการดำเนินงานแก้ไข ๓.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๔.ดำเนินงานตามโครงการ ๕.ควบคุมกำกับงานตามโครงการ ๖.ประเมินผล ขั้นดำเนินการ ๑. ประชาสัมพันธ์โครงการ ๒. มีการประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ประจำ รพสต.ปากู ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงโครงการวางแผนดำเนินการ ค้นหาและสำรวจ กลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ ๓. จัดตั้งทีม อสม.แกนนำ 2๐ คน มีหน้าที่ในการสำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการให้ความรู้ ติดตามเยี่ยมบ้าน กระตุ้นชี้แนะ ให้กำลังใจ ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ๔. เตรียมจัดทำเอกสารและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ (สื่อต่างๆที่จำเป็น เช่น นวัตกรรมภาพนิ่ง “สื่อให้ความรู้ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข” มีแผ่นพับ เรื่องการปฏิบัติตัวและอาหารของหญิงตั้งครรภ์) ๕. ประชาสัมพันธ์การฝากครรภ์เร็วและการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก สำหรับหญิงวัยเจริญพันธ์ที่วางแผนจะตั้งครรภ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ก่อนอายุครรภ์ 3 เดือน
๖. ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความสนใจ และนัดหมายเข้าร่วมกิจกรรม
๗. แกนนำอสม.และจนท.มีการติดตามค่าความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงซีดและมีภาวะซีดทุก๒ สัปดาห์ ๘. มีการบันทึกติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ ๙. มีการสาธิตอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และอาหารที่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น         2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค         3. สามารถเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2561 15:53 น.