กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวิถีชุมชนน่าอยู่ ฟื้นฟูแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปันแต
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทัศนีย์ คงเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.783,100.051place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 1 พ.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 16,600.00
รวมงบประมาณ 16,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพเป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในการส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติสุขภาพเข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง การที่ประชาชนจะหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเองแล้วเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติตัวแบบนี้เป็นการรักษาตนเองที่ปลายเหตุไม่มีทางที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆได้ การจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพที่ต้นเหตุของปัญหาต่างหากที่จะสามารถรักษาร่างกายของมนุษย์ให้ดำรงชีวิตอยู่แบบปราศจากโรคภัย สาเหตุที่ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาทางสุขภาพมากที่สุด คือการดำรงชีวิตในปัจจุบันที่ไม่รู้จักความเป็นอยู่ที่พอเพียง ทำให้ร่างการเกิดความเครียด วิตกกังวล การบริโภคอาหารที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาต่าง ๆที่ตามมาอีกมากมาย การหันกลับมาสนใจการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ การพึ่งพาธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฏีการแพทย์แผนไทยที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตมนุษย์ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ประชาชนและชุมชนให้สามารถดูแลตัวเองได้จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคที่แท้จริง ตามที่ จังหวัดพัทลุง ได้จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การส่งเสริมการเข้าถึงการบริการ การสร้างมูลค่าและมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพร การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยใน และการสร้างระบบชุมชนเข้มแข็งด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์แผนไทย โดยกำหนดให้มีการดำเนินงานหมู่บ้านชุมชนต้นแบบด้านแพทย์แผนไทย ในปีงบประมาณ 2561 ตำบลละ 1 หมู่บ้าน ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 ได้มีการดำเนินงาน หมู่บ้านต้นแบบด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยมีผลการดำเนินงานต่างๆ เช่น ให้ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านใสหลวงได้ปลูกสมุนไพรเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรคเบื้องต้นอย่างน้อย 10 ชนิด จำนวน 117 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 77 การให้บริการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 27 ราย การให้บริการแพทย์แผนไทยทุกกลุ่มวัย การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้สูงอายุ และหญิงหลังคลอด เพื่อเข้าให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการแพทย์แผนไทยมากขึ้น และมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และมีผลการดำเนินงานที่ดี และเผยแพร่ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นแพทย์แผนไทยไปใช้ในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพของคนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการต่อเนื่องขึ้นในปีงบประมาณ 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้การดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยนอกได้รับบริการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานเป้าหมายร้อยละ 50

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,600.00 4 16,600.00
19 พ.ค. 61 - 25 ก.ค. 61 2.กิจกรรมพอกเข่าให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า 0 8,270.00 8,270.00
28 พ.ค. 61 - 28 เม.ย. 61 1. กิจกรรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรรมสมาธิบำบัด SKT และมณีเวช ตามกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มวัย 0 4,550.00 4,550.00
14 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 3.กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไทยและการทำลูกประคบ 0 2,280.00 2,280.00
1 ก.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 4.กิจกรรรม ให้ความรู้สมุนไพรกินได้กับเมนูอาหารสุขภาพ 0 1,500.00 1,500.00

5.1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 5.2จัดทำแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อสมุนไพร 5.3ชี้แจงให้ให้นำชุมชนและประชาชนในหมู่บ้านทราบวิธีการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบด้านการแพทย์แผนไทย 5.4 ดำเนินงานตามแผนงานและคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 5.5 ให้ความรู้และจัดกิจกรรรม SKT และมณีเวช ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5.6 จัดกิจกรรมพอกเข่าให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีอาการปวดเข่า 5.7 ให้ความรู้สมุนไพรไทยจัดกิจกรรมทำลูกประคบสมุนไพรและอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพให้กับกลุ่มผู้ที่สนใจ 5.8 รวบรวมข้อมูล บันทึกผลการปฏิบัติงานลงในโปรแกรม JHCIS 5.9 สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มีศูนย์เรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตำบลละ 1 แห่ง(หมู่บ้านต้นแบบ) 2 เพิ่มจำนวนของผู้ป่วยนอกได้รับบริการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานเป้าหมายร้อยละ 50 3กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าได้รับการพอกเข่าด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยร้อยละ 60 4ประชาชนในพื้นที่ ม.10 มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพรไทยและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2561 08:47 น.